กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมป้องกันภาวะทุพโภชนาการนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา ประจำปี 2565 (ประเภทที่ 2)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา


“ โครงการส่งเสริมป้องกันภาวะทุพโภชนาการนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา ประจำปี 2565 (ประเภทที่ 2) ”

โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา

หัวหน้าโครงการ
นางพนิดา อินทจันทร์ ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา)

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันภาวะทุพโภชนาการนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา ประจำปี 2565 (ประเภทที่ 2)

ที่อยู่ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา จังหวัด

รหัสโครงการ 65 – L7452 – 2 – 3 เลขที่ข้อตกลง 7-2565

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 6 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมป้องกันภาวะทุพโภชนาการนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา ประจำปี 2565 (ประเภทที่ 2) จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมป้องกันภาวะทุพโภชนาการนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา ประจำปี 2565 (ประเภทที่ 2)



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมป้องกันภาวะทุพโภชนาการนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา ประจำปี 2565 (ประเภทที่ 2) " ดำเนินการในพื้นที่ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา รหัสโครงการ 65 – L7452 – 2 – 3 ระยะเวลาการดำเนินงาน 6 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 59,802.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) การพัฒนาชาติที่สำคัญ คือการพัฒนาคนให้มีคุณภาพมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจตลอดจนมีความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อให้มีศักยภาพสูงสุดเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืนอันดับแรกของการพัฒนาตน คือการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัย เพราะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านจิตใจอารมณ์ สังคม สติปัญญา ตลอดจนคุณธรรม และจริยธรรมของเด็ก อาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะวัยเรียน เป็นช่วงที่สมองของเด็กมีการเติบโต หากพ่อแม่สร้างสิ่งแวดล้อมต่าง ๆให้เหมาดสม สมองของเขาก็เจริญเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ความสมบูรณ์ของสมองในช่วงนี้สำคัญคือรากฐานสำคัญของชีวิตและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของคนเราเมื่อเติบโตขึ้น เด็กนักเรียนจึงเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโดที่มีความต้องการสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ทำให้เด็กมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ถ้าเด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้ และการเจริญเติบโตของร่างกายเมื่อท้องอิ่ม จิตใจก็แจ่มใส เบ่งบาน พร้อมเปิดรับกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อาหารเช้าจึงสำคัญ การทานอาหารเช้าที่ส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพ สุขภาพจิต และพลังสมองของเด็กๆ เพราะการที่เด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าอย่างเพียงพอและมีคุณภาพมีสมาธิ และสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีกว่าเด็กที่ไม่กินอาหารเช้าและจะทำให้เป็นเด็กฉลาดและเก่งขึ้นซึ่งสอดคล้องกับราชกิจจานุเบกษา ประกาศคณะอนุกรรมการและป้องกันโรคภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องบริการสาธารณสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2557 กิจกรรมบริการสาธารณสุขกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ตามประกาศแนบท้าย ลงวันที่ 28 มีนาคม 2557 ข้อ 3 กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน และระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครยะลา เรื่องการดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ พ.ศ. 2559 ข้อ (1) ดังนั้น อาหารมื้อเช้าจึงเป็นอาหารมื้อแรกของวันที่สมควรได้รับแต่ด้วยปัจจุบันการใช้ชีวิตที่เร่งรีบของผู้ปกครองและนักเรียน ทำให้อาหารเช้ากลับกลายเป็นอาหารมื้อที่ถูกละเลยมากที่สุด เนื่องจากผู้ปกครองรีบไปทำงานมื้อเช้าของเด็กๆคือขนมจากร้านค้าใกล้บ้าน ซึ่งไม่มีประโยชน์และไม่เหมาะสำหรับเด็กวัยเจริญการเติบโตทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการที่ไม่สมวัย และขาดสารอาหารสำคัญมื้อแรกจากปัญหาดังกล่าว สถานศึกษาจึงเห็นความสำคัญในเรื่องของสุขภาพอนามัย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของนักเรียนทุกคน ให้มีคุณภาพด้านร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ดี
จากข้อมูลผลการดำเนินงานการประเมินภาวะโภชนาการในโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 มีเด็กนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 6 ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการทั้งหมด 191 คน แยกเป็นเด็กปฐมวัยอายุ 0-5 ปี ที่ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการทั้งหมด 73 คน คิดเป็นร้อยละ 38.22 พบว่าเด็กมีสูงดี-สมส่วน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 53.42 (เกณฑ์ สูงดี-สมส่วน ร้อยละมากกว่า 64) ภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 15.07 ซึ่งสามารถแยกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผอม 3 คน คิดเป็นร้อยละ 4.11 (เกณฑ์ผอมร้อยละน้อยกว่า 5) อ้วน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.37 (เกณฑ์อ้วนร้อยละน้อยกว่า 9) และเตี้ย 7 คน คิดเป็นร้อยละ 9.59 (เกณฑ์เตี้ย ร้อยละน้อยกว่า 10) เด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ท้วม 9 คน คิดเป็นร้อยละ 12.33 ค่อนข้างผอม 7 คน คิดเป็นร้อยละ 9.59 และค่อนข้างเตี้ย 7 คน คิดเป็นร้อยละ 9.59 และเด็กประถมศึกษา อายุ 6-18 ปี ที่ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการทั้งหมด 91 คน คิดเป็นร้อยละ 47.64 พบว่าเด็กมีสูงดี-สมส่วน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 61.54 (เกณฑ์สูงดี-สมส่วน ร้อยละมากกว่า 65) ภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 21.97 ซึ่งสามารถแยกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผอม 3 คน คิดเป็นร้อยละ 30.29 (เกณฑ์ผอมร้อยละ น้อยกว่า 5) อ้วนและเริ่มอ้วน 13 คน ร้อยละ 14.29 (เกณฑ์อ้วนและเริ่มอ้วนร้อยละน้อยกว่า 10)และเตี้ย 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.29 (เกณฑ์เตี้ยร้อยละน้อยกว่า 5) เด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน 16 คน เช่น ท้วม 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.49 ค่อนข้างผอม 8 คนคิดเป็นร้อยละ 8.79 และค่อนข้างเตี้ย 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.30 ส่วนข้อมูลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา อายุ 0-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการทั้งหมด 27 คน พบว่าเด็กมีสูงดี-สมส่วน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 59.26 (เกณฑ์ สูงดี-สมส่วน ร้อยละมากกว่า 64) ภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 5 คน คิดเป็น ร้อยละ 18.52 ซึ่งสามารถแยกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผอม 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 (เกณฑ์ผอมร้อยละน้อยกว่า 5) อ้วน 3 คน ร้อยละ 11.11 (เกณฑ์อ้วนร้อยละน้อยกว่า 9) และเตี้ย 2 คน ร้อยละ 7.41 (เกณฑ์เตี้ยร้อยละน้อยกว่า 10) และเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน6 คน คิดเป็นร้อยละ 22.22 เช่น ท้วม 4 คน คิดเป็นร้อยละ 14.81 ค่อนข้างผอม 2 คน คิดเป็นร้อยละ 7.41 และค่อนข้างเตี้ย 0 ซึ่งจะเห็นได้ว่าภาวะสูงดี-สมส่วน ทุกกลุ่มอายุไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน และมีภาวะทุพโภชนาการประเภทขาด (ผอม เตี้ย) และเกิน (อ้วน เริ่มอ้วน) จากการดำเนินงานโครงการอิ่มท้อง สมองใส โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา ประจำปี พ.ศ. 2563 โดยการจัดอาหารเช้าให้เด็ดที่มีภาวะทุพโภชนาการแบบขาด (ผอม เตี้ย) เด็กทุกคนมีน้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 100 ส่งผลให้กลุ่มเด็กสูงดี-สมส่วน ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 86.66 (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ 64) ดังนั้นโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวในข้างต้น จึงจัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันภาวะทุพโภชนาการนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา ประจำปี 2565 ขึ้น เพื่อให้เด็กนักเรียนที่ปัญหาทุพโภชนาการในโรงเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีสารอาหารครบทุกหมู่ เพื่อสุขภาพและร่างกายเจริญเติบโตสมวัย มีสมาธิเกิดความพร้อมในการเรียนรู้ สู่การเป็นเด็กที่มีสมาธิปัญญาฉลาดสมวัย ต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1 เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่
  2. เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการมีภาวะโภชนาการสมวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน
  3. เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญในการบริโภคอาหารมื้อเช้า

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้โภชนาการสมวัย
  2. กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการ
  3. กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผลภาวะโภชนาการสมวัย (น้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน)
  4. กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 45
กลุ่มวัยทำงาน 191
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่
  2. นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐาน
  3. นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสุขนิสัยในการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1 เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่ ทุกคน
100.00

 

2 เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการมีภาวะโภชนาการสมวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีภาวะโภชนาการสมวัย และมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐาน
80.00

 

3 เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญในการบริโภคอาหารมื้อเช้า
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 85 ของผู้ปกครองและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญในการบริโภคอาหารมื้อเช้า
85.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 236
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 45
กลุ่มวัยทำงาน 191
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1 เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่ (2) เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการมีภาวะโภชนาการสมวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน (3) เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญในการบริโภคอาหารมื้อเช้า

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้โภชนาการสมวัย (2) กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการ (3) กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผลภาวะโภชนาการสมวัย (น้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน) (4) กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมป้องกันภาวะทุพโภชนาการนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา ประจำปี 2565 (ประเภทที่ 2) จังหวัด

รหัสโครงการ 65 – L7452 – 2 – 3

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางพนิดา อินทจันทร์ ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด