กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
รายงานผลโครงการ1 กันยายน 2566
1
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม 4.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง 4.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

งบประมาณ - ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าตอบแทนคณะทำงานในการนำเสนอโครงการ (ไม่ขอเบิกจ่ายในโครงการ)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

การให้บริการสาธารสุขแก่ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีคะแนน ADL น้อยกว่า 6 คะแนน และบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้15 ตุลาคม 2565
15
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม 2.1 ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ( Care Manager ; CM ) จัดทำแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan; CP) ปรึกษาปัญหารายกรณีกับสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง (care conference) และลงเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงเพื่อให้บริการด้านสาธารณสุข อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

2.2 ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ( Care Manager ; CM )จัดแบ่งผู้สูงอายุให้ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG ) แต่ละคนรับผิดชอบดูแล พร้อมจัดทำแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan; CP) รายสัปดาห์ และตารางการปฏิบัติงานมอบหมายให้ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG ) ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG )1 คน ดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงไม่เกิน 6 คนต่อวัน วันละไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง โดย กลุ่มที่ 1 ให้บริการอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง กลุ่มที่ 2 ให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง กลุ่มที่ 3 ให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง กลุ่มที่ 4 ให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น 1 คน ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 4 คน วันละ 8 ชั่วโมง เดือนละไม่น้อยกว่า 20 วัน

2.3 ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG )ทำหน้าที่ให้บริการสาธารณสุขเบื้องต้น การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน การจัดการสภาพแวดล้อม/บ้าน พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่ญาติและผู้ดูแล ตามแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan; CP)และประเมินการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงและให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้อง

2.4 ประเมินความเสี่ยงประเมินการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง หากพบว่า ผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงเกิดภาวะแทรกซ้อน ให้แจ้งผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ( Care Manager ; CM ) เพื่อทำหน้าที่ประสานงานแก่ทีมสหวิชาชีพในการดูแลอย่างถูกต้อง หรือรับ-ส่งต่อโรงพยาบาล

2.5 ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG )บันทึกผลการเยี่ยมและการให้บริการสาธารณสุขตามแบบบันทึกการปฏิบัติงาน

2.6 ศูนย์จัดหาวัสดุ อุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นให้แก่ผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงตามแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan; CP) - สนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ โดยให้ญาติที่ดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีคะแนน ADL น้อยกว่า 6 คะแนนและบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ มารับที่ศูนย์ และเอกสารรับผ้าอ้อมผู้ใหญ่พร้อมแนบเอกสารผู้ที่มารับผ้าอ้อมผู้ใหญ่

2.7 จ้างเหมาบริการหรือจ่ายค่าตอบแทนผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG ) จ่ายค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาหรือค่าเบี้ยเลี้ยงแก่ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ( Care Manager ; CM ) และหรือบุคลากรสาธารณสุขที่มาช่วยปฏิบัติงาน

2.8 ประเมินความพึงพอใจ และคุณภาพชีวิตของกรมอนามัยโลกก่อนและหลังให้บริการสาธารณสุขและการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่

งบประมาณ จัดซื้อผ้าอ้อมผู้ใหญ่ แก่ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง และบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ งวดที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2565 - 31 ธันวาคม 2565 - ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ จำนวน 21 คน คนละไม่เกิน 3 ชิ้น/วัน ชิ้นละ 9.50 บาท จำนวน 78 วัน รวมผ้าอ้อมผู้ใหญ่ 4,914 ชิ้น เป็นเงิน 46,683 บาท

งวดที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 - 31 มีนาคม 2566 - ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ จำนวน 21 คน คนละไม่เกิน 3 ชิ้น/วัน ชิ้นละ 9.50 บาท จำนวน 90 วัน รวมผ้าอ้อมผู้ใหญ่ 5,670 ชิ้น เป็นเงิน 53,865 บาท

งวดที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 - 30 มิถุนายน 2566 - ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ จำนวน 21 คน คนละไม่เกิน 3 ชิ้น/วัน ชิ้นละ 9.50 บาท จำนวน 91 วัน รวมผ้าอ้อมผู้ใหญ่ 5,733 ชิ้น เป็นเงิน 54,463.50 บาท

งวดที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566 - ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ จำนวน 21 คน คนละไม่เกิน 3 ชิ้น/วัน ชิ้นละ 9.50 บาท จำนวน 62 วัน รวมผ้าอ้อมผู้ใหญ่ 3,906 ชิ้น เป็นเงิน 37,107 บาท (หมายเหตุ จัดซื้อผ้าอ้อมผู้ใหญ่ตามราคาท้องตลาด) - จ้างเหมาบริการหรือจ่ายค่าตอบแทน CG จ่ายค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาหรือค่าเบี้ยเลี้ยงแก่ CM และหรือบุคลากรสาธารณสุขที่มาช่วยปฏิบัติงาน (ไม่เบิกจ่ายในโครงการ)

รวมเป็นเงิน 192,118.50 บาท

เป้าหมาย - ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีคะแนน ADL น้อยกว่า 6 คะแนน จำนวน 16 คน - บุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ จำนวน 5 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. การให้บริการสาธารณสุขแก่ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีคะแนน ADL น้อยกว่า 6 คะแนน และบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตัวชี้วัดกิจกรรม ร้อยละ 100 ของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงและมีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คะแนน ตามแผนการดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Plan) และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้      ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ได้รับการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่เพิ่มเติมตามสิทธิประโยชน์        ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยแบบบันทึกการรับการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่าร้อยละ 100 ของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงและมีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน                        ตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คะแนน ตามแผนการดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Plan) และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้                    ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ได้รับการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่เพิ่มเติมตามสิทธิประโยชน์        ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตัวชี้วัดกิจกรรม ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุและคนพิการที่มีภาวะพึ่งพิง และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ มีความพึงพอใจในการให้บริการสาธารณสุขและการได้รับผ้าอ้อมผู้ใหญ่โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่า ร้อยละ 96 ของผู้สูงอายุและคนพิการที่มีภาวะพึ่งพิง และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้มีความพึงพอใจในการให้บริการสาธารณสุขและการได้รับผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ตัวชี้วัดกิจกรรม ร้อยละ 60 ของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงและมีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คะแนน ตามแผนการดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Plan) และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้        ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีค่าคะแนนระดับความสามารถ          ในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) คงที่หรือเพิ่มขึ้น โดยการใช้แบบประเมินคุณภาพชีวิต ขององค์การอนามัยโลก  และแบบประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่า ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงและมีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) น้อยกว่าหรือเท่ากับ  6 คะแนน ตามแผนการดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Plan) และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ร้อยละ 62        และมีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index)คงที่ คิดเป็นร้อยละ 67 มีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index)ลดลงคิดเป็นร้อยละ 10และเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 23
ประชุม/ติดตามผล1 ตุลาคม 2565
1
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม 3.1 ประชุมคณะทำงานศูนย์ จำนวน 5 คน และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง( Caregiver ; CG ) เพื่อติดตามการปฏิบัติงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง( Caregiver ; CG ) ในการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงทุก 3 เดือน และรายผลการติดตามแก่ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและ คนพิการ องค์การบริการส่วนตำบลกำแพง 3.2 ประชุมคณะกรรมการทำหน้าที่ในการติดตามการปฏิบัติงานของอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น เพื่อปรับแผนการดูแลตามปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย 3.3 ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริการส่วนตำบลกำแพง ติดตามผลการดำเนินโครงการ ทุก 6 เดือน

งบประมาณ 3.1 ประชุมคณะทำงานศูนย์ จำนวน 5 คน และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง( Caregiver ; CG ) เพื่อติดตามการปฏิบัติงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง( Caregiver ; CG ) ในการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงทุก 3 เดือน และรายผลการติดตามแก่ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและ คนพิการ องค์การบริการส่วนตำบลกำแพง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงานศูนย์ฯ และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG ) จำนวน 16 คนๆละ 4 ครั้งๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท - ค่าตอบแทนคณะทำงานศูนย์ จำนวน 5 คน และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง( Caregiver ; CG ) จำนวน 11 คน คนๆละ 4 ครั้งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 12,800 บาท - ค่าวัสดุ/อุปกรณ์และเอกสารประชุม เป็นเงิน 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 15,400 บาท

3.2 ประชุมคณะกรรมการทำหน้าที่ในการติดตามการปฏิบัติงานของอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น ไม่ขอใช้งบประมาณ

3.3 ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริการส่วนตำบลกำแพง ติดตามผลการดำเนินโครงการ ทุก 6 เดือน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ จำวน 15 คนๆละ 2 ครั้งๆละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท - ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริหารศูนย์ จำนวน 15 คนๆละ 2 ครั้งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท - ค่าวัสดุ/อุปกรณ์และเอกสารประชุม เป็นเงิน 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 7,750

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 23,150 บาท

เป้าหมาย - คณะทำงานศูนย์ จำนวน 5 คน - ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG ) จำนวน 11 คน - คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ จำนวน 15คน - อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น จำนวน 2 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ไม่ได้ดำเนินการ

สำรวจผู้สูงอายุ/ผู้พิการและบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง1 กรกฎาคม 2565
1
กรกฎาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม 1.1 สำรวจผู้สูงอายุในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ผู้พิการและบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง 1.2 ประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอลหรือทำการประเมิน/ใช้ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ บุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ 1.3 สรุปข้อมูลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีคะแนนประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล เท่ากับหรือน้อยกว่า 6 คะแนนและบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้

งบประมาณ - ไม่ขอใช้งบประมาณ

เป้าหมาย - ผู้สูงอายุในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป - ผู้พิการในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง - บุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กิจกรรมสำรวจผู้สูงอายุ/ผู้พิการและบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ตัวชี้วัดกิจกรรม ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุ/ผู้พิการ ได้รับการคัดกรองและมีระบบส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและการดูแลตามระดับความจำเป็นในการดูแลระยะยาว และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้              ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ โดยใช้แบบประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอลและแบบประเมินภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา) ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง  มีผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี มีจำนวน 1,671 คน ได้รับการประเมินการทำกิจวัตรประจำวัน        โดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล พบว่าผู้สูงอายุ        ที่มีคะแนนเอดีแอลมากกว่า 11 คะแนน จำนวน 1,647 คน คิดเป็นร้อยละ 98.6 และมีคะแนนเท่ากับหรือน้อยกว่า ๑๑ คะแนน (ติดบ้าน ติดเตียง) จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 1.2 มีคนพิการทั้งหมด 390 คน ได้รับ          การประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน                      ตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล พบว่าคนพิการที่มีคะแนนเอดีแอล มากกว่า 11 คะแนน จำนวน 366 คน คิดเป็นร้อยละ 93.8 และมีคะแนนเท่ากับหรือน้อยกว่า ๑๑ คะแนน (ติดบ้าน ติดเตียง) จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 6.2 ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่เป็นคนพิการ จำนวน 20 คน คนพิการที่มีภาวะพึ่งพิงที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุ จำนวน 4 คน                ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ดูแลผู้สูงอายุ/คนพิการที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งหมด 24 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.2 ของผู้สูงอายุและคนพิการทั้งหมดในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง  โดยผู้สูงอายุ/คนพิการที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งหมด แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
    กลุ่มที่ ๑ (เคลื่อนไหวได้บ้างมีปัญหาการกิน/ การขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะสับสน) จำนวน 3 คน  คิดเป็นร้อยละ 12.5
    กลุ่มที่ ๒ (เคลื่อนไหวได้บ้างมีภาวะสับสน และอาจมีปัญหาการกิน/การขับถ่าย) จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 41.7 กลุ่มที่ ๓ (เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกิน/การขับถ่ายหรือเจ็บป่วยรุนแรง) จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 45.8
    กลุ่มที่ ๔ (เคลื่อนไหวเองไม่ได้ เจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต) จำนวน 0 คน
    ผู้สูงอายุ/คนพิการที่มีภาวะพึ่งพิง ที่มีคะแนนความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คะแนน มีจำนวน 16 คน และบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามการประเมิน/ใช้ข้อบ่งชี้      ทางการแพทย์ จำนวน 5 คน