กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มทักษะการจัดการสุขภาพในชุมชนแบบองค์รวม (ประเภทที่ 2)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมแกนนำสุขภาพ รพ.สต.บ้านเหนือคลอง
วันที่อนุมัติ 12 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กันยายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 61,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพรรณี บินหีม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.953,100.03place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 212 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 161 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจพบว่า ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหนือคลอง มีปัญหาด้านสุขภาพและมีวิธีดูแลสุขภาพของตนเองและของครอบครัวยังไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งปัญหาสุขภาพที่สำคัญของครอบครัว ได้แก่การเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เช่น โรคไข้หวัด ปวดศีรษะ ปวดขา โรคกระเพาะ ปัญหาโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ และปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งล้วนแต่เป็นปัญหาสุขภาพที่มีผลกระทบต่อครอบครัวในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ ค่าใช้จ่าย และด้านจิตใจ ซึ่งวิธีการดูแลสุขภาพของครอบครัวเมื่อเกิดการเจ็บป่วย พบว่าครอบครัวส่วนใหญ่ จะทราบวิธีการดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อยได้ดี นอกจากนี้ยังมีการดูแลสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้เป็นหมอประจำบ้านที่มีความรู้ และมีประสิทธิภาพในการดูแลคนในชุมชน ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยขาดความรู้ หมดกำลังใจ ท้อแท้ผู้ดูแลขาดความรู้ ความเข้าใจ หรือชุมชนขาดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟู การส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนและครอบครัวสามารถดูแลตนเองได้และมีระบบการเฝ้าระวัง ดูแลปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน เพื่อลดอันตรายหรือเพื่อลดความพิการที่อาจเกิดขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหนือคลอง จำนวนหมู่บ้านรับผิดชอบ 2 หมู่บ้าน จำนวนประชากร 1,957 คน มีบุคลากรสาธารณสุข 5 คน เป็นเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาวุโส 1คน นักวิชาการสาธารณสุข 2 คน พยาบาลวิชาชีพ 1 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ จำนวน 1 คน อสม. 39 คน โรงเรียน 2 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๒ แห่ง ข้อมูลผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการมีดังนี้ ผู้พิการ จำนวน 13 คน  ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 18 คน  ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 105 คน  ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 38 คน ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวจำนวน 4 คน(โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหนือคลอง,2565)   ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจึงได้จัดทำโครงการโครงการจัดการสุขภาพในชุมชนแบบองค์รวมขึ้น เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มวัยต่างๆในพื้นที่มีความใส่ใจด้านสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมในชุมชน ส่งเสริมความรู้และทักษะสุขภาพ ควบคู่ความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่ถูกวิธี 2. เพื่อเสริมสร้างทักษะสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง 3. เพื่อส่งเสริมทักษะการเลือกบริโภคสินค้าในชุมชน 4. เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและการปฏิบัติตัวก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ 5. เพื่อเสริมทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพในเด็กนักเรียน 6. เพื่อชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ก่อให้เกิดแหล่งรังโรคในชุมชน
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ที่ถูกต้องร้อยละ 100
  2. กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 80
  3. กลุ่มประชาชนทั่วมีความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
  4. กลุ่มประชาชนอายุ 55 – 59 ปี มีความรู้ด้านการเตรียมพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุร้อยละ 80
  5. กลุ่มเด็กนักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
  6. กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนร้อยละ 100
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับความรู้การดูแลสุขภาพที่ถูกวิธี
  2. กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังมีทักษะสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  3. ประชาชนมีทักษะการเลือกบริโภคสินค้าในชุมชน
  4. ผู้ก้าวย่างเข้าสู่วัยผู้สูงอายุมีการเตรียมความพร้อมและมีทักษะสุขภาพก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
  5. เด็กนักเรียนมีทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพ
  6. ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ก่อให้เกิดแหล่งรังโรคในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2565 11:17 น.