กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารเช้า เพื่อน้อง อิ่มท้อง สมองใส
รหัสโครงการ 65-L2492-2-014
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านโคกพะยอม
วันที่อนุมัติ 11 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 กรกฎาคม 2565 - 31 ธันวาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2565
งบประมาณ 74,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฐิติมา ดือเร๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.482,101.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 92 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล

    การพัฒนาชาติที่สำคัญคือการพัฒนาคนให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจตลอดจนมีความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อให้มีศักยภาพสูงสุดอันเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน อันดับแรกของการพัฒนาคน คือการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัย เพราะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา อาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะวัยเรียนเป็นช่วงที่สมองของเด็กมีการเติบโต หากพ่อแม่สร้างสิ่งแวดล้อมต่างๆให้เหมาะสม สมองของเขาก็จะเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ความสมบูรณ์ของสมองในช่วงนี้คือรากฐานสำคัญของชีวิตและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของคนเราเมื่อเติบโตขึ้น เด็กนักเรียนจึงเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตที่มีความต้องการสารอาหารครบทุกทั้ง 5 หมู่ ทำให้เด็กมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ถ้าเด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้ และการเจริญเติบโตของร่างกายเมื่อท้องอิ่ม จิตใจก็แจ่มใส เบิกบาน พร้อมเปิดรับกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อาหารเช้าจึงสำคัญ การทานอาหารเช้าที่ส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และพลังสมองของเด็กๆ เพราะการที่เด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าอย่างเพียงพอและมีคุณภาพ มีสมาธิ และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดีกว่าเด็กที่ไม่กินอาหารเช้า สอดคล้องกับราชกิจจานุเบกษา ประกาศคณะอนุกรรมการและป้องกันโรคภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องบริการสาธารณสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ 2557
    ดังนั้น อาหารมื้อเช้าจึงเป็นอาหารมื้อแรกของวันที่สมควรได้รับ แต่ด้วยปัจจุบันการใช้ชีวิตที่เร่งรีบของผู้ปกครองและเด็กนักเรียน ทำให้อาหารเช้ากลับกลายเป็นอาหารมื้อที่ถูกละเลยมากที่สุด เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่รีบไปทำงาน มื้อเช้าของเด็กๆคือขนม จากร้านค้าใกล้บ้าน ซึ่งไม่มีประโยชน์ และไม่เหมาะสำหรับเด็กวัยกำลังเจริญเติบโต ทำให้มีเด็กมีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการที่ไม่สมวัย และขาดสารอาหารสำคัญมื้อแรกจากปัญหาดังกล่าว สถานศึกษาจึงเห็นความสำคัญในเรื่องของสุขภาพอนามัยซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเด็กนักเรียนทุกคน ให้มีคุณภาพทางด้านร่างกายซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ดี จากการสำรวจข้อมูลชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูงของนักเรียน (๑๗ พฤษภาคม 2565) ในปีการศึกษา 256๕ มีนักเรียนทั้งหมด ๓o๗ คน พบว่ามีนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน ๙๒ คน คิดเป็นร้อยละ 2๙.๙๖ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ของเด็กโดยตรง โรงเรียนบ้านโคกพะยอม เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการ“อาหารเช้า เพื่อน้อง อิ่มท้อง สมองใส” ขึ้นเพื่อให้เด็กนักเรียนตามกลุ่มเป้าหมายในโรงเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีสารอาหารครบทุกหมู่ เพื่อสุขภาพและร่างกายเจริญเติบโตสมวัย มีสมาธิเกิดความพร้อมในการเรียนรู้ สู่การเป็นเด็กที่มีสติปัญญาฉลาดสมวัย การแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองนักเรียนได้อีกทางหนึ่งต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เรื่องอาหารหลัก 5 หมู่กับความสำคัญในวัยเรียน

นักเรียนมีความรู้เรื่องอาหารหลัก 5 หมู่กับความสำคัญในวัยเรียน

80.00
2 เพื่อให้นักเรียนส่วนใหญ่สามารถเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์รับประทานเพิ่มมากขึ้น

ของนักเรียนสามารถเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์รับประทาน

80.00
3 เพื่อแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพะยอม

จำนวนนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการลดลง

80.00
4 เพื่อนักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย

นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย

80.00
5 เพื่อนักเรียนสามารถประกอบอาหารเช้าอย่างง่ายได้

นักเรียนสามารถประกอบอาหารเช้าอย่างง่ายได้

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 184 74,950.00 5 74,950.00
18 ก.ค. 65 - 31 ธ.ค. 65 ประชาสัมพันธ์โครงการฯ 0 750.00 750.00
18 ก.ค. 65 - 31 ธ.ค. 65 จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ เรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่กับความสำคัญในวัยเรียน 92 600.00 600.00
18 ก.ค. 65 - 31 ธ.ค. 65 จัดอาหารเช้าให้นักเรียนกลุ่มที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 92 คน จำนวนมื้อ 40 มื้อ 92 73,600.00 73,600.00
18 ก.ค. 65 - 31 ธ.ค. 65 จัดกิจกรรมออกกำลังกายให้นักเรียนทุกเช้า และทุก วันพุธ 0 0.00 0.00
18 ก.ค. 65 - 31 ธ.ค. 65 จัดกิจกรรมสาธิตการประกอบอาหารเช้าอย่างง่าย 0 0.00 0.00
  1. ประชาสัมพันธ์โครงการ“อาหารเช้า เพื่อน้อง อิ่มท้อง สมองใส” โดยใช้ไวนิลและเสียงตามสายให้นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพะยอมทุกคนทราบ
  2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง”อาหารหลัก 5 หมู่กับความสำคัญในวัยเรียน” ครอบคลุมถึงเรื่องการเลือกรับประทาน อาหารที่มีประโยชน์ โดยวิทยากรทางการแพทย์
  3. ชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูงนักเรียนประมวลผลโดยโปรแกรมแปรผลภาวะโภชนาการของเด็ก
  4. จัดอาหารเช้าให้นักเรียนกลุ่มที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน ๙๒ คน จำนวน 40 มื้อ เป็นเวลา ๔o วัน โดยมีเมนูต่าง ๆดังนี้ 1.ข้าวต้มไก่ 2. แซนด์วิซ  3. ข้าวเหนียวไก่ย่าง 4. ขนมปังปิ้งนมสด  ๕. ข้าวยำไข่ต้ม
  5. ให้นักเรียนออกกำลังกายยามเช้าทุกวัน และทุกวันพุธ
  6. ให้นักเรียนสาธิตการประกอบอาหารเช้าอย่างง่าย
  7. ชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูงนักเรียนประมวลผลโดยโปรแกรมแปรผลภาวะโภชนาการของเด็ก จากนักเรียนกลุ่มดังกล่าว
  8. รายงานผลและสรุปผลโครงการตามกำหนด
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพะยอมมีความรู้เรื่องอาหารหลัก 5 หมู่กับความสำคัญในวัยเรียน ครอบคลุมถึงเรื่องการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
2.นักเรียนส่วนใหญ่สามารถเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์รับประทานเพิ่มมากขึ้น 3.นักเรียนมีสุขภาวะทางโภชนาการที่ดีขึ้น
4.นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารเช้าทุกคน 5.จำนวนนักเรียนที่มีปัญหาทุพโภชนาการลดลง 6.นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย 7.นักเรียนสามารถประกอบอาหารเช้าอย่างง่ายได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2565 15:29 น.