กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

การคัดกรองผู้ป่วยระยะท้าย(Palliative care) เชิงรุกในพื้นที่พหุวัฒนธรรมตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพลหมู่ที่ 1 ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

1. แพทย์หญิงเอมอร แซ่หลีตำแหน่ง นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลเทพา
2. นางบุญประสมนิลกาฬตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล
3. นางสาววิทิตา วิจะสิกะตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
4. นางสาวจินตณีย์หีมบวชตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
5. นางสาวฐิติรัตน์ ไชยวรรณ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

13 หมู่บ้าน ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)

 

4.00
2 ร้อยละของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน

 

12.00
3 ร้อยละของคนพิการที่ได้รับกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต

 

112.00
4 ผู้ป่วยระยะท้าย

 

24.00

ผู้ป่วยระยะท้ายจะมีการดำเนินของโรคเข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิต การทำงานของอวัยวะสำคัญจะทรุดลงไปเรื่อยๆจนกว่าร่างกายไม่สามารถกลับเข้าสู่สภาพปกติได้และเสียชีวิตในที่สุด ถึงแม้ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์จะมีความเจริญก้าวหน้าทำให้ยืดชีวิตของผู้ป่วยออกไปได้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยระยะท้ายในโรงพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงกระทบต่อสุขภาพหลายด้าน และมีความแตกต่างกันตามปัจเจกบุคคล ภาวะสุขภาพ การเจ็บป่วย สภาพความเป็นอยู่ สัมพันธภาพในครอบครัว ระบบการให้คุณค่า ความเชื่อ ปัจจัยต่างๆเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการรับรู้และการตอบสนองต่ออาการของแต่ละบุคคล ดังนั้นการดูแลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยระยะท้ายจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ตามความเป็นจริงและสามารถเผชิญความตายได้อย่างสงบ
อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่พหุวัฒนธรรม มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 60 ศาสนาพุทธ ร้อยละ 40 การจัดบริการจึงต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีชีวิต และขนบธรรมเนียบประเพณีในปี 2561 มีการค้นหาผู้ป่วยระยะท้ายเชิงรุก พบผู้ป่วยจำนวน 216 รายร้อยละ 0.3 ของประชากรในพื้นที่ในปี 2563-2565 ในเขตตำบลลำไพลพบว่ามีผู้ป้วยระยะท้ายจำนวน 10,5และ9 ตามลำดับ และใน ปี 2565 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล พบว่ามีผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งได้แก่ผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 12 คน ผู้พิการ 112 คน ผู้สูงอายุติดบ้าน 4 คนโดยบางกลุ่มยังไม่ได้รับการประเมินว่าเป็นผู้ป่วยระยะท้ายหรือไม่ เนื่องจากสถานกานณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้ไม่สามารถออกค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกได้ ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแล จึงมีเฉพาะผู้ป่วยที่เข้าสู่ระบบของโงพยาบาล หรือ รพ.สต. การเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวข้างต้นถือเป็นโรคที่คุกคามชีวิตของผู้ป่วย จำเป็นต้องได้รับการดูแล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการขึ้นเพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยดังกล่าวได้รับการดูแลที่ดีตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการเจ็บป่วยจนถึงระยะสุดท้ายของชีวิต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพิ่มการเข้าถึงบริการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

ผู้ป่วยระยะท้ายได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ร้อยละ 100

24.00 24.00
2 2. เพิ่มศักยภาพบุคลากรในการจัดบริการและดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

บุคลากรได้รับการพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ร้อยละ 100

120.00 120.00
3 3.เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

มีระบบการดูแลผู้ป้วยระยะท้ายแบบประคับประคองที่มีประสิทธิภาพ

1.00 1.00
4 4.เพื่อสร้างเครือข่ายการดูแลแบบประคับประคอง

มีเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 16
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 112
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ป่วยระยะท้าย 24

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/10/2022

กำหนดเสร็จ 31/03/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้ารับการอบรมการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองจำนวน2 รุ่นๆละ 60 คน รวมจำนวน120 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท 2.ค่าอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรมการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับปะคอง จำนวน 2 รุ่นๆละ 60 คน รวม120 คน ๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม จากโรงพยาบาลเทพา จำนวน 10 คนจำนวน6 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 36,000บาท 4.ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เคื่องเขียน ในการจัดอบรมเป็นเงิน 2,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มี อสม.ผ่านการอบรม จำนวน 105 คน ผู้ดูแล(Care Giver)จำนวน5 คน ผู้ดูแลผู้ป่วยในบ้าน จำนวน 10 คน รวม 120 คน ผ่านการอบรม เรื่อง 1.นิยามของผู้ป่วยระยะท้าย 2.ฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมเสวนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย  จำนวน 120 คนๆละ1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,000  บาท 2.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการถอดบทเรียน เช่นกระดาษบรู๊พ  ปากกาเคมี  จำนวน 1000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดเวทีเสวนา 1 ครั้ง ได้ข้อเสนแนะ แนวทางการดูแลผู้ป่วยปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชน ประธาน อสม. เจ้าหน้าที่ ใน รพ.สต. ตัวแทนเทศบาลตำบลลำไพล หน่วยงานอื่นในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชน ประธาน อสม. เจ้าหน้าที่ ใน รพ.สต. ตัวแทนเทศบาลตำบลลำไพล หน่วยงานอื่นในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการจัดประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชน ประธาน อสม. เจ้าหน้าที่ ใน รพ.สต. ตัวแทนจากหน่วยงานในเขตพื้นที่ จำนวน 30 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 ตุลาคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้นำชุมชน ประธาน อสม. เจ้าหน้าที่ ใน รพ.สต. ตัวแทนจากหน่วยงานในเขตพื้นที่ จำนวน 30 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงานโครงการและนำเสนอโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานโครงการและนำเสนอโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าถ่ายเอกสารในการจัดทำรูปเล่ม จำนวน  1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปเล่มสรุปโครงการและนำเสนอโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำแผนการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
2.ลงติดตามดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีแผนติดตามดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน 2.มีผลการประเมินผลการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ค้นหาผู้ป่วยในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ค้นหาผู้ป่วยในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อสม./แกนนำ/ตัวแทนชุมชน ที่ผ่านการอบรม ลงพื้นที่คัดกรองผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ผู้ป่วยระยะท้ายทุกเดือน 2.รายงานผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ผู้ป่วยระยะท้ายต่อทีมดูแลผู้ป่วยระยะท้าย 3.ทีมดูแลผู้ป่วยระยะท้ายลงพื้นที่ให้การดูแลรักษาฟื้นฟูตามระยะของโรค

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต : จำนวนผู้ป่วยระยะท้ายที่เข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น ผลลัพธ์: ผู้ป่วยระยะท้ายได้รับการดูแลตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 55,750.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถั่วเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สามารถค้นหาผู้ป่วยระยะท้าย( PalliativeCare)เชิงรุกในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น
2.ผู้ป่วยระยะท้ายได้รับการดูแลแบบประคับประคองตามมาตรฐานจนถึงวาระสุดท้าย
3.ผู้ป่วยระยะท้ายเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคอง จากทีมสุขภาพ ครอบครัวและชุมชน รวมทั้งผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองในช่วงเวลาของภาวะโรคและอาการได้อย่างเหมาะสม


>