กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กโรงเรียนบ้านปากปิง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงเรียนบ้านปากปิง

นางสาวพิทยารัตน์ เพชรเพ็ง ผู้ประสานงานคนที่ 1 (0835901181)
นางสาวอาจรีย์ ม่องพร้า ผู้ประสานงานคนที่ 2 (0955494305)
นางสาวบุษยา ยีมะเร็บ
นางอารีวรรณ หลงสลำ
นางปอซอร์ จิ้วจวบ

โรงเรียนบ้านปากปิง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กนักเรียนอายุ 5- 12 ปี ที่มีกิจกรรมการทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

31.43

ผลการสำรวจการมีกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทย ปี 2561 โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า มีเด็กไทยประมาณ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 26.2 เท่านั้น ที่มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 60 นาทีต่อวัน ตามขอแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) สถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนถึงความจำ อย่างยิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยต้องมีการส่งกิจกรรมทางกายให้กับเด็กไทยอย่างจริงจังและต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น เมื่อศึกษาถึงต้นตอของปัญหา อาจกล่าวได้ว่าเหตุผลสำคัญที่มีส่วนทำให้เด็กไทยมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอนั้น เนื่องมาจากวิถีชีวิต การเรียน และรูปแบบการเล่นของเด็กเปลี่ยนไปจากอดีต จากเดิมเด็กคือ ใช้เวลาว่างออกไปเล่นกับเพื่อนเปลี่ยนเป็นการใช้เวลาว่างหมดไปกับหน้าจออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ

เมื่อสำรวจข้อมูลการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากปิงทุกชั้นเรียน ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 105 คน แต่ละช่วงวัยมีพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายที่ลดลง เนื่องจาก พฤติกรรมเนือยนิ่งมากขึ้น จากการเล่นโทรศัพท์มือถือ การใช้จอคอมพิวเตอร์ การสื่อสารทางโลกออนไลน์ ทำให้มีนักเรียนที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอคิดเป็นร้อยละ 68.57 จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด โรงเรียนบ้านปากปิงเห็นถึงความสำคัญและต้องการแก้ไขปัญหาในเรื่องการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนในแต่ละช่วงวัย เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกิจกรรมทางกายของนักเรียนในแต่ละช่วงวัยโรงเรียนบ้านปากปิงให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของกลุ่มแกนนำนักเรียน กลุ่มนักเรียน และผู้ปกครอง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มแกนนำนักเรียน กลุ่มนักเรียน และผู้ปกครองมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ (ระดับกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

10.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 105
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 4 51
กลุ่มนักเรียนชั้นอนุบาลและผู้ปกครอง 50
กลุ่มนักเรียนแกนนำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และปีที่ 6 27

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 31/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประเมินกิจกรรมทางกายของนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินกิจกรรมทางกายของนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ประเมินเกี่ยวกับการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนทุกชั้นโดยครูประจำชั้น โดยนักเรียนทั้งหมดจำนวน 105 คน

  • ครูประจำชั้นแต่ละห้องเรียน สำรวจการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนแต่ละคน โดย บันทึกลงในแบบสำรวจการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียน ก่อนและหลังการดำเนินโครงการ แผนการดำเนินงาน

    • เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม นำเสนอโครงการ

    • เดือนพฤษภาคม ประเมินนักเรียนแต่ละชั้น และสร้างกลไกขับเคลื่อนแกนนำนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และอบรมนักเรียนกลุ่มอนุบาลและผู้ปกครอง

    • เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนธันวาคม ดำเนินกิจกรรมทางกายแต่ละประเภท

    • เดือนธันวาคม ประเมินนักเรียน ถอดบทเรียน สรุปผลและประเมินผล

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียน 105 คน

งบประมาณ
ค่าแบบประเมินนักเรียน จำนวน 105 ชุดๆละ 5 บาท เป็นเงิน 525 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละของกลุ่มแกนนำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 27 คน ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) ร้อยละ 80
  2. ร้อยละของกลุ่มอนุบาล และผู้ปกครอง จำนวน 50 คน ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) ร้อยละ 80
  3. ร้อยละของกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 51 คน ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
525.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ประเมินกลุ่มแกนนำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนการเข้าร่วมโครงการ การออกกำลังกายแต่ละประเภท โดยแบบประเมิน ก่อนการเข้าร่วมโครงการ การออกกำลังกายแต่ละประเภท

  • ให้ความรู้กลุ่มแกนนำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องการออกกำลังกายในแต่ละประเภท

  • ประเมินความรู้หลังการอบรมของกลุ่มแกนนำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยแบบประเมิน หลังการเข้าร่วมโครงการ การออกกำลังกายแต่ละประเภท

เป้าหมาย

  1. นักเรียนแกนนำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 27 คน
  2. ผู้สังเกตการณ์ 3 คน

    งบประมาณ

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าป้ายไวนิล 500 บาท

อบรมกลุ่มแกนนำนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ

07.30 น. - 08.00 น.ลงทะเบียน

08.00 น. - 09.00 น.กิจกรรมให้ความรู้ด้านการออกกำลังกายในแต่ละประเภท กลุ่มแกนนำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

09.00 น. - 09.15 น.พักเบรก

09.15 น. - 11.15 น.กิจกรรมให้ความรู้ด้านการออกกำลังกายในแต่ละประเภทกลุ่มแกนนำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ต่อ)

11.15 น. - 12.30 น.พักกลางวัน

12.30 น. - 13.30 น.อบรมให้ความรู้ด้านการออกกำลังกายในแต่ละประเภทนักเรียนชั้นอนุบาลและผู้ปกครอง

13.30 น. - 14.00 น.พักเบรก

14.00 น. - 16.00 น. อบรมให้ความรู้ด้านการออกกำลังกายในแต่ละประเภทนักเรียนชั้นอนุบาลและผู้ปกครอง (ต่อ)

2.2 อบรมให้ความนักเรียนชั้นอนุบาลและผู้ปกครอง โดยนักเรียนแกนนำที่ผ่านการอบรม

  • ประเมินความรู้นักเรียนชั้นอนุบาลและผู้ปกครอง ก่อนก่อนการเข้าร่วมโครงการ การออกกำลังกายแต่ละประเภท โดยแบบประเมิน ก่อนการเข้าร่วมโครงการ การออกกำลังกายแต่ละประเภท

  • ให้ความรู้นักเรียนกลุ่มอนุบาลและผู้ปกครอง ในเรื่องการออกกำลังกายในแต่ละประเภท

  • ประเมินความรู้หลังการอบรมการออกกำลังกายแต่ละประเภท ของกลุ่มอนุบาลและผู้ปกครอง โดยแบบประเมิน หลังการเข้าร่วมโครงการ การออกกำลังกายแต่ละประเภท
    กลุ่มเป้าหมาย

    1. นักเรียนชั้นอนุบาล 25 คน
    2. ผู้ปกครองนักเรียน 25 คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท

2.3 อบรมให้ความรู้นักเรียนชั้น ป.1 - ป.4 โดยนักเรียนที่ผ่านการอบรม

  • ประเมินความรู้นักเรียนชั้นป.1 - ป.4 ก่อนก่อนการเข้าร่วมโครงการ การออกกำลังกายแต่ละประเภท โดยแบบประเมิน ก่อนการเข้าร่วมโครงการ การออกกำลังกายแต่ละประเภท

  • ให้ความรู้นักเรียนกลุ่มป.1 - ป.4 ในเรื่องการออกกำลังกายในแต่ละประเภท

  • ประเมินความรู้หลังการอบรมการออกกำลังกายแต่ละประเภท ของนักเรียนชั้นป.1 - ป.4โดยแบบประเมิน หลังการเข้าร่วมโครงการ การออกกำลังกายแต่ละประเภท

กลุ่มเป้าหมาย 1. นักเรียนชั้นป.1 - ป.4 จำนวน 69 คน

งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 69 คนๆ ละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,725 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละของกลุ่มแกนนำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 27 คน ที่มีความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกายเพียงพอเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
  2. ร้อยละของกลุ่มนักเรียนชั้นอนุบาลและผู้ปกครอง ที่มีความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกายเพียงพอเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
  3. ร้อยละของกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความรู้เกี่ยวกับการมีกิจกรรมทางกายเพียงพอเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8575.00

กิจกรรมที่ 3 การดำเนินกิจกรรมทางกายด้านการออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
การดำเนินกิจกรรมทางกายด้านการออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การออกกำลังกาย (ฮูล่าฮูป) (ฟุตบอล) (วอลเลย์บอล) (แชร์บอล) นักเรียน 105 คน

  • นักเรียนแต่ละคนเลือกเล่นกีฬาคามความสนใจและความถนัดของตนเอง

  • ประเมินจากแบบสำรวจการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนแต่ละคน โดย บันทึกลงในแบบสำรวจการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียน จำนวน 105 คน หลังการดำเนินโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนทั้งหมด 105 คน

งบประมาณ

  • ค่าวัสดุ อุปกรณ์
  1. ฮูล่าฮูป จำนวน 50 ชุด ชุดละ 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
  2. ลูกฟุตบอล จำนวน 6 ชุด ชุดละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  3. กรวยฟุตบอล จำนวน 2 ชุด ชุดละ 150 บาท เป็นเงิน 300 บาท
  4. ลูกวอลเลย์บอล จำนวน 6 ชุด ชุดละ 200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  5. ลูกบาสเกตบอล จำนวน 6 ชุด ชุดละ 100 บาท เป็นเงิน 600 บาท
  6. ตะกร้าแชบอล จำนวน 3 ชุด ชุดละ 150 บาท เป็นเงิน 450 บาท
  7. ตาข่ายวอลเลย์บอล จำนวน 1 ชุด ชุดละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละของกลุ่มแกนนำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 27 คน ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) ร้อยละ 80
  2. ร้อยละของกลุ่มอนุบาล และผู้ปกครอง จำนวน 50 คน ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) ร้อยละ 80
  3. ร้อยละของกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 51 คน ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9850.00

กิจกรรมที่ 4 การดำเนินกิจกรรมทางกายด้านกิจกรรมทางเลือก

ชื่อกิจกรรม
การดำเนินกิจกรรมทางกายด้านกิจกรรมทางเลือก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมทางเลือก (การปลูกผักสวนครัว) (รดน้ำต้นไม้)
- นักเรียนแต่ละคนเลือกทำกิจกรรมทางเลือกเล่นกีฬาคามความสนใจและความถนัดของตนเอง
- ประเมินจากแบบสำรวจการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนแต่ละคน โดย บันทึกลงในแบบสำรวจการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียน หลังการดำเนินโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนทั้งหมด 105 คน

งบประมาณ

  • อุปกรณ์พรวนดิน จำนวน 6 ชุด ชุดละ 200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

  • บัวรดน้ำ ขนาด 4 ลิตร จำนวน 12 ชุด ชุดละ 70 บาท เป็นเงิน 840 บาท

  • จอบด้ามเหล็ก 5 ชุด ชุดละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

  • คราดเหล็ก 2 ชุด ชุดละ 150 บาท เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 2 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละของกลุ่มแกนนำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 27 คน ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) ร้อยละ 80
  2. ร้อยละของกลุ่มอนุบาล และผู้ปกครอง จำนวน 50 คน ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) ร้อยละ 80
  3. ร้อยละของกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 51 คน ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3340.00

กิจกรรมที่ 5 ประเมินนักเรียนและถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินนักเรียนและถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินจากแบบสำรวจการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียน 105 คนโดย บันทึกลงในแบบสำรวจการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียน หลังการดำเนินโครงการ นักเรียน 105 คน เขียนสะท้อนความรู้ สิ่งที่ได้รับและร่วมกันถอดบทเรียนจากการเข้าร่วมโครงการ โดยเขียนลงในกระดาษบรู๊ฟ

งบประมาณ

  • กระดาษ A4 จำนวน 1 ลัง เป็นเงิน 750 บาท

  • กระดาษบรู๊ฟ จำนวน 50 แผ่น คิดเป็นเงิน 170 บาท

  • ปากกาเมจิก จำนวน 2 แพ็ค แพ็คละ 120 บาท คิดเป็นเงิน 240 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละของกลุ่มแกนนำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 27 คน ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) ร้อยละ 80
  2. ร้อยละของกลุ่มอนุบาล และผู้ปกครอง จำนวน 50 คน ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) ร้อยละ 80
  3. ร้อยละของกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 51 คน ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1160.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปผลและรายงานผล

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลและรายงานผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายงานผลโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

งบประมาณ ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผลเป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละของกลุ่มแกนนำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 27 คน ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) ร้อยละ 80
  2. ร้อยละของกลุ่มอนุบาล และผู้ปกครอง จำนวน 50 คน ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) ร้อยละ 80
  3. ร้อยละของกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 51 คน ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,950.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยจ่าย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กลุ่มแกนนักเรียน กลุ่มนักเรียนและผู้ปกครองมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและเพิ่มขึ้น


>