กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง


“ โครงการพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ”

พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

หัวหน้าโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

ที่อยู่ พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จังหวัด

รหัสโครงการ 2566-L8010-4-01 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง " ดำเนินการในพื้นที่ พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง รหัสโครงการ 2566-L8010-4-01 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 207,700.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (The Community Health Security Fund) "กองทุนสุขภาพตำบล" นับเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วน ในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ สามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ.2561 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้บุคคลที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมี ส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ ดังนี้
(1) เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุขโดยเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
(2) เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชน หรือหน่วยงานอื่นได้ดำเนินงานตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคให้แก่สมาชิกหรือประชาชนในพื้นที่และกรณีมีความจำเป็นต้องจัดซื้อวัสดุที่มีลักษณะเป็นครุภัณฑ์ให้สนับสนุนได้ในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาทต่อโครงการ วัสดุที่มีลักษณะเป็นครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาของกลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่น ที่ได้รับการสนับสนุนนั้นๆ
(3) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์ชื่ออื่นหรือหน่วยงานที่ดูแล ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ชื่ออื่นหรือหน่วยงานที่ดูแลดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด
(4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ ละปีงบประมาณนั้น และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ครุภัณฑ์นั้นจะต้องมีราคาไม่เกิน 20,000 บาทต่อหน่วย โดยการจัดซื้อจัดจ้างให้ใช้ระเบียบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอนุโลม และครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ
(5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้
(6) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริหารสาธารณสุขตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนบรรลุวัตถุประสงค์ มีความเหมาะสมส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จึงต้องมีการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ คณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนงาน โครงการ กิจกรรม การติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงานของกองทุน การประเมินความพึงพอใจและการรับรู้ของประชาชนต่อการดำเนินงานของกองทุนเพื่อใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยบริการ ประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านการพัฒนาสุขภาพของประชาชนให้มีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้การบริหารจัดการหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
  2. เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ในการจัดบริการสาธารณสุข ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 10
  3. เพื่อสร้างนวัตกรรมสุขภาพชุมชนที่สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพหรือสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
  4. เพื่อพัฒนากองทุนฯให้เป็นแหล่งเรียนรู้/ศึกษาดูงานแก่หน่วยงานภายนอก
  5. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและกิจกรรมธรรมนูญสุขภาพในระดับหมู่บ้านหรือตำบล
  6. เพื่อสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. พัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการทุกคณะ
  2. ประชุมคัดเลือกกรรมการกองทุน
  3. อบรม/พัฒนาทักษะการเขียนโครงการ
  4. ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯและที่ปรึกษา จำนวน 4 ครั้ง
  5. ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 3 ครั้ง
  6. ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณา กลั่นกรองแผนงาน โครงการ กิจกรรม จำนวน 3 ครั้ง
  7. ประชุมชี้แจงผู้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ และจัดทำบันทึกข้อตกลง จำนวน 3 ครั้ง
  8. ประชุมคณะอนุกรรมการติดตาม/ประเมินผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง
  9. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
  10. ประชุมถอดบทเรียนและจัดทำธรรมนูญตำบลกำแพง
  11. ประชุมการจัดทำแผนสุขภาพตำบลกำแพง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 54

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. กองทุนฯ มีการบริหารจัดการหรือพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ และมีผลการประเมินการบริหารจัดการอยู่ในระดับ A หรือ A+
  2. ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงกองทุนฯ ทุกกลุ่มวัย และกองทุนฯให้การสนับสนุน และส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ในการจัดบริการ สาธารณสุข ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 ครอบคลุมทุกภาคส่วน
  3. เกิดนวัตกรรมสุขภาพชุมชนที่สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพหรือสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน และยั่งยืน
  4. กองทุนฯ มีการพัฒนากองทุนฯ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้/ศึกษาดูงานแก่หน่วยงานภายนอก ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  5. กองทุนฯ ได้สนับสนุนให้เกิดธรรมนูญสุขภาพสุขภาพตำบลในพื้นที่
  6. กองทุนฯ ได้สนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณา กลั่นกรองแผนงาน โครงการ กิจกรรม จำนวน 3 ครั้ง

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดกิจกรรม 1.พิจารณา กลั่นกรองแผนงาน โครงการ กิจกรรมที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน 3 ครั้ง

เป้าหมาย - คณะอนุกรรมการฯ จำนวน 12 คน - คณะทำงาน จำนวน 1 คน - ตัวแทนผู้เสนอโครงการๆละ 2 คน(โดยประมาณ) จำนวน 30 คน รวม 43 คน

งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 43 คนๆ ละ 1 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 3,225 บาท - ค่าตอบแทนในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองแผนงานโครงการกิจกรรมจำนวน 12 คนๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 300 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 10,800 บาท - ค่าตอบแทนคณะทำงานสำหรับ จนท./ลูกจ้าง อปท.ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ฯ จำนวน 1 คนๆละ 1 ครั้งๆ ละ 200 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 600 บาท - ค่าเอกสารประกอบการประชุม เป็นเงิน 2,500 บาท รวมเป็นเงิน 17,125 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. จัดกิจกรรมประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองแผนงานโครงการกิจกรรมครั้งที่ 1 วันที่ 22 ธันวาคม 2565 มีโครงการเข้าเสนอพิจารณาทั้งหมด 7 โครงการ ดังนี้ (1) โครงการส่งเสริมป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นเขตตำบลกำแพง ผู้เสนอโครงการ งานสุขภาพจิต โรงพยาบาลละงู (2) โครงการหยุดยั้งฟันผุ ด้วยวิธี SMART ร่วมกับซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตตำบลกำแพง ผู้เสนอโครงการฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลละงู (3) เยี่ยมถึงเรือน เยือนถึงใจ สาสุขใสใจ เพื่อค้นหาวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงผู้เสนอโครงการศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลกำแพง (4) โครงการผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ ผู้เสนอโครงการชมรมผู้สูงอายุ องค์การบริหารตำบลกำแพง (5) โครงการปากปิงปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ผู้เสนอโครงการโรงเรียนบ้านปากปิง (6) โครงการเเยกขยะเพื่อสุขภาพ โรงเรียนบ้านอุไรผู้เสนอโครงการโรงเรียนบ้านอุไร (7) โครงการ Zero Wash โรงเรียนและชุมชนบ้านตูแตหรำเปลี่ยนขยะให้เป็นศูนย์ ผู้เสนอโครงการโรงเรียนบ้านตูแตหรำ ได้รับการพิจารณาจากอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ทุกโครงการต้องมีการปรับแก้ไขรูปแบบเพื่อให้โครงการสมบูรณ์ขึ้นก่อนเข้าประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่เสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ
  2. จัดกิจกรรมประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองแผนงานโครงการกิจกรรมครั้งที่ 2 วันที่ 21 สิงหาคม 2566 มีโครงการเข้าเสนอพิจารณาทั้งหมด 14 โครงการ ดังนี้                           - นักเรียนท่าแลหลาวัยใส ใส่ใจสุขภาพ
                              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน
                              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา
                              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 3 บ้านควน
                              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 4 บ้านควนใหญ่
                              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 5 บ้านปีใหญ่
                              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย
                              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 7 บ้านโกตา
                              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 8 บ้านอุไร
                              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 9 บ้านป่าฝาง
                              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 10 บ้านปากปิง                           - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งเสม็ด
                              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 12 บ้านตูแตหรำ
                              - โครงการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ สำหรับบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง และบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ปีที่ 2

 

0 0

2. ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯและที่ปรึกษา จำนวน 4 ครั้ง

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดกิจกรรม
1.ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ และที่ปรึกษา อนุมัติแผนงาน โครงการ กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน 4 ครั้ง

เป้าหมาย - คณะกรรมการกองทุนฯ จำนวน 17 คน
- ที่ปรึกษา จำนวน 3 คน
- คณะทำงาน จำนวน 2 คน
- ตัวแทนผู้เสนอโครงการๆละ 2 คน(โดยประมาณ) จำนวน 30 คน
รวม 52 คน

งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 52 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 5,200 บาท
- ค่าตอบแทนในการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ และที่ปรึกษาจำนวน 20 คนๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 400 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 32,000 บาท
- ค่าตอบแทนคณะทำงานสำหรับ จนท./ลูกจ้าง อปท.ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ฯ จำนวน 2 คนๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 200 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 1,600 บาท
- ค่าเอกสารประกอบการประชุม จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 3,000 บาท
รวมเป็นเงิน 41,800 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ และที่ปรึกษา อนุมัติแผนงาน โครงการ กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ครั้งที่ 1 วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 มีโครงการเข้าเสนอพิจารณาทั้งหมด 7 โครงการ ดังนี้ (1) โครงการส่งเสริมป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นเขตตำบลกำแพง ผู้เสนอโครงการ งานสุขภาพจิต โรงพยาบาลละงู (2) โครงการหยุดยั้งฟันผุ ด้วยวิธี SMART ร่วมกับซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตตำบลกำแพง ผู้เสนอโครงการฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลละงู (3) เยี่ยมถึงเรือน เยือนถึงใจ สาสุขใสใจ เพื่อค้นหาวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงผู้เสนอโครงการศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลกำแพง (4) โครงการผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ ผู้เสนอโครงการชมรมผู้สูงอายุ องค์การบริหารตำบลกำแพง (5) โครงการปากปิงปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ผู้เสนอโครงการโรงเรียนบ้านปากปิง (6) โครงการเเยกขยะเพื่อสุขภาพ โรงเรียนบ้านอุไรผู้เสนอโครงการโรงเรียนบ้านอุไร (7) โครงการ Zero Wash โรงเรียนและชุมชนบ้านตูแตหรำเปลี่ยนขยะให้เป็นศูนย์ ผู้เสนอโครงการโรงเรียนบ้านตูแตหรำ ได้รับการพิจารณาจากอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ทุกโครงการได้รับอนุมัติการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีการให้ปรับปรุงแก้ไขโครงการตามคณะกรรมการแนะนำ


ประชุมครั้งที่ 2/2566 ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ และที่ปรึกษา อนุมัติแผนงาน โครงการ กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ครั้งที่ 2 วันที่ 14 กันยายน 2566
    รายละเอียดการประชุม 1. เรื่อง พิจารณาขออนุมัติแผนการเงินกองทุนฯ ปีงบประมาณ 2567         2. เรื่อง พิจารณาขออนุมัติแผนงาน โครงการ กองทุนฯ ปีงบประมาณ 2567         3. เรื่อง พิจารณาขออนุมัติแผนงาน โครงการ กองทุนฯ กิจกรรมของสำนักเลขานุการกองทุนฯ       - โครงการพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ปีงบประมาณ 2567         4. เรื่อง พิจารณาโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ 14 โครงการ ดังนี้
              - นักเรียนท่าแลหลาวัยใส ใส่ใจสุขภาพ
              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน
              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา
              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 3 บ้านควน
              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 4 บ้านควนใหญ่
              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 5 บ้านปีใหญ่
              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย
              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 7 บ้านโกตา
              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 8 บ้านอุไร
              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 9 บ้านป่าฝาง
              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 10 บ้านปากปิง               - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งเสม็ด
              - โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 12 บ้านตูแตหรำ
              - โครงการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ สำหรับบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง และบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ปีที่ 2

 

0 0

3. พัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการทุกคณะ

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดกิจกรรม
1. คณะกรรมการกองทุนฯ เข้าร่วมการพัฒนาศักยภาพ โดยการประชุมหรือฝึกอบรม
- จัดอบรมเสริมความรู้และสร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการกองทุนฯ และเสริมสร้างประสบการณ์ด้วยการศึกษาดูงาน จำนวน 1 ครั้ง
- ส่งเข้าร่วมประชุมหรืออบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ ตามความจำเป็นและเหมาะสม

เป้าหมาย
- คณะกรรมการกองทุนฯ จำนวน 17 คน
- ที่ปรึกษากองทุน จำนวน 3 คน
- คณะอนุกรรมการพิจารณาฯ จำนวน 12 คน
- คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล จำนวน 7 คน
- คณะอนุกรรมการ LTC จำนวน 10 คน
- คณะทำงาน จำนวน 5 คน
รวม จำนวน 54 คน

งบประมาณ
- ค่าลงทะเบียนที่ใช้ในการประชุมหรือฝึกอบรม
- ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
- ค่าใช้จ่ายในการอบรมหรือศึกษาดูงานหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน
กรณีที่กองทุนจัดประชุมหรืออบรม
- ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้และตกแต่งสถานที่ฝึกอบรม
- ค่าใช้จ่ายในพิธีเปิดและปิดการฝึกอบรม
- ค่าวัสดุ เครื่องเขียน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประชุมหรือฝึกอบรม
- ค่าประกาศนียบัตร
- ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสาร และสิ่งพิมพ์
- ค่าหนังสือสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร
- ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆในการฝึกอบรม
- ค่ากระเป๋าหรือสิ่งที่ใช้บรรจุเอกสารสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- ค่าสมนาคุณในการศึกษาดูงาน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
- ค่าสมนาคุณวิทยากร
- ค่าอาหาร
- ค่ายานพาหนะ
- ค่าคู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (พ.ศ. 2561) สำหรับคณะกรรมการกองทุนฯ
- ค่าตอบแทนคณะทำงานสำหรับ จนท./ลูกจ้าง อปท.ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ฯ
รวมเป็นเงิน 16,208 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดกิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนชุด ได้แก่
1. คณะกรรมการกองทุนฯ จำนวน 17 คน
2. ที่ปรึกษากองทุน จำนวน 3 คน
3. คณะอนุกรรมการพิจารณาฯ
4. คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล
5. คณะอนุกรรมการ LTC
ทั้งหมดมีคณะกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม 25 คน #หมายเหตุเนื่องด้วยคณะกรรมการกองทุนร่วมเป็นคณะอนุกรรมการแต่ละคณะด้วย โดยจัดอบรมวันที่ 25 - 26 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ๐๘.๓๐ - ๑๐.๐๐ น. ขั้นตอนการพิจารณาโครงการที่ขอการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกัน สุขภาพ โดย คุณลิขิต อังศุภานิช ๑๐.๓๐ - ๑๐.๑๕ น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๑๐.๑๕ - ๑๒.๐๐ น. การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพและการเบิกจ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น โดย คุณลิขิต อังศุภานิช ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน ๑๓.๐๐ - ๑๔.๔๕ น. ชี้แจงรายละเอียดการตรวจสอบงบประมาณในการเบิกจ่าย โดย คุณลิขิต อังศุภานิช ๑๔.๔๕ - ๑๕.๐๐ น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๑๕.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. อภิปรายชักถาม/ข้อเสนอแนะ/ปิดอบรม วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 o๘.๓๐ - ๐๘.๓๐ น. ลงทะเบียน ๐๘.๓๐ - ๐๙.๐๐ น. กล่าวเปิด โดย ประธานกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ๐๙.๓๐ - ๑๐.๓๐ น. ทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนงบประมาณ โดย วิทยากรจากสำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๒ สงขลา ๑๐.๓๐ - ๑๐.๔๕ น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๑๐.๔๕ - ๑๒.๑๕ น. บทบาท/หน้าที่คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โดย วิทยากรจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๒ สงขลา ๑๒.๑๕ - ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน ๑๓.๐๐ - ๑๔.๓๐ น. การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตามประกาศ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับ ท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย วิทยากรจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๒ สงขลา ๑๔.๓๐ - ๑๔.๔๕ น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๑๔.๔๕ – ๑๗.๐๐ น. แนวทางในการดำเนินงาน LTC โดยวิทยากรจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๒ สงขลา

 

0 0

4. ประชุมชี้แจงผู้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ และจัดทำบันทึกข้อตกลง จำนวน 3 ครั้ง

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดกิจกรรม 1.ประชุมชี้แจงผู้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ และจัดทำบันทึกข้อตกลง จำนวน 3 ครั้ง

เป้าหมาย - ตัวแทนผู้เสนอโครงการๆที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯโครงการละ 2 คน(โดยประมาณ) จำนวน 30 คน - คณะทำงาน จำนวน 3 คน รวม 33 คน

งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 33 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 2,475 บาท - ค่าตอบแทนคณะทำงานสำหรับ จนท./ลูกจ้าง อปท.ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ฯ จำนวน 2 คนๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 200 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าเอกสารประกอบการประชุมเป็นเงิน 500 บาท รวมเป็นเงิน 4,175 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดประชุมชี้แจงผู้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ และจัดทำบันทึกข้อตกลง ณ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง วันที่ 2 มิถุนายน 2566 มีตัวแทนผู้เสนอโครงการๆที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน 6 โครงการ ผู้เข้าร่วมประชุมชี้แจ้ง 9 คน

 

0 0

5. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ค่าใช้จ่ายอื่นๆ รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ งบประมาณ - ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 15,000 บาท - ค่าจัดทำเอกสาร แผ่นพับ วัสดุ/อุปกรณ์ต่างๆ เป็นเงิน 2,000 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วัสดุสำนักงาน 15 รายการ ป้ายประชาสัมพันธ์

 

0 0

6. อบรม/พัฒนาทักษะการเขียนโครงการ

วันที่ 20 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดกิจกรรม
1.จัดอบรม/พัฒนาเพิ่มทักษะการเขียนโครงการ แก่ผู้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เกี่ยวกับ
- หลักการเขียนโครงการทั่วไป
- แนวคิดในการเขียนโครงการ
- การเขียนโครงการ
- การใช้งานโปรแกรมกองทุนสุขภาพตำบล เป็นต้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เกี่ยวกับหลักการเขียนโครงการและการใช้งานโปรแกรมกองทุนสุขภาพตำบลเพิ่มขึ้น

 

0 0

7. ประชุมคัดเลือกกรรมการกองทุน

วันที่ 6 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดกิจกรรม 1. ประชุมคัดเลือกกรรมการกองทุน

  • คัดเลือกตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 2 คน จำนวน 1 ครั้ง

  • คัดเลือกตัวแทนหมู่บ้านหรือชุมชน จำนวน 5 คน จำนวน 1 ครั้ง

  • คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน จำนวน 1 ครั้ง

เป้าหมาย

  • คัดเลือกตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 12 หมู่บ้านๆละ 5 คน จำนวน 60 คน

  • คัดเลือกตัวแทนหมู่บ้านหรือชุมชน จำนวน 12 หมู่บ้านๆละ 5 คน จำนวน 60 คน

  • คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทนจำนวน 20 คน

  • คณะทำงาน จำนวน 3 คน

งบประมาณ

  1. คัดเลือกตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุข จัดกิจกรรมวันที่ 8 ธันวาคม 2565
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขและคณะทำงาน จำนวน 63 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,575 บาท

  • ค่ายานพาหนะตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 60 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท

  1. คัดเลือกตัวแทนหมู่บ้านหรือชุมชน จัดกิจกรรมวันที่ 15 ธันวาคม 2565

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับตัวแทนหมู่บ้านหรือชุมชนและคณะทำงาน จำนวน 63 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,575 บาท

ค่ายานพาหนะตัวแทนหมู่บ้านหรือชุมชน จำนวน 60 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท

  1. คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับตัวแทนคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิและคณะทำงาน จำนวน 23 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 575 บาท

ค่ายานพาหนะ จำนวน 20 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

รวมเป็นเงิน 17,725 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ดำเนินการคัดเลือกตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยใช้ตัวแทนอาสาสมัครประจำหมู่บ้านหมู่ล่ะ 5 คน ส่งมาคัดเลือกให้เหลือหมู่ล่ะ 1 คน ทำการคัดเลือกตัวแทนอาสาสมัครประจำหมู่บ้านเป็นคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงตัวแทนจาก 12 หมู่บ้าน ได้รับการคัดเลือก 2 คน ซึ่งดำเนินการจัดกิจกรรมในวันที่ 8 ธันวาคม 2565
  2. ดำเนินการคัดเลือกตัวแทนหมู่บ้านหรือชุมชน โดยใช้ตัวแทนหมู่บ้านหมู่ล่ะ 5 คน คัดตัวแทนเหลือหมู่ล่ะ 1 คน ร่วมกันคัดเลือกแบบเปิดเผย จากตัวแทนหมู่บ้านหรือชุมชน 12 หมู่บ้าน ได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินการเป็นคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง 5 คน ซึ่งดำเนินการจัดกิจกรรมในวันที่ 15 ธันวาคม 2565
  3. ดำเนินการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่น โดยการเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้บริหาร พิจารณาจากวุฒิและประสบการณ์การทำงานของผู้ได้รับการเสนอชื่อ ทำการคัดเลือกจากคณะกรรมการ 12 (1)(3)(4)(5)(6)(7)(8)(9)และ (10) ได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินการเป็นคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง 2 คน ซึ่งดำเนินการจัดกิจกรรมในวันที่ 4 มกราคม 2566

 

0 0

8. ประชุมการจัดทำแผนสุขภาพตำบลกำแพง

วันที่ 15 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดกิจกรรม

  • จัดทำแผนสุขภาพตำบลกำแพง จำนวน 12 หมู่บ้านๆละ 8 คน รวม 96 คน

  • จัดกิจกรรมจำนวน 2 วันๆละ 6 หมู่บ้านๆละ 8 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, สมาชิก อบต., กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน, อาสาสมัครสาธารณสุข, ผู้นำศาสนา, แกนนำผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่ อบต.กำแพง เป้าหมาย

  • แกนนำหมู่บ้านละ 8 คน จำนวน 12 หมู่บ้าน จำนวน 96 คน
  • คณะทำงาน จำนวน 5 คน/ครั้ง รวมจำนวน 101 คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับแกนนำหมู่บ้านจำนวน 12 หมู่บ้านๆละ 8 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับคณะทำงาน จำนวน 5 คนๆละ 4 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับแกนนำหมู่บ้าน จำนวน 12 หมู่บ้านๆละ 8 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 6,240 บาท

  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับคณะทำงาน จำนวน 5 คนๆละ 2 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 650 บาท

  • ค่ายานพาหนะในการเดินทางสำหรับแกนนำหมู่บ้าน จำนวน 12 หมู่บ้านๆละ 8 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 9,600 บาท

  • ค่าตอบแทนคณะทำงาน สำหรับ จนท./ลูกจ้าง อปท.ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ฯ จำนวน 5 คนๆ ละ 2 ครั้งๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.5 x 3.0 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 675 บาท

  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ เป็นเงิน 500 บาท

  • ค่าเอกสารประกอบการประชุม เป็นเงิน 1,500 บาท

รวมเป็นเงิน 26,465 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดทำแผนสุขภาพตำบลกำแพง จำนวน 12 หมู่บ้านๆละ 8 คน รวม 96 คน จัดกิจกรรมจำนวน 2 วันๆละ 6 หมู่บ้านๆละ 8 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, สมาชิก อบต., กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน, อาสาสมัครสาธารณสุข, ผู้นำศาสนา, แกนนำผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่ อบต.กำแพง วันที่ 15 - 16 สิงหาคม เป้าหมาย - แกนนำหมู่บ้านละ 8 คน จำนวน 12 หมู่บ้าน จำนวน 96 คน - คณะทำงาน จำนวน 5 คน/ครั้ง รวมจำนวน 101 คน ทางชุมชนมีการเขียนแผนและเสนอแผนงานโครงการของชุมชนแต่ละหมู่บ้าน นำแผนเข้าสู่การประชุมเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการกองทุน

 

0 0

9. ประชุมคณะอนุกรรมการติดตาม/ประเมินผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

วันที่ 27 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ติดตามและประเมินผลแผนงาน โครงการ กิจกรรมที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน 2 ครั้ง

เป้าหมาย - คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล จำนวน 7 คน - คณะทำงาน จำนวน 1 คน - ผู้เสนอโครงการ (โดยประมาณ) จำนวน 50 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง ครั้งที่ 1/2566  วันที่ 27 กันยายน 2566
มีโครงการเข้านำเสนอติดตามผลจำนวน 6 โครงการ ได้แก่ โครงการประเภทที่ 1 จำนวน 3 โครงการ
ได้แก่ 1.โครงการกำแพง ร่วมใจ หยุดยั้งวัณโรค ผู้รับผิดชอบ pcu กำแพง 2.โครงการหยุดยั้งฟันผุ ด้วยวิธี SMART ร่วมกับซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตตำบลกำแพง ผู้รับผิดชอบ ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลละงู 3.โครงการส่งเสริมป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นเขตตำบลกำแพง ผู้รับผิดชอบกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดโรงพยาบาลละงู

และโครงการประเภทที่ 2 จำนวน 3 โครงการ
4 โครงการเเยกขยะเพื่อสุขภาพ โรงเรียนบ้านอุไร
5.ส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กโรงเรียนบ้านปากปิง 6.โครงการ Zero Waste โรงเรียนและชุมชนบ้านตูแตหรำเปลี่ยนขยะให้เป็นศูนย์

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้การบริหารจัดการหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : - การบริหารจัดการหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลการประเมินการบริหารจัดการอยู่ในระดับ A หรือ A+ - คณะกรรมการกองทุนฯ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ได้รับการพัฒนาศักยภาพและมีความรู้ในการบริหารจัดการกองทุนฯ - กองทุนฯ มีการใช้จ่ายงบประมาณอย่างน้อย ร้อยละ 80 ของเงินในบัญชีทั้งหมดในปีงบประมาณนั้นๆ
80.00

 

2 เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ในการจัดบริการสาธารณสุข ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 10
ตัวชี้วัด : - กองทุนฯ มีการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในพื้นที่มีความครอบคลุมทุกประเภท ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 10ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
80.00

 

3 เพื่อสร้างนวัตกรรมสุขภาพชุมชนที่สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพหรือสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
ตัวชี้วัด : - มีนวัตกรรมสุขภาพชุมชนที่สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพหรือสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน อย่างน้อย 1 นวัตกรรม
100.00

 

4 เพื่อพัฒนากองทุนฯให้เป็นแหล่งเรียนรู้/ศึกษาดูงานแก่หน่วยงานภายนอก
ตัวชี้วัด : - มีกลุ่ม/องค์กร/หน่วยงานภายนอก มาเรียนรู้/ศึกษาดูงานกองทุนฯ ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยงาน/ปี
100.00

 

5 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและกิจกรรมธรรมนูญสุขภาพในระดับหมู่บ้านหรือตำบล
ตัวชี้วัด : - เกิดธรรมนูญสุขภาพระดับหมู่บ้านหรือตำบลในพื้นที่ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 25 และเพิ่มขึ้นทุกปี จนครบร้อยละ 100 ในปี 2567
25.00

 

6 เพื่อสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง
ตัวชี้วัด : - กองทุนฯ มีการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง ร้อยละ 100
100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 54
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 54

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้การบริหารจัดการหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ (2) เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ในการจัดบริการสาธารณสุข ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 (3) เพื่อสร้างนวัตกรรมสุขภาพชุมชนที่สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพหรือสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม (4) เพื่อพัฒนากองทุนฯให้เป็นแหล่งเรียนรู้/ศึกษาดูงานแก่หน่วยงานภายนอก (5) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและกิจกรรมธรรมนูญสุขภาพในระดับหมู่บ้านหรือตำบล (6) เพื่อสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) พัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการทุกคณะ (2) ประชุมคัดเลือกกรรมการกองทุน (3) อบรม/พัฒนาทักษะการเขียนโครงการ (4) ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯและที่ปรึกษา จำนวน 4 ครั้ง (5) ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 3 ครั้ง (6) ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณา กลั่นกรองแผนงาน โครงการ กิจกรรม จำนวน 3 ครั้ง (7) ประชุมชี้แจงผู้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ และจัดทำบันทึกข้อตกลง จำนวน 3 ครั้ง (8) ประชุมคณะอนุกรรมการติดตาม/ประเมินผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง (9) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (10) ประชุมถอดบทเรียนและจัดทำธรรมนูญตำบลกำแพง (11) ประชุมการจัดทำแผนสุขภาพตำบลกำแพง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จังหวัด

รหัสโครงการ 2566-L8010-4-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด