กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อดูแลผู้สูงอายุระหว่าง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และองค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน จังหวัดนราธิวาส หลักสูตร 70 ชั่วโมง ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (รุ่นที่ 1)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อดูแลผู้สูงอายุระหว่าง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และองค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน จังหวัดนราธิวาส หลักสูตร 70 ชั่วโมง ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (รุ่นที่ 1)
รหัสโครงการ 65-L2492-2-018
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
วันที่อนุมัติ 11 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2565 - 31 ตุลาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 98,410.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อ.ร.ต.อ.หญิง สุภาวดี อดิศัยศักดา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.482,101.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)   การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรโลก ส่งผลให้หลายประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) รวมถึงประเทศไทยที่มีประชากรสูงอายุถึงร้อยละ ๑๖ นับเป็นอันดับสองของอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์ที่มีประชากรสูงอายุถึงร้อยละ ๑๘ โดยในปี ๒๕๕๘ ประเทศไทยมีจำนวนประชากรรวม ๖๕.๑ ล้านคน แบ่งเป็นประชากรที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป มีจำนวนถึง ๑๐.๓ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๑๖ ของประชากรไทยทั้งหมด เป็นเพศชายจำนวน ๔.๖ ล้านคน และเพศหญิงจำนวน ๕.๗ ล้านคน และในปี ๒๕๖๔ ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ประชากรเกือบ ๑ ใน ๔ ของประเทศจะเป็นประชากรสูงอายุ และปี พ.ศ.๒๕๗๔ จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด โดยจะมีประชากรสูงอายุมากถึงร้อยละ ๒๘ (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, ๒๕๕๘) รวมถึงการคาดประมาณประชากรของประเทศไทยระหว่าง พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๘๓ คาดการณ์ไว้ว่าสัดส่วนของประชากรวัยเด็ก (อายุน้อยกว่า ๑๕ ปี) และวัยแรงงาน (อายุ ๑๕-๕๙ ปี) มีแนวโน้มลดลงสวนทางกับสัดส่วนประชากรสูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ.๒๕๖๐ สัดส่วน ประชากรวัยเด็กจะเท่ากันกับสัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุ และหากเปรียบเทียบสัดส่วนของประชากรวัยทำงานต่อประชากรวัยสูงอายุ จำนวน ๑ คน ที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาวะการพึ่งพิง จากเดิมที่มีประชากรวัยทำงานจำนวน ๔.๕ คน คอยดูแลประชากรวัยสูงอายุ ๑ คน อีกไม่เกิน ๑๔ ปีข้างหน้า สัดส่วนดังกล่าวจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยจะมีประชากรวัยทำงานเพียง ๒.๕ คน ที่ดูแลประชากรวัยสูงอายุ ๑ คน (คณะทำงานคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๘๓, ๒๕๕๕)
    จากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ ทั้งทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมในภาพรวม โดยสัดส่วนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นย่อมหมายถึงภาระของรัฐ ชุมชน และครอบครัว ในการทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ ทั้งการดูแลสุขภาพ การจัดสวัสดิการและบริการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ การจัดหาที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการป้องกันสุขภาพผู้สูงอายุให้มีความแข็งแรงและยืดระยะเวลาการเจ็บป่วยเรื้อรังหรือการเข้าสู่ภาวะทุพพลภาพให้ช้าที่สุด จึงเป็นความท้าทายที่ ประเทศไทยจำเป็นต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้ ซึ่งรัฐบาลได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญในประเด็นของการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อการแก้ไขปัญหาข้อจำกัดของการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว เนื่องจากการลดลงของภาวะเจริญพันธุ์ที่ทำให้บุตรซึ่งเป็นผู้ดูแลหลักลดลง รวมทั้งแบบแผนการย้ายถิ่นของกำลังวัยแรงงานไปทำงานพื้นที่อื่นทำให้กำลังหลักของครอบครัวที่จะให้การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวลดลง จึงได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวผ่านคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) โดยมอบหมายให้อนุกรรมการบูรณาการจัดทำมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ ดำเนินการจัดทำมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุขั้นสูง จำนวน 70 ชั่วโมง ที่เป็นมาตรฐานหลักสูตรกลาง
ของประเทศ ให้หน่วยงาน สถาบัน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถนำไปเป็นแนวทางดำเนินการจัดการเรียนการสอน เพื่อการสร้างผู้ดูแลที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานของวิชาชีพ     จังหวัดนราธิวาสมีจำนวนผู้สูงอายุทั้งสิ้น 93,592 คน โดยในตำบลโคกเคียน มีจำนวนผู้สูงอายุทั้งสิ้น 2,314 คน โดยจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจำนวน 19 ราย (กรมกิจการผู้สูงอายุ, 2565) ซึ่งผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจำเป็นต้องได้รับการดูจากผู้ดูแลอย่างสูงมากทั้งด้านในชีวิตประจำวัน การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล อาหาร ด้านสุขภาพ ฯลฯ ผู้สูงอายุที่มีภาระพึ่งพิงเป็นกลุ่มที่มีภาระการดูแลสูงต้องการผู้ดูแลคอยช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยร่วมด้วย ต้องได้รับการดูแลที่มีความซับซ้อนขึ้น
    ผู้สูงอายุจึงจำเป็นที่จะต้องการการดูแลจากผู้ดูแล ดังนั้นผู้ดูแลจึงมีความสำคัญอย่างมาก อีกทั้งผู้สูงอายุยังมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุและการรับมือกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดูแล ซึ่งหากผู้ดูแลที่เป็นบุคคลหลักในการดูแลผู้สูงอายุมีปัญหาดังกล่าว ก็จะส่งผลต่อคุณภาพการดูแลผู้สูงอายุเช่นกัน นำไปสู่การละเลยในการดูแล ส่งผลเสียด้านสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ     ดังนั้นการจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อเตรียมการรองรับระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ในท้องถิ่น ชุมชน จึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุและปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้ดูแลผู้สูงอายุทุกคนที่ผ่านการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุร้อยละ 100

100.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรและภาคีเครือข่ายที่ทำงานด้านการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว

ผู้ดูแลผู้สูงอายุทุกคนที่ผ่านการอบรมมีศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน สามารถให้การดูแลผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. จัดอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลโคกเคียน จำนวน 20 คน โดยมีรายละเอียดหลักสูตร 70 ชั่วโมง ของกรมอนามัย แบ่งเป็นภาคทฤษฎี 50 ชั่วโมงและภาคปฏิบัติ 20 ชั่วโมง โดยมีเนื้อหาคร่าวๆ (ดังเอกสารแนบ) ดังนี้ ภาคทฤษฎี                                    ภาคทดลอง เรื่อง ความจำเป็นของการดูแลผู้สูงอายุ 1 ชั่วโมง
เรื่อง แนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุ 1 ชั่วโมง
เรื่อง โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ 2 ชั่วโมง                    1 ชั่วโมง
เรื่อง ภาวะวิกฤติกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 2 ชั่วโมง          2 ชั่วโมง เรื่อง การช่วยเหลือผู้สูงอายุเบื้องต้น  3 ชั่วโมง              2 ชั่วโมง เรื่อง ระบบทางเดินอาหาร 2 ชั่วโมง                      1 ชั่วโมง เรื่อง ระบบทางเดินหายใจ 2 ชั่วโมง                      1 ชั่วโมง เรื่อง ระบบขับถ่าย 1 ชั่วโมง                          2 ชั่วโมง เรื่อง ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ 1 ชั่วโมง                      1 ชั่วโมง
เรื่อง การใช้ยาในวัยสูงอายุ 2 ชั่วโมง                      2 ชั่วโมง
เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อาหาร 2 ชั่วโมง              1 ชั่วโมง
เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ออกกำลังกาย 2 ชั่วโมง        1 ชั่วโมง
เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ช่องปาก 2 ชั่วโมง            1 ชั่วโมง
เรื่อง สุขภาพจิตกับผู้สูงอายุ/การดูแลเพื่อคลายเครียด 3 ชั่วโมง      2 ชั่วโมง
เรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม 1 ชั่วโมง เรื่อง ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 1 ชั่วโมง      2 ชั่วโมง
เรื่อง สิทธิผู้สูงอายุตามรัฐธรรมนูญ/กฎหมายแรงงานที่ควรรู้ 1 ชั่วโมง
เรื่อง บทบาทและจริยธรรมของผู้ดูแลผู้สูงอายุ 1 ชั่วโมง
เรื่อง การจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อผู้สูงอายุ 1 ชั่วโมง          1 ชั่วโมง ภาคปฏิบัติในชุมชน (รพ.สต.โคกเคียนม, รพ.สต.บือราเป๊ะ)        20 ชั่วโมง 2. จัดการสอบเพื่อประเมินการฝึกอบรมหลักสูตร ฯ สอบในภาคทฤษฎี 3. ประเมินและวัดผลการเข้าร่วมอบรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรมสามารถดูแลผู้สูงอายุได้ถูกต้องเหมาะสม
  2. จำนวนผู้ดูแลผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้นเพื่อเตรียมการรองรับระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ในท้องถิ่น ชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2565 10:09 น.