กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเเยกขยะเพื่อสุขภาพ โรงเรียนบ้านอุไร
รหัสโครงการ 2566-L8010-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านอุไร
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 ตุลาคม 2565 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 30,795.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเกรียงศักดิ์ แดวากม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนโรงเรียนบ้านอุไรที่มีพฤติกรรมเเยกขยะถูกต้อง
23.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของก๊าซในบรรยากาศ สาเหตุใหญ่มาจากมนุษย์เป็นผู้กระทำ และเชื่อกันว่า อุณหภูมิของโลกที่ สูงขึ้นเป็นผลเนื่องมาจากปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) ในชั้นบรรยากาศมากกว่าปกติ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของก๊าชเรือนกระจกจะทำให้บรรยากาศโลกกักเก็บพลังงานความร้อนเพิ่มขึ้น ซึ่งสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นสาเหตุใหญ่ คือ มนุษย์ ซึ่งเป็นผู้เพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกมากจนเกินไป หากเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โลกจะกลับมาสู่สภาวะที่สมดุลได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นส่วนที่มนุษย์เป็นผู้กระทำ มนุษย์ก็สามารถแก้ปัญหานั้นได้ ถึงแม้ว่าการที่โลกจะกลับมาสูสภาวะสมดุลได้จะต้องใช้เวลานานก็ตาม แต่เราก็สามารถบรรเทาผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้มีความรุนแรงลดน้อยลงได้

ปัจจุบันมีปริมาณขยะเกิดขึ้นในโรงเรียนและชุมชนเป็นจำนวนมากซึ่งประกอบด้วย ขยะอินทรีย์ได้แก่เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ ฯลฯ ขยะรีไซเคิลได้แก่ ขวดน้ำ ขวดแก้ว กล่องนม ขวดน้ำผลไม้ ฯลฯ และขยะทั่วไป ได้แก่ ถุงพลาสติก ถุงขนม ฯลฯ ขยะอันตราย ได้แก่ หลอดไฟแบบต่างๆ ถ่านไฟฉาย กระป่องสเปรย์ ฯลฯ จากการสำรวจขยะในโรงเรียนในแต่ละวันมีปริมาณขยะวันละ 15 กิโลกรัม และมีนักเรียนที่สามารถแยกขยะอย่างถูกวิธีจำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 23 ของนักเรียนทั้งหมด และใน 1 สัปดาห์รถขยะจะเก็บขยะในโรงเรียนและชุมชนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทำให้ขยะส่งกลิ่นเหม็นและเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆ เกิดมลพิษทางกลิ่น ส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้ได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ทำให้มีสุขภาพจิตที่ไม่ดี

ทางโรงเรียนจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางให้กับนักเรียนในโรงเรียน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดปริมาณขยะในโรงเรียนและลดปัญหาขยะที่ตกค้างในชุมชนได้อีกทางหนึ่งอีกทั้งยังเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดการใช้พลังงานและลดมลพิษที่จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนในโรงเรียนจะร่วมมือกันลดและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นด้วยการคัดแยกขยะให้ถูกประเภทและนำวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะในโรงเรียนและชุมชน
  1. ร้อยละ70 ของโรงเรียนและชุมชนมีปริมาณขยะลดลง
  2. นักเรียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 สามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกวิธี
70.00
2 นักเรียน ผู้ปกครอง ครูบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและโรคที่มาจากขยะเพิ่มขึ้น
  1. ร้อยละ 80 นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและโรคที่มากับขยะเพิ่มขึ้น
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,795.00 7 30,795.00
18 ม.ค. 66 - 18 ก.พ. 66 จัดตั้งแกนนำ(อถล)และเก็บข้อมูลขยะในโรงเรียนและชุมชน 0 650.00 650.00
21 ม.ค. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การคัดแยกขยะเเละโรคที่มากับขยะเเก่ผู้ร่วมโครงการ 0 17,075.00 17,075.00
26 ม.ค. 66 - 18 ก.ค. 66 ผักสวนครัวปลอดสารพิษ 0 1,000.00 1,000.00
1 ก.พ. 66 - 31 มี.ค. 66 ติดตามพฤติกรรมในการคัดเเยกขยะ 0 0.00 0.00
9 ก.พ. 66 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะอย่างถูกถูกวิธีและโรคที่มากับขยะ 0 4,250.00 4,250.00
24 ก.พ. 66 ทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารและขยะมูลฝอย 0 6,820.00 6,820.00
8 - 16 ส.ค. 66 จัดทำรูปเล่มรายงานโครงการคัดแยกขยะ 0 1,000.00 1,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ปริมาณขยะในโรงเรียนและชุมชนลดลง
  2. นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและโรคที่มากับขยะ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2565 11:29 น.