กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก


“ โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะ ชุมชนทุ่งออก ”

มัสยิดกลางทุ่งออก

หัวหน้าโครงการ
นายอิมรอน นุ้ยโดด ตำแหน่ง อิหม่ามมัสยิดกลางทุ่งออก

ชื่อโครงการ โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะ ชุมชนทุ่งออก

ที่อยู่ มัสยิดกลางทุ่งออก จังหวัด

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง 13/2565

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะ ชุมชนทุ่งออก จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน มัสยิดกลางทุ่งออก

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะ ชุมชนทุ่งออก



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะ ชุมชนทุ่งออก " ดำเนินการในพื้นที่ มัสยิดกลางทุ่งออก รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 34,000.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ชุมชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลปริกมีทั้งหมด ๗ ชุมชน ซึ่งทั้งหมดรวมอยู่ในเขตความรับผิดชอบสนับสนุนและส่งเสริมด้านการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขตที่ ๑๒ จังหวัดสงขลา โดยมีชุมชน ๕ ชุมชน จากทั้งหมด ๗ ชุมชน ในพื้นที่เทศบาลตำบลปริกใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ทั้งการเผยแพร่คำสอนให้คนยึดมั่นหลักบัญญัติของอิสลาม อันครอบคลุมวิถีแห่งการดำเนินชีวิต ทุกกระบวนการและกิจกรรมแห่งชีวิต หมายรวมถึงความเชื่อทางจิตวิญญาณ ความเชื่อเกี่ยวกับร่างกาย ในรูปแบบของการปฏิบัติศาสนกิจ พิธีกรรม การอบรมสั่งสอน รูปแบบการดำเนินชีวิตในครอบครัว สังคม ประเทศชาติและการดำเนินชีวิตในโลก ชุมชนทุ่งออก ตั้งอยู่ที่หมู่ ๒ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา มีครัวเรือนจำนวน 221 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมดจำนวน 424 คน (ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ณ วันที่ 30 มกราคม 2564) มีคณะกรรมการมัสยิดจำนวน 15 คน มีแกนนำด้านสุขภาพจำนวน 8 คน และมีจำนวนประชาชนจิตอาสาอีกหลายสิบคน ประชาชนในชุมชนทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม โดยมีมัสยิดกลางทุ่งออกเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนในชุมชน ส่งผลให้กิจวัตรประจำวันของประชาชนในชุมชนมีความผูกพันกับมัสยิด กล่าวคือ ในการดำเนินชีวิตประจำวันประชาชนต้องปฏิบัติศาสนกิจละหมาด 5 เวลา และในทุกวันศุกร์ถือเป็นวันสำคัญที่มุสลิม (ผู้ชายทุกคน) ต้องมาปฏิบัติศาสนกิจที่มัสยิด รวมถึงวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม เช่น ในช่วงเดือนถือศีลอด (รอมฎอน) และวันตรุษ (อีดิ้ลฟิตรีและอิดิ้ลอัฎฮา) ประชาชนทุกครัวเรือนจะมารวมตัวเพื่อปฏิบัติศาสนกิจ ณ มัสยิด นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ในการจัดการเรียนการสอนศาสนาของประชาชนทุกช่วงวัยในชุมชน มัสยิดกลางทุ่งออก เป็นมัสยิดที่ตั้งอยู่ติดกับถนนกาญจนวนิช ซึ่งเป็นถนนสายหลักที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย จึงเป็นมัสยิดที่มีผู้คนทั่วไปทั้งคนไทยและคนมาเลเซียที่เดินทางผ่านไป- มา แวะเวียนมาปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อหรือพิธีกรรมทางศาสนาอิสลามอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังเป็นพื้นที่ที่คนในชุมชม และองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนใช้เป็นพื้นที่ในการจัดกิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้ในชุมชนเองยังมีการจัดการเรียนการสอนศาสนาทั้งในภาคค่ำสำหรับประชาชนทั่วไปในชุมชนและผู้ที่สนใจ วันเสาร์และวันอาทิตย์ สำหรับเด็กและเยาวชนในชุมชนทุ่งออกและชุมชนใกล้เคียง ซึ่งเรียกว่าโรงเรียนตาดีกา จากจำนวนกิจกรรม และจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่มีเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลให้เกิดความสุ่มเสี่ยงทางด้านสุขภาวะที่สามารถเกิดปัญหาและแพร่กระจายไปในชุมชนทุ่งออกและชุมชนใกล้เคียงในพื้นที่เทศบาลตำบลปริกได้ โดยสาเหตุของปัญหาทางสุขภาวะที่เกิดขึ้นในเชิงประจักษ์ คือ การสูบบุหรี่ในพื้นที่บริเวณมัสยิด การจัดการขยะและสภาพแวดล้อมที่ยังไม่ถูกต้องและเหมาะสมสามารถเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆ การรักษาความสะอาดของห้องส้วมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การรักษาความสะอาดของสถานที่เอาน้ำละหมาด การรักษาความสะอาดของจุดสัมผัสร่วมต่างๆ ภายในบริเวณมัสยิด เป็นต้น โดยสาเหตุของปัญหาเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนได้โดยตรงและทางอ้อมในรูปแบบของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ และโรคระบาดต่างๆ ทั้งที่เป็นโรคระบาดประจำถิ่น เช่น ไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา ไข้ฉี่หนู ท้องร่วง ตาแดง หรือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องของคนในชุมชน และโรคอุบัติใหม่ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และโรคฝีดาษลิง เป็นต้น ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคณะกรรมการมัสยิดกลางทุ่งออก ประชาชนในชุมชนทุ่งออกเอง มีแนวคิดเพื่อยกระดับการพัฒนามัสยิดให้เป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ของคนในชุมชนและทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน อีกทั้งยังมีแนวคิดในการเสริมสร้างการเรียนรู้ให้ประชาชนทุกเพศวัยในชุมชนสามารถรู้เท่าทันและสามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ปัญหาทางสุขภาวะที่จะเกิดขึ้นในชุมชน ทั้งในภาวะปกติ และภาวะฉุกเฉิน เพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างสุขภาวะในชุมชนอย่างยั่งยืน ดังนั้นคณะกรรมการมัสยิดกลางทุ่งออก และแกนนำด้านสุขภาพ จิตอาสาภายในชุมชนทุ่งออก จึงขอดำเนิน “โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะ ชุมชนทุ่งออก” ขึ้น เพื่อสร้างกระบวนการให้คณะกรรมการมัสยิดกลางทุ่งออก แกนนำด้านสุขภาพ จิตอาสาภายในชุมชนทุ่งออก และประชาชนทุกเพศวัย มีความตระหนักถึงกระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะ สามารถรู้เท่าทันและสามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ปัญหาทางสุขภาวะที่จะเกิดขึ้นในชุมชนทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน เพื่อเป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะอย่างยั่งยืน และเป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาพ (นำร่อง) ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

 

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. มัสยิดส่งเสริมสุขภาวะ ชุมชนทุ่งออก

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. คณะกรรมการมัสยิด แกนนำมัสยิด คณะกรรมการชุมชน แกนนำด้านสุขภาพ เจ้าหน้าที่ชุมชน จิตอาสา ครู/ นักเรียนโรงเรียนตาดีกา และประชาชนที่สนใจ ในสังกัดมัสยิดกลางทุ่งออก เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนักสามารถรู้เท่าทันและสามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ปัญหาทางสุขภาวะที่จะเกิดขึ้นในชุมชนทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน เพื่อเป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะอย่างยั่งยืน ๒. คณะกรรมการมัสยิด แกนนำมัสยิด คณะกรรมการชุมชน แกนนำด้านสุขภาพ เจ้าหน้าที่ชุมชน จิตอาสา ครู/ นักเรียนโรงเรียนตาดีกา และประชาชนที่สนใจ ในสังกัดมัสยิดกลางทุ่งออก เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนักในการดำเนินกิจกรรมตามเกณฑ์การประเมิน/ ตัวชี้วัด เรื่องศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ และการนำหลักคำสอนของศาสนานำมาใช้ให้เกิดสุขภาพแบบองค์รวม ๓. มัสยิดกลางทุ่งออกมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ตามการประเมิน/ ตัวชี้วัด เรื่องศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ มีภูมิทัศน์ที่ดีมีความสะอาด มีความสะดวก น่าอยู่ น่าใช้ดำเนินกิจกรรม ไม่เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค และปราศจากโรคติดต่อต่างๆ ๔. เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ผลักดันให้มัสยิดกลางทุ่งออก เป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาพ (นำร่อง) ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ 1.ประชาชนในพื้นที่ยังขาดความเข้าใจและให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการน้อยเกินไป แนวทางแก้ไข้ 1.จัดกระบวนการให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจในแนวทางการดำเนินโครงการ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) มัสยิดส่งเสริมสุขภาวะ ชุมชนทุ่งออก

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะ ชุมชนทุ่งออก จังหวัด

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอิมรอน นุ้ยโดด ตำแหน่ง อิหม่ามมัสยิดกลางทุ่งออก )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด