กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กโรงเรียนบ้านปากปิง
รหัสโครงการ 2566-L8010-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านปากปิง
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 29 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 23,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางญาดา นุ้ยไฉน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 105 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กนักเรียนอายุ 5- 12 ปี ที่มีกิจกรรมการทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)
31.43

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผลการสำรวจการมีกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทย ปี 2561 โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า มีเด็กไทยประมาณ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 26.2 เท่านั้น ที่มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 60 นาทีต่อวัน ตามขอแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) สถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนถึงความจำ อย่างยิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยต้องมีการส่งกิจกรรมทางกายให้กับเด็กไทยอย่างจริงจังและต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น เมื่อศึกษาถึงต้นตอของปัญหา อาจกล่าวได้ว่าเหตุผลสำคัญที่มีส่วนทำให้เด็กไทยมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอนั้น เนื่องมาจากวิถีชีวิต การเรียน และรูปแบบการเล่นของเด็กเปลี่ยนไปจากอดีต จากเดิมเด็กคือ ใช้เวลาว่างออกไปเล่นกับเพื่อนเปลี่ยนเป็นการใช้เวลาว่างหมดไปกับหน้าจออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ

เมื่อสำรวจข้อมูลการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากปิงทุกชั้นเรียน ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 105 คน แต่ละช่วงวัยมีพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายที่ลดลง เนื่องจาก พฤติกรรมเนือยนิ่งมากขึ้น จากการเล่นโทรศัพท์มือถือ การใช้จอคอมพิวเตอร์ การสื่อสารทางโลกออนไลน์ ทำให้มีนักเรียนที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอคิดเป็นร้อยละ 68.57 จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด โรงเรียนบ้านปากปิงเห็นถึงความสำคัญและต้องการแก้ไขปัญหาในเรื่องการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนในแต่ละช่วงวัย เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกิจกรรมทางกายของนักเรียนในแต่ละช่วงวัยโรงเรียนบ้านปากปิงให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของกลุ่มแกนนำนักเรียน กลุ่มนักเรียน และผู้ปกครอง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มแกนนำนักเรียน กลุ่มนักเรียน และผู้ปกครองมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ (ระดับกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

10.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ก.พ. 66 - 30 ก.ค. 66 ประเมินกิจกรรมทางกายของนักเรียน 0 525.00 525.00
1 ก.พ. 66 - 2 มี.ค. 66 การดำเนินกิจกรรมทางกายด้านกิจกรรมทางเลือก 0 3,340.00 3,340.00
1 - 31 พ.ค. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 0 8,575.00 8,575.00
1 - 31 พ.ค. 66 การดำเนินกิจกรรมทางกายด้านการออกกำลังกาย 0 9,850.00 9,850.00
1 - 31 ส.ค. 66 ประเมินนักเรียนและถอดบทเรียน 0 1,160.00 1,160.00
20 - 31 ส.ค. 66 สรุปผลและรายงานผล 0 500.00 500.00
รวม 0 23,950.00 6 23,950.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มแกนนักเรียน กลุ่มนักเรียนและผู้ปกครองมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2565 11:35 น.