กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 ด้านส่งเสริมป้องกัน จากการดำเนินโครงการมีผู้ปกครองเข้าร่วมการอบรมตามโครงการจำนวน 129 คน และครูผู้ดูแลเด็กจำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 59.22
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนไสน ผู้ปกครองเข้าร่วม 20 คน คิดเป็นร้อยละ 40.00
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าแลหลา ผู้ปกครองเข้าร่วม 29 คน คิดเป็นร้อยละ 52.72
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝาง ผู้ปกครองเข้าร่วม 27 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00
4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปากปิง ผู้ปกครองเข้าร่วม 21 คน คิดเป็นร้อยละ 38.18
5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตูแตหรำ ผู้ปกครองเข้าร่วม 15 คน คิดเป็นร้อยละ 51.72
6. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปิใหญ่ ผู้ปกครองเข้าร่วม 17 คน คิดเป็นร้อยละ 56.67

จากแบบสอบถามข้อมูลจากผู้ปกครองที่เข้าร่วมอบรม - ผู้ปกครองผู้เข้าร่วมอบรมเป็นพ่อหรือแม่ร้อยละ 53.97 ปู่ย่าตายายร้อยละ 36.51 และอื่นๆ ร้อยละ 9.52 - เพศชายร้อยละ 19.84 และเพศหญิงร้อยละ 80.16 - ความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูเด็กส่วนใหญ่เป็นแบบบางครั้งมีผู้อื่นในครอบครัวช่วยเลี้ยงร้อยละ 58.73 รองลงมาคือส่วนมากมีคนอื่นในครอบครัวช่วยเลี้ยงร้อยละ 23.02 และรองลงมาคือเลี้ยงดูเด็กเพียงคนเดียวร้อยละ 18.25 - พฤติกรรมการบริโภคหวานส่วนใหญ่เด็กได้รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่รสหวานก่อนเข้านอนร้อยละ 66.67 แต่ส่วนใหญ่แปรงฟันหลังรับประทานร้อยละ 76.19 รองลงมาคือบ้วนปากหลังรับประทานร้อยละ 28.57 ก่อนเข้านอน - ข้อมูลเกี่ยวกับการทำความสะอาดช่องปากของเด็ก ส่วนใหญ่แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 67.46
- ผู้ที่แปรงฟันให้เด็กเป็นประจำส่วนใหญ่เป็นมารดาร้อยละ 50.79 รองลงมาคือเด็กเป็นผู้แปรงเองร้อยละ 30.16
- ยาสีฟันที่เด็กใช้ส่วนใหญ่เป็นยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์สำหรับเด็กร้อยละ 90.48 รองลงมาคือยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์สำหรับผู้ใหญ่ร้อยละ 5.56 และใช้ยาสีฟันที่ไม่มีฟลูออไรด์หรือไม่ทราบว่ามีฟลูออไรด์หรือไม่ร้อยละ 3.97
- ผู้ปกครองส่วนใหญ่ทราบว่าเด็กมีปัญหาสุขภาพช่องปากร้อยละ 62.70 - ผู้ปกครองส่วนใหญ่คิดว่าเด็กมีฟันผุร้อยละ 71.43 - ผู้ปกครองเคยพาเด็กไปพบทันตแพทย์ร้อยละ 51.59 ไม่เคยพาเด็กไปพบทันตแพทย์มาก่อนร้อยละ 48.41 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากผู้ปกครองไม่มีเวลาพาไปร้อยละ 39.34 รองลงมามี 2 เหตุผลคือ คิดว่าเด็กไม่มีปัญหาในช่องปากและเด็กอายุน้อยเกินไปที่จะทำฟันร้อยละ 24.59 - สาเหตุที่จะพาเด็กไปพบทันตแพทย์คือ ตรวจสุขภาพช่องปากร้อยละ 43.65 รองลงมาคือ เพราะเด็กมีฟันผุร้อยละ 38.10 และเพราะเด็กมีอาการปวดฟันร้อยละ 15.08

จากการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม - ผู้ปกครองเด็กเล็กที่เข้าร่วมการอบรม มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 16.60 ก่อนการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 69.42 และหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 86.02 - จะเห็นได้ว่าหลังการอบรมแล้วผู้ปกครองมีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับช่องปากเด็กเล็กและการดูแลสุขภาพช่องปาก สามารถทำความสะอาดช่องปากได้ และมีทักษะการแปรงฟันให้แก่เด็กได้อย่างถูกต้องและมีคุณภาพมากขึ้น - จากการทำแบบทดสอบประเมินความเข้าใจของผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก เกี่ยวกับการใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ (SDF) เพื่อหยุดยั้งฟันน้ำนมผุในเด็กก่อนวัยเรียน ก่อน-หลังการอบรมของผู้ปกครอง ก่อนการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 78.86 และหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 86.71 แสดงให้เห็นว่าเมื่อเสร็จสิ้นการอบรมแล้วผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 7.85

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมด้านรักษา/ฟื้นฟู เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งหมด 255 คน ณ วันที่ดำเนินโครงการมีจำนวน 251 คน - ได้รับการบริการและตรวจฟัน 201 คน คิดเป็นร้อยละ 80.08 - มารับการรักษาตามนัด 157 คน  คิดเป็นร้อยละ 78.11 - ปราศจากฟันผุ 66 คน  คิดเป็นร้อยละ 32.84 - มีฟันน้ำนมผุ 135 คน คิดเป็นร้อยละ 67.16 - ได้รับการรักษาโดยการอุดฟันเพียงร้อยละ 9.56 - มีฟันกรามน้ำนมผุสามารถบูรณะได้ 128 คน 375 ซี่ - ได้รับการบูรณะฟันด้วยวิธี SMART 99 คน 292 ซี่ (จำนวนคนที่ได้บูรณะคิดเป็นร้อยละ 77.34 และจำนวนซี่ที่ได้อุดคิดเป็นร้อยละ 77.87) - มีฟันน้ำนมที่ต้องได้รับการหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ 129 คน 415 ซี่ - ผู้ปกครองให้ความยินยอมในการใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ 67 คน - ได้รับการหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ 67 คน 217 ซี่ (จำนวนคนที่ได้รักษาคิดเป็นร้อยละ 51.94 และจำนวนซี่ที่ได้รักษาคิดเป็นร้อยละ 52.29) - เด็กที่ได้รักษา Completed case 79 คน คิดเป็นร้อยละ 50.32 ซึ่งจะเห็นได้ว่าเด็กที่ได้รับการบูรณะฟันกรามแล้วนั้น เด็กจะสามารถเคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น สามารถควบคุม ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุ ป้องกันการสูญเสียฟันน้ำนมก่อนวัยอันควร และการเกิดฟันผุในฟันแท้

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามผลการดำเนินงาน มีการติดตามผล 3 เดือนภายหลังการบูรณะฟันด้วยเทคนิค SMART และและหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ได้สุ่มตรวจทั้งหมด 76 คน คิดเป็นร้อยละ 76.77 ของจำนวนเด็กที่ได้รับการรักษา ปรากฏดังนี้ 1.เด็กที่ได้รับการบูรณะฟันด้วยเทคนิค SMART - สุ่มตรวจทั้งหมด 191 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 65.41 - การยึดติดของวัสดุกับฟันติดสภาพดี 178 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 93.19 - หลุดบางส่วน 13 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 6.81 2.เด็กที่ได้รับการหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ - สุ่มตรวจทั้งหมด 157 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 72.35 - ฟันผุหยุดยั้งทั้งหมด 142 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 90.45 จากการสุ่มตรวจหลังการได้รับการอุดฟันแล้ว 3 เดือนแล้วพบว่าเด็กไม่มีอาการปวดฟันหลังการรักษาคิดเป็นร้อยละ 100 คุณภาพชีวิตหลังการรักษาพบว่า เด็กสามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อฟื้นฟูให้ความรู้และเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็กและครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กและครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็กเพิ่มขึ้น
80.00 84.33

 

2 เพื่อให้เด็กปฐมวัย เข้าถึงบริการทางทันตกรรมและได้รับการบูรณะฟันน้ำนมเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด : เด็กปฐมวัยในศพด. เขตตำบลกำแพง เข้าถึงบริการทางทันตกรรม ได้รับการตรวจฟัน การหยุดยั้งฟันน้ำนมผุและบูรณะฟันน้ำนมอย่างน้อยร้อยละ 90
90.00 80.08

 

3 เพื่อลดการผุลุกลามและหยุดยั้งฟันน้ำนมผุในเด็กปฐมวัย
ตัวชี้วัด : ลดการสูญเสียฟันน้ำนม ลดอาการปวดฟันและลดการผุซ้ำในฟันกรามน้ำนมที่ได้รับการรักษาไปอย่างน้อยร้อยละ 60
60.00 90.77

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 255
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 255 201
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 0
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อฟื้นฟูให้ความรู้และเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็กและครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (2) เพื่อให้เด็กปฐมวัย เข้าถึงบริการทางทันตกรรมและได้รับการบูรณะฟันน้ำนมเพิ่มขึ้น (3) เพื่อลดการผุลุกลามและหยุดยั้งฟันน้ำนมผุในเด็กปฐมวัย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมด้านการส่งเสริมป้องกัน (2) กิจกรรมด้านการรักษา/ฟื้นฟู (3) กิจกรรมติดตามผลการดำเนินงาน (4) รายงานผลโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh