กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิก อบต. ทุ่งนารี
รหัสโครงการ 2565-L3341-02-
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม To be Number one อบต.ทุ่งนารี
วันที่อนุมัติ 1 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 30,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุชีพ รุ่นกลิ่น
พี่เลี้ยงโครงการ นายเสงี่ยม ศรีทวี
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
50.00
2 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
10.00
3 ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายเช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โลกปัจจุบัน มีความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การขยายตัวของสังคมเมือง (Urbanization) และการเปลี่ยนเป็นสังคมยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) ทำให้ประชาชนมีวิถีและพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งมีรูปแบบชีวิตที่ยุ่งเหยิง เร่งรีบมากขึ้น การให้ความสำคัญกับการแข่งขัน และการทำงาน แต่มีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันลดลง โดยใช้เวลาไปกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวน้อย และมีพฤติกรรมเนือยนิ่งเพิ่มมากขึ้น อาทิ การดูโทรทัศน์ การใช้โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การนั่ง การประชุม เป็นต้น ทั้งหมดนี้ส่งผลลบต่อสุขภาพอนามัย เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งของประชาชนและประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคมได้ศึกษาสุขภาพคนไทย ปี 2559 พบว่า การทำงานในระยะ 20 ปี ต่อจากนี้ ร้อยละ 44-46 ของแรงงานไทยจะเป็นประชากรรุ่นเจนวาย ซึ่งคนกลุ่มนี้รุ่นหลังมีแนวโน้มเข้าตลาดแรงงานช้าลง เนื่องจากใช้เวลาในการเรียนนานขึ้น แต่การศึกษาที่สูงนับว่าเป็นผลดีต่อตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศในระยะยาว ทั้งนี้วัยเริ่มต้นทำงาน (อายุ 20 – 28 ปี) มีสัดส่วนที่เข้าสู่ระบบการจ้างงาน หรือมีสถานภาพเป็นลูกจ้างเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคเอกชนเมื่อเทียบกับกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ และมีการทำงานในลักษณะช่วยกิจการในครอบครัวโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนและการเริ่มทำธุรกิจเป็นของตนเองมีสัดส่วนที่ต่ำอย่างเห็นได้ชัด
ประชากรวัยทำงานเป็นกลุ่มวัยที่สำคัญต่อการพัฒนาครอบครัว สังคมและประเทศชาติ มีบทบาทขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เป็นผู้นำครอบครัว ต้องทำหน้าที่ดูแลวัยสูงอายุวัยเด็กและผู้พิการจากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติปีพ.ศ. 2558 พบว่าประชากรวัยทำงานอายุ 15-59 ปีมีจำนวน 43 ล้านคนเป็นเพศหญิง 22 ล้านคนและเพศชาย 21 ล้านคนหรือประมาณ 66% ของประชากรทั้งหมด ในปี 2555 พบว่าประชากรวัยทำงานทั้งที่อยู่ในภาคแรงงาน อยู่ในระบบและนอกระบบ มากกว่า 1 ใน 10 ของประชากรกลุ่มนี้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด (ร้อยละ 32.4) โรคเบาหวาน (ร้อยละ 21.1) โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง (ร้อยละ 18.7) อีกทั้งปัญหาสุขภาพในภาคการเกษตร มีอัตราป่วยโรคพิษสารกำจัดศัตรูพืช (รหัสโรค T600-T609) ปี 2555 เท่ากับ 16.88 ต่อประชากรแสนคนที่มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UC) เพิ่มขึ้นจากปี 2554 (มีค่าเท่ากับ 15.31) คิดเป็นร้อยละ 10 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2555 อ้างถึงใน กระทรวงสาธารณสุข, 2557) สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคเรื้อรังเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมเช่นพฤติกรรมการบริโภคอาหารการออกกำลังกายการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เป็นต้นโดยพบว่าร้อยละ 82.3 กินผักและผลไม้ไม่เพียงพอตามข้อแนะนำ และร้อยละ 18.5 มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ(กรมอนามัย, 2559)
นอกจากนี้ การสํารวจประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ จํานวน 53.8 ล้านคน พบว่าเป็นผู้ที่เล่นกีฬาหรือออกกําลังกายทั้งสิ้น 12.7 ล้านคน (ร้อยละ 23.7) ในจํานวนนี้เป็นผู้ที่ทํางาน 7.3 ล้านคน (ร้อยละ 57.3) ไม่ได้ทํางาน 5.4 ล้านคน (ร้อยละ 42.7) ของจํานวนผู้ที่เล่นกีฬาหรือออกกําลังกาย เมื่อพิจารณาผู้ที่เล่นกีฬาหรือออกกําลังกายตามภาวะการทํางาน พบว่า ภาพรวมอัตราการเล่นกีฬาหรือออกกําลังกายของกลุ่มผู้ที่ทํางานต่ำกว่ากลุ่มผู้ที่ไม่ได้ทํางาน (ร้อยละ 18.2 และ 36.7 ตามลําดับ) พบผู้ที่เล่นกีฬาหรือออกกําลังกาย มีคะแนนสุขภาพจิตสูงกว่าผู้ที่ไม่เล่นกีฬาหรือออกกําลังกาย (คะแนน 33.00 และ 31.75 ตามลําดับ) (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2554) การเพิ่มการออกกำลังกายในพนักงานสามารถสร้างพนักงานที่มีสุขภาพดีเพิ่มผลผลิตของพนักงานและลดความเสี่ยงของพนักงานในการเกิดโรคเรื้อรังที่ทำให้เสียค่าใช้จ่ายและสร้างความเดือดร้อน พนักงานที่มีกิจกรรมทางกายจะมีต้นทุนการดูแลรักษาที่ต่ำกว่าลาป่วยไม่มาก และมีประสิทธิผลมากขึ้นในที่ทำงาน (Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health, n.d.) นายจ้างหลายคนเชื่อว่าการสร้างวัฒนธรรมด้านสุขภาพในที่ทำงานโดยการสนับสนุนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การออกกำลังกาย จะสามารถช่วยดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีคุณภาพสูงไว้ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

50.00 50.00
2 เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

10.00 20.00
3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน

ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน

30.00 35.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 12 ส.ค. 65 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนงาน 0 375.00 -
1 - 12 ส.ค. 65 ประชาสัมพันธ์ และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ 0 1,800.00 -
1 - 19 ส.ค. 65 อบรมให้ความรู้และประเมินสภาวะสุขภาพ 0 8,600.00 -
1 ส.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 0 19,100.00 -
30 ก.ย. 65 ประชุมสรุปโครงการ 0 375.00 -
รวม 0 30,250.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในตำบลทุ่งนารีได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง มีการใส่ใจตัวเองในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพที่แข็งแรง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 2.ประชาชนที่สนใจมีกิจกรรมทางกายโดยการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆเพิ่มขึ้น 3.ประชาชนอายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
  2. เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2565 15:50 น.