กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รหัสโครงการ 65-L8406-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน
วันที่อนุมัติ 3 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางธิดา เหมือนพะวงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 322 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคติดต่อเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโตได้รวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว เช่น โรคติดต่อทางระบบหายใจ (ไข้หวัดใหญ่, โควิด-19) โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ (ไข้เลือดออก) โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ (อุจจาระร่วง) และโรคติดต่ออื่นๆ (มือ เท้า ปาก, ฉี่หนู) โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรคโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จะต้องรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่น และภาคประชาชน วางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาปัญหา จึงจะ สามารถแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรค ประชาชนจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพพื้นที่ของตนเอง หน่วยงานเกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบริบทของ พื้นที่ จึงจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาเรื่องโรคติดต่อ ทั้งโรคติดต่อประจำถิ่นและโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ อาทิ โรคติดต่อทางระบบหายใจ (ไข้หวัดใหญ่ โควิด-19) โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ (ไข้เลือดออก) โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ (อุจจาระร่วง) และโรคติดต่ออื่นๆ (มือ เท้า ปาก, ฉี่หนู) จากข้อมูลรายงานศูนย์ระบาดวิทยา โรงพยาบาลควนโดน ได้รายงานสถานการณ์โรคติดต่อในปี 2564 พบผู้ป่วยโรคโควิด – 19 จำนวน 602 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 6,221 ต่อแสนประชากร และมีผู้ป่วยเสียชีวิตโรคโควิด - 19 จำนวน 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 1.16 ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 10.33 ต่อแสนประชากร แต่ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเสียชีวิต จากผลการดำเนินงาน โครงการชุมชนสะอาด ปราศจากโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2564 พบว่าดัชนีลูกน้ำยุงลายที่ได้สุ่มสำรวจ โดยอาสาสมัครสาธารณสุข สำรวจ 3 ครั้ง ทั้งหมด 8 หมู่บ้าน โดยครั้งที่ 3 พบหมู่บ้านที่ผ่านเกณฑ์ ค่า HI ต่ำกว่า 10 ตามเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งหมด 7 หมู่บ้าน และยังมีอีก 1 หมู่บ้านที่ยังมีค่า HI สูงกว่า 10 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 87.5 ของหมู่บ้านทั้งหมด และจากผลการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ในสถานที่ราชการ โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ มัสยิด จำนวน 12 แห่ง พบว่า มีค่า CI = 0 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน จึงได้จัดทำโครงการโครงการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน เพื่อส่งเสริมประชาชนหรือผู้สนใจสามารถป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และเพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรค พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (H.I.) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (H.I.) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

62.50 80.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ายุงลายในโรงเรียน (C.I.) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน ในเขตรับผิดชอบ

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน (C.I.) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน ในเขตรับผิดชอบ

16.60 0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องโรคติดต่อ

นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะและโรคติดต่ออื่นๆ หลังการอบรม มากกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00
4 ข้อที่ 4. เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดจากขยะและแหล่งแพร่กระจายโรคในชุมชน

จำนวนหลังคาเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มากกว่าร้อยละ 70

50.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,000.00 0 0.00
24 ส.ค. 65 - 28 ก.ย. 65 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม กำจัดลูกน้ำยุงลาย ลดโรคที่มียุงเป็นพาหะ 0 12,000.00 -
29 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 0 11,000.00 -
1 - 6 ก.ย. 65 กิจกรรมถอดบทเรียนประสบการณ์โควิดจากวิกฤติสู่โอกาสในการพัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน 0 12,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องโรคติดต่อ หลังการอบรม มากกว่าร้อยละ 80
  2. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (ค่า HI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
  3. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด (CI) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ในเขตรับผิดชอบ
  4. ชุมชน ศาสนสถาน และในโรงเรียน มีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัยจากโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค และปลอดจากขยะและแหล่งแพร่กระจายโรคในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2565 00:00 น.