กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การคัดกรองผู้ป่วยระยะท้าย(Palliative care) เชิงรุกในพื้นที่พหุวัฒนธรรมตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ 66-L5192-2-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพลหมู่ที่ 1 ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
วันที่อนุมัติ 12 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ตุลาคม 2565 - 31 มีนาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 55,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางบุญประสม นิลกาฬ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่1 - ม.13 ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 55,750.00
รวมงบประมาณ 55,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 16 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 112 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)
4.00
2 ร้อยละของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน
12.00
3 ร้อยละของคนพิการที่ได้รับกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต
112.00
4 ผู้ป่วยระยะท้าย
24.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้ป่วยระยะท้ายจะมีการดำเนินของโรคเข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิต การทำงานของอวัยวะสำคัญจะทรุดลงไปเรื่อยๆจนกว่าร่างกายไม่สามารถกลับเข้าสู่สภาพปกติได้และเสียชีวิตในที่สุด ถึงแม้ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์จะมีความเจริญก้าวหน้าทำให้ยืดชีวิตของผู้ป่วยออกไปได้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยระยะท้ายในโรงพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงกระทบต่อสุขภาพหลายด้าน และมีความแตกต่างกันตามปัจเจกบุคคล ภาวะสุขภาพ การเจ็บป่วย สภาพความเป็นอยู่ สัมพันธภาพในครอบครัว ระบบการให้คุณค่า ความเชื่อ ปัจจัยต่างๆเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการรับรู้และการตอบสนองต่ออาการของแต่ละบุคคล ดังนั้นการดูแลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยระยะท้ายจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ตามความเป็นจริงและสามารถเผชิญความตายได้อย่างสงบ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่พหุวัฒนธรรม มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 60 ศาสนาพุทธ ร้อยละ 40 การจัดบริการจึงต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีชีวิต และขนบธรรมเนียบประเพณีในปี 2561 มีการค้นหาผู้ป่วยระยะท้ายเชิงรุก พบผู้ป่วยจำนวน 216 รายร้อยละ 0.3 ของประชากรในพื้นที่ในปี 2563-2565 ในเขตตำบลลำไพลพบว่ามีผู้ป้วยระยะท้ายจำนวน 10,5และ9 ตามลำดับ และใน ปี 2565 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล พบว่ามีผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งได้แก่ผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 12 คน ผู้พิการ 112 คน ผู้สูงอายุติดบ้าน 4 คนโดยบางกลุ่มยังไม่ได้รับการประเมินว่าเป็นผู้ป่วยระยะท้ายหรือไม่ เนื่องจากสถานกานณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้ไม่สามารถออกค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกได้ ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแล จึงมีเฉพาะผู้ป่วยที่เข้าสู่ระบบของโงพยาบาล หรือ รพ.สต. การเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวข้างต้นถือเป็นโรคที่คุกคามชีวิตของผู้ป่วย จำเป็นต้องได้รับการดูแล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการขึ้นเพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยดังกล่าวได้รับการดูแลที่ดีตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการเจ็บป่วยจนถึงระยะสุดท้ายของชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพิ่มการเข้าถึงบริการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

ผู้ป่วยระยะท้ายได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ร้อยละ 100

24.00 24.00
2 2. เพิ่มศักยภาพบุคลากรในการจัดบริการและดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

บุคลากรได้รับการพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ร้อยละ 100

120.00 120.00
3 3.เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

มีระบบการดูแลผู้ป้วยระยะท้ายแบบประคับประคองที่มีประสิทธิภาพ

1.00 1.00
4 4.เพื่อสร้างเครือข่ายการดูแลแบบประคับประคอง

มีเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

1.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 55,750.00 0 0.00
3 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 จัดอบรมการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง 0 50,000.00 -
3 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน 0 4,000.00 -
10 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชน ประธาน อสม. เจ้าหน้าที่ ใน รพ.สต. ตัวแทนเทศบาลตำบลลำไพล หน่วยงานอื่นในพื้นที่ 0 750.00 -
1 พ.ย. 65 - 30 ก.ย. 66 ติดตามการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน 0 0.00 -
1 ธ.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 ค้นหาผู้ป่วยในชุมชน 0 0.00 -
1 - 31 มี.ค. 66 สรุปผลการดำเนินงานโครงการและนำเสนอโครงการ 0 1,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถค้นหาผู้ป่วยระยะท้าย( PalliativeCare)เชิงรุกในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น 2.ผู้ป่วยระยะท้ายได้รับการดูแลแบบประคับประคองตามมาตรฐานจนถึงวาระสุดท้าย 3.ผู้ป่วยระยะท้ายเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคอง จากทีมสุขภาพ ครอบครัวและชุมชน รวมทั้งผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองในช่วงเวลาของภาวะโรคและอาการได้อย่างเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2565 09:01 น.