กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน

ตำบลควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาโรคติดต่อเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโตได้รวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว เช่น โรคติดต่อทางระบบหายใจ (ไข้หวัดใหญ่, โควิด-19) โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ (ไข้เลือดออก) โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ (อุจจาระร่วง) และโรคติดต่ออื่นๆ (มือ เท้า ปาก, ฉี่หนู) โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรคโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จะต้องรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่น และภาคประชาชน วางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาปัญหา จึงจะ สามารถแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรค ประชาชนจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพพื้นที่ของตนเอง หน่วยงานเกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบริบทของ พื้นที่ จึงจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาเรื่องโรคติดต่อ ทั้งโรคติดต่อประจำถิ่นและโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ อาทิ โรคติดต่อทางระบบหายใจ (ไข้หวัดใหญ่ โควิด-19) โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ (ไข้เลือดออก) โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ (อุจจาระร่วง) และโรคติดต่ออื่นๆ (มือ เท้า ปาก, ฉี่หนู) จากข้อมูลรายงานศูนย์ระบาดวิทยา โรงพยาบาลควนโดน ได้รายงานสถานการณ์โรคติดต่อในปี 2564 พบผู้ป่วยโรคโควิด – 19 จำนวน 602 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 6,221 ต่อแสนประชากร และมีผู้ป่วยเสียชีวิตโรคโควิด - 19 จำนวน 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 1.16 ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 10.33 ต่อแสนประชากร แต่ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเสียชีวิต จากผลการดำเนินงาน โครงการชุมชนสะอาด ปราศจากโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2564 พบว่าดัชนีลูกน้ำยุงลายที่ได้สุ่มสำรวจ โดยอาสาสมัครสาธารณสุข สำรวจ 3 ครั้ง ทั้งหมด 8 หมู่บ้าน โดยครั้งที่ 3 พบหมู่บ้านที่ผ่านเกณฑ์ ค่า HI ต่ำกว่า 10 ตามเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งหมด 7 หมู่บ้าน และยังมีอีก 1 หมู่บ้านที่ยังมีค่า HI สูงกว่า 10 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 87.5 ของหมู่บ้านทั้งหมด และจากผลการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ในสถานที่ราชการ โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ มัสยิด จำนวน 12 แห่ง พบว่า มีค่า CI = 0 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน จึงได้จัดทำโครงการโครงการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน เพื่อส่งเสริมประชาชนหรือผู้สนใจสามารถป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และเพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรค พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (H.I.) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (H.I.) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

62.50 80.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ายุงลายในโรงเรียน (C.I.) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน ในเขตรับผิดชอบ

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน (C.I.) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน ในเขตรับผิดชอบ

16.60 0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องโรคติดต่อ

นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะและโรคติดต่ออื่นๆ หลังการอบรม มากกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00
4 ข้อที่ 4. เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดจากขยะและแหล่งแพร่กระจายโรคในชุมชน

จำนวนหลังคาเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มากกว่าร้อยละ 70

50.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 322
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้และพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้และพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเพื่อการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ และฝึกปฏิบัติให้มีทักษะในการป้องกันโรคที่สามารถกระทำได้ เน้นการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค ให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 – 6 ในเขตรับผิดชอบ อบต. ควนโดน จำนวน 3 แห่ง

โรงเรียนบ้านควนโต๊ะเหลง จำนวนนักเรียน 70 คน

โรงเรียนบ้านดูสนจำนวนนักเรียน 80 คน

โรงเรียนบ้านบูเก็ตยามูจำนวนนักเรียน 70 คน

งบประมาณ

โรงเรียนบ้านควนโต๊ะเหลง

  • ค่าอาหารว่าง 25 บ. จำนวน 2 มื้อx 70 คน = 3,500 บ.

โรงเรียนบ้านดูสน

  • ค่าอาหารว่าง 25 บ. จำนวน 2 มื้อ X 80 คน = 4,000 บ.

โรงเรียนบ้านบูเก็ตยามู

  • ค่าอาหารว่าง 25 บ. จำนวน 2 มื้อ x 70 คน = 3,500 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
29 สิงหาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะและโรคติดต่ออื่นๆ หลังการอบรม มากกว่าร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมถอดบทเรียนประสบการณ์โควิดจากวิกฤติสู่โอกาสในการพัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมถอดบทเรียนประสบการณ์โควิดจากวิกฤติสู่โอกาสในการพัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมถอดบทเรียนประสบการณ์โควิดจากวิกฤติสู่โอกาสในการพัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน เพื่อออกแบบกระบวนการป้องกันและควบคุมโรคให้เข้ากับสถานการณ์โควิด – 19 ในปัจจุบัน และเพื่อเตรียมพร้อมในการตอบโต้ภาวะฉุกฉินทางสาธารณสุขและภัยสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่กลุ่มแกนนำ อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนที่สนใจ

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวัน 100 บ. x 102 คน = 10,200 บ.

  • ค่าตอบแทนวิทยากร 6 ชั่วโมงๆ ละ 300 บ. = 1,800 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 6 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อออกแบบกระบวนการป้องกันและควบคุมโรคให้เข้ากับสถานการณ์โควิด – 19 ในปัจจุบัน และเพื่อเตรียมพร้อมในการตอบโต้ภาวะฉุกฉินทางสาธารณสุขและภัยสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม กำจัดลูกน้ำยุงลาย ลดโรคที่มียุงเป็นพาหะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม กำจัดลูกน้ำยุงลาย ลดโรคที่มียุงเป็นพาหะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม กำจัดลูกน้ำยุงลาย ลดโรคที่มียุงเป็นพาหะ ร่วมสร้างสิ่งแวดล้อม และการรักษาความสะอาด ตามมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค และการจัดการขยะในครัวเรือน ด้วยหลัก 3 R (Reduce/ Reuse/ Recycle)

งบประมาณ

  • หมู่ 2 ค่าอาหารว่าง 25 บ. x 25 คน จำนวน 3 ครั้ง = 1,875 บ.

  • หมู่ 3 ค่าอาหารว่าง 25 บ. x 10 คน จำนวน 3 ครั้ง = 750 บ.

  • หมู่ 4 ค่าอาหารว่าง 25 บ. x 30 คน จำนวน 3 ครั้ง = 2,250 บ.

  • หมู่ 6 ค่าอาหารว่าง 25 บ. x 30 คน จำนวน 3 ครั้ง = 2,250 บ.

  • หมู่ 7 ค่าอาหารว่าง 25 บ. x 25 คน จำนวน 3 ครั้ง = 1,875 บ.

  • หมู่ 8 ค่าอาหารว่าง 25 บ. x 15 คน จำนวน 3 ครั้ง = 1,125 บ.

  • หมู่ 9 ค่าอาหารว่าง 25 บ. x 15 คน จำนวน 3 ครั้ง = 1,125 บ.

  • หมู่ 10 ค่าอาหารว่าง 25 บ. x 10 คน จำนวน 3 ครั้ง = 750

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 สิงหาคม 2565 ถึง 28 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (H.I.) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
  • ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน (C.I.) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน ในเขตรับผิดชอบ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องโรคติดต่อ หลังการอบรม มากกว่าร้อยละ 80
2. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (ค่า HI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
3. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด (CI) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ในเขตรับผิดชอบ
4. ชุมชน ศาสนสถาน และในโรงเรียน มีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัยจากโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค และปลอดจากขยะและแหล่งแพร่กระจายโรคในชุมชน


>