กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดการบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Long Term Care )
รหัสโครงการ 65-L2492-2-013
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการตำบลโคกเคียน
วันที่อนุมัติ 11 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 31 มกราคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2566
งบประมาณ 149,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสญชัย นิลจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.482,101.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 8 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมสูงอายุ” (Aged Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ กล่าวคือ มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๑๐ ของประชากรทั้งประเทศ และเพิ่มเป็นร้อยละ ๑๕ ของประชากรทั้งประเทศเมื่อ สิ้นปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา คาดว่าประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุสูงถึงร้อยละ ๒๐ ใน พ.ศ.๒๕๖๔ กลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” (complete aged society) จากการสำรวจของกรมอนามัย (๒๕๕๖) พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ ๙๕ เจ็บป่วยด้วยโรคใดโรคหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นโรคเรื้อรังซึ่งจะน่าไปสู่ภาวะทุพพลภาพ และพึ่งพิง และมีผู้ป่วยนอนติดเตียงร้อยละ ๑ นอกจากนั้นยังพบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระดับสูง แต่ต้อง ดูแลตนเองหรือไม่มีคนดูแลถึงร้อยละ ๑๓ ในกลุ่มเดียวกัน รัฐบาลจึงให้ความสำคัญในการด่าเนินการ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ มีเป้าหมายสำคัญที่จะป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงมีการเจ็บป่วยจนต้องอยู่ใน ภาวะพึ่งพิง และหากผู้สูงอายุอยู่ในภาวะพึ่งพิงจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม โดยรัฐบาลได้สนับสนุน งบประมาณให้ส่านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จัดให้มีบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขแก่ผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิง โดยใช้ท้องถิ่นและชุมชนเป็นฐานในการจัดการดูแล ซึ่งส่านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตามประกาศ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นด่าเนินงาน และบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 และ เอกสารแนบท้ายประกาศฯ ณ วันที่ 13 กันยายน 2561 กำหนดให้เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในส่วน ค่าบริการสาธารณสุข ส่าหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามข้อ 7 วรรคสองให้สนับสนุนแก่ศูนย์พัฒนาคุณภาพ ชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนหน่วยบริการหรือสถานบริการ เพื่อจัดบริการสาธารณสุขส่าหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อปีตามชุดสิทธิประโยชน์การบริการด้านสาธารณสุขส่าหรับผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิง ที่กำหนดในเอกสารหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศฉบับนี้ ทั้งนี้ตามโครงการ ที่คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวส่าหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอนุมัติ

    ตำบลโคกเคียน มีประชากรทั้งหมด 23,268 คน พบว่ามีผู้สูงอายุจำนวน 2,278 คน คิดเป็นร้อยละ 9.79 ของ ประชากร จากการตรวจประเมินความสามารถในการด่าเนินชีวิตประจ่าวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนั้น พบผู้สูงอายุที่มีคะแนนเอดีแอลเท่ากับหรือน้อยกว่า ๑๑ คะแนน (ติดบ้าน ติดเตียง) จำนวน 22 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ ๑ (เคลื่อนไหวได้บ้างมีปัญหาการกิน/การ ขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะสับสน) จำนวน 14 คน กลุ่มที่ ๓ (เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกิน/การขับถ่ายหรือ เจ็บป่วยรุนแรง) จำนวน 8 คน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาระบบการบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการเยี่ยมบ้านและดูแลตามเกณฑ์มาตรฐาน

80.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิง โดยทีมสหวิชาชีพ และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Care giver)

ร้อยละ 80 ของตำบลที่มีระบบส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุและการดูแลระยะยาวในชุมชน (ตำบล Long Term Care) ผ่านเกณฑ์

80.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว ลดลง

80.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 8 149,100.00 2 149,100.00
1 - 13 ม.ค. 66 ลงพื้นที่ประเมินค่า ADL และจัดบริการดูแลเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 8 ราย 8 12,500.00 12,500.00
1 - 13 ม.ค. 66 จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หรือ ผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 8 ราย 0 136,600.00 136,600.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จะได้รับการบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตามชุดสิทธิประโยชน์ที่เป็นการให้บริการในครัวเรือน หรือศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุชุมชน หรือที่หน่วย บริการ สถานบริการ โดยบุคลากรสาธารณสุข และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565 10:04 น.