กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการบ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ปราศจากโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านควน ปีงบประมาณ 2566 ”
ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล



หัวหน้าโครงการ
นางนฤมล โต๊ะหลัง




ชื่อโครงการ โครงการบ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ปราศจากโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านควน ปีงบประมาณ 2566

ที่อยู่ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 66-L5307-1-01 เลขที่ข้อตกลง 11/2566

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 28 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการบ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ปราศจากโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านควน ปีงบประมาณ 2566 จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการบ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ปราศจากโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านควน ปีงบประมาณ 2566



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการบ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ปราศจากโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านควน ปีงบประมาณ 2566 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 66-L5307-1-01 ระยะเวลาการดำเนินงาน 28 พฤศจิกายน 2565 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 24,100.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือ ยุงลาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลายพบมากตามบ้านที่อยู่อาศัยในสวน ขยายพันธ์ุโดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของจังหวัดสตูล ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 - 2565 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ หมู่ที่ 1,4 ตำบลบ้านควน ทั้งหมด 9 ราย ( ปี 2563 (1 ราย) ปี 2564 (0 ราย) ปี 2565 (8 ราย)) คิดเป็นอัตราป่วย 208.33 ต่อแสนประชากร จากข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่า การระบาดของโรคไข้เลือดออกมีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี เพื่อไม่ให้มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกจึงต้องมีการควบคุมป้องกัน โดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธ์ุ สิ่งแวดล้อมต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะ ไม่มีขยะที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ุเชื้อโรคจึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย สาเหตุโรคไข้เลือดออกและการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในทุกชุมชนทำได้สามารถปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลในแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านในชุมชนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดที่พักให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่เจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกซึ่งอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตเนื่องจากโรคไข้เลือดออกยังไม่มียารักษาโดยตรงหรือกำจัดโรคโดยตรงจะใช้การรักษาตามอาการทำให้แต่ละครอบครัวต้องเสียค่าใช้จ่าย เสียเวลาในดูแลการรักษาบุตรหลานและเสียงบประมาณในการรักษาพยาบาลโดยไม่จำเป็นและที่สำคัญคือถ้าไม่ดำเนินการควบคุมป้องกันโรคในระบบที่มีประสิทธิภาพโรคไข้เลือดออกอาจจะระบาดได้ในชุมชนซึ่งทุกๆ คนก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้ดลือออกซึ่งการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกจะได้ผลจะต้องได้รับความร่มมือจากทึกคน ทุกหลังคาเรือน ทุกภาคส่วนจึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน ทั้งในระยะก่อนเกิดโรคในขณะที่เกิดโรคและการเฝ้าระวังหลังเกิดโรค
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน จึงได้จัดทำโครงการ "โครงการบ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ปราศจากโรคไข้เลือดออก"ขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีจิตสำนึกและตระหนักในการรักษาความสะอาดและร่วมมือกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมในครัวเรือนที่พักอาศัยและชุมชนของตัวเองให้สะอาดถูกสุขลักษณะและรักษาให้เกิดความต่อเนื่องยั่งยืนซึ่งถ้าครัวเรือนและชุมชนมีความสะอาด ไม่มีขยะ ไม่มีแหล่งเพาะพันธ์ุยุง ไม่มีแหล่งน้ำขัง ไม่มีแหล่งสกปรกสะสมแล้ว โรคไข้เลือดออกหรือโรคติดต่อต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนก็จะลดลงได้เป็นอย่างมากส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ส่งผลให้มีภาวะเศรษฐกิจที่ดีต่อไปได้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน มีความตระหนัก และร่วมมือกันรักษาความสะอาดในบ้านเรือน/ชุมชนของตัวเอง
  2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ในเรื่องของการดูแลบ้านให้น่าอยู่ ชุมชนสะอาดและสามารถป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกได้
  3. เพื่อให้ประชาชนสามารถคัดแยกขยะและมีถังขยะเปียกไว้แยกขยะได้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. เตรียมความพร้อมก่อนทำโครงการ
  2. อบรมให้ความรู้กับ อสม.และกลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องการดูแลบ้านให้น่าอยู่ ชุมชนสะอาด เรื่องการคัดแยกขยะการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  3. รณรงค์ บ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ลดแหล่งเพาะพันธ์ุโรคไข้เลือดออก
  4. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 49
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
อสม.หมู่ที่ 1,4 ตำบลบ้านควน 49

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม การคัดแยกขยะ และมีถังขยะเปียกใช้ ได้อย่างถูกต้อง
  2. บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ชุมชน หมู่บ้านน่าสะอาด น่าอยู่ ลดแหล่งเพาะพันธ์ุเชื้อโรคต่างๆ
  3. โรคติดต่อในหมู่บ้านลดลง ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรง

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เตรียมความพร้อมก่อนทำโครงการ

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมชี้แจ้งโครงการ ให้แก่ อบต.เจ้าหน้าที่และ อสม.ได้ทราบเกี่ยวกับกิจกรรมในโครงการ
2.ชี้แจงเกณฑ์ในการประเมินให้กับ อสม.ได้รับทราบ
3.ให้ อสม.ทุกคนคัดเลือกบ้านที่รับผิดชอบของตัวเอง 1 หลัง (ซึ่งเป็นบ้านที่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆได้ดี) เพื่อส่งตัวแทนในการประกวด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้ารับการประชุมทราบถึงเกณฑ์ในการประเมิน

 

0 0

2. อบรมให้ความรู้กับ อสม.และกลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องการดูแลบ้านให้น่าอยู่ ชุมชนสะอาด เรื่องการคัดแยกขยะการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม.และกลุ่มเป้าหมายในเรื่องการดูแลบ้านให้น่าอยู่ ชุมชนสะอาด เรื่องการคัดแยกขยะการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนที่เข้าร่วมมีความรู้หลังการอบรมกลุ่มเป้าหมาย 98 คน ทำคะแนนได้เฉลี่ยร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มมากขึ้น

 

0 0

3. รณรงค์ บ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ลดแหล่งเพาะพันธ์ุโรคไข้เลือดออก

วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รณรงค์บ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ลดแหล่งเพาะพันธ์โรคไข้เลือดออก ร่วมลงประเมินถังขยะเปียกของกลุ่มเป้าหมาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการลงพื้นที่ไปสำรวจบ้านที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 98 หลัง พบว่า บ้านที่มีถังขยะเปียกพร้อมใช้งาน 83 หลัง คิดเป็นร้อยละ 84.69

 

0 0

4. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

วันที่ 1 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมชี้แจ้งสรุปผลการดำเนินงานโครงการบ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ปราศจากโรคไข้เลือดออก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการดำเนินกิจกรรมตามโครงการสามารถสรุปปัญหา อุปสรรค กลุ่มเป้าหมายยังขาดความตระหนักในการดูแลสิ่งแวดล้อมเพราะเห็นเป็นเรื่องไกลตัว ทำทุกอย่างตามความเคยชินไม่อยากเปลี่ยนแปลงอะไร แนวทางแก้ไข เพิ่มความรู้ให้กับประชาชน อสม.มากขึ้นผ่านการประชาสัมพันธ์ภายในชุมชนเองหรือทางหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน อปท.วัดหรือ รพสต.เอง

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน มีความตระหนัก และร่วมมือกันรักษาความสะอาดในบ้านเรือน/ชุมชนของตัวเอง
ตัวชี้วัด : จำนวนประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดในชุมชน ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย
50.00 100.00 100.00

 

2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ในเรื่องของการดูแลบ้านให้น่าอยู่ ชุมชนสะอาดและสามารถป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกได้
ตัวชี้วัด : ทดสอบความรู้หลังการอบรมต้องมีคะแนนมากกว่า ร้อยละ 70
50.00 70.00 98.00

 

3 เพื่อให้ประชาชนสามารถคัดแยกขยะและมีถังขยะเปียกไว้แยกขยะได้
ตัวชี้วัด : ประชาชนสามารถมีถังขยะเปียกไว้ใช้ในบ้านได้ ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย
30.00 100.00 84.69

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 98 98
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 49 49
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 0
อสม.หมู่ที่ 1,4 ตำบลบ้านควน 49 49

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน มีความตระหนัก และร่วมมือกันรักษาความสะอาดในบ้านเรือน/ชุมชนของตัวเอง (2) เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ในเรื่องของการดูแลบ้านให้น่าอยู่ ชุมชนสะอาดและสามารถป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ (3) เพื่อให้ประชาชนสามารถคัดแยกขยะและมีถังขยะเปียกไว้แยกขยะได้

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เตรียมความพร้อมก่อนทำโครงการ (2) อบรมให้ความรู้กับ อสม.และกลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องการดูแลบ้านให้น่าอยู่ ชุมชนสะอาด เรื่องการคัดแยกขยะการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (3) รณรงค์ บ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ลดแหล่งเพาะพันธ์ุโรคไข้เลือดออก (4) สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการบ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ปราศจากโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านควน ปีงบประมาณ 2566 จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 66-L5307-1-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางนฤมล โต๊ะหลัง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด