กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาท่อม ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 65-L3356-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานกองเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาท่อม
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 67,659.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักงานกองเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาท่อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(เงินคงเหลือเทียบกับรายรับปีล่าสุด)
17.55
2 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)
45.00
3 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)
20.00
4 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)
10.00
5 ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในปีงบประมาณ
70.00
6 จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ (ปีที่ผ่านมา)
5.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ โดยสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นอกจากมีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพให้ลุล่วง การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ให้มีความสามารถในการบริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน นับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะเป็นกลไกสำคัญให้การดำเนินงานของกองทุนฯ มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลและเกิดประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่มากที่สุด กองทุนหลักประกันสุขภาพได้มองเห็นความสำคัญเหล่านี้จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาท่อม เพื่อให้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าในประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รู้ถึงบทบาทหน้าที่ของตนเอง สามารถดำเนินการได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนได้ครอบคลุมในพื้นที่ตำบลนาท่อม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน

กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 %

17.55 5.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

20.00 20.00
3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน

9.00 10.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่ดีและมีรายงานผลการดำเนินงานดี

จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

45.00 70.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการ ที่มีการส่งผลงานและส่งรายงาน ตรงตามเวลา

ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในกำหนด เพิ่มขึ้น

70.00 100.00
6 เพื่อให้มีประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

5.00 6.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 68,034.00 2 7,225.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่ง (LTC) และผู้เกี่ยวข้อง (ครั้งที่ 1) 0 2,820.00 -
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 พัฒนาศักยภาพและการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนตำบลนาท่อม 0 20,000.00 -
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 จัดหาวัสดุสำนักงานประจำสำนักงานเลขานุการกองทุนฯ 0 3,879.00 -
25 พ.ย. 65 การพัฒนาศักยภาพการเขียนโครงการสำหรับ หน่วยงาน กลุ่มองค์กร ชมรมผู้ขอรับทุน 15 375.00 375.00
1 ธ.ค. 65 - 31 ม.ค. 66 ประชุมคณะกรรมการ ที่ปรึกษา คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง (ครั้งที่ 2) 0 8,840.00 -
21 ธ.ค. 65 ประชุมคณะกรรมการ ที่ปรึกษา คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง (ครั้งที่ 1) 35 8,840.00 6,850.00
1 ก.พ. 66 - 31 มี.ค. 67 ประชุมคณะกรรมการ ที่ปรึกษา คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง (ครั้งที่ 3) 0 7,020.00 -
1 เม.ย. 66 - 30 มิ.ย. 66 ประชุมคณะกรรมการ ที่ปรึกษา คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง (ครั้งที่ 4) 0 7,020.00 -
1 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่ง (LTC) และผู้เกี่ยวข้อง (ครั้งที่ 2) 0 2,820.00 -
1 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 ประชุมคณะกรรมการ ที่ปรึกษา คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง (ครั้งที่ 5) 0 6,420.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

2 คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ ได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2565 17:06 น.