กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก


“ โครงการสถานีสุขภาพสัญจร ปลอดโรค Stroke ไตวาย และหัวใจ ประจำปี 2566 ”

ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นางสาวอาซูรา เบ็ญจุฬามาศ

ชื่อโครงการ โครงการสถานีสุขภาพสัญจร ปลอดโรค Stroke ไตวาย และหัวใจ ประจำปี 2566

ที่อยู่ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 66-L6961-1-14 เลขที่ข้อตกลง 19/2566

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 16 มกราคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสถานีสุขภาพสัญจร ปลอดโรค Stroke ไตวาย และหัวใจ ประจำปี 2566 จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสถานีสุขภาพสัญจร ปลอดโรค Stroke ไตวาย และหัวใจ ประจำปี 2566



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการสถานีสุขภาพสัญจร ปลอดโรค Stroke ไตวาย และหัวใจ ประจำปี 2566 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ 66-L6961-1-14 ระยะเวลาการดำเนินงาน 16 มกราคม 2566 - 31 กรกฎาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 29,800.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 120 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรัง และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับต้น ๆ หากไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการรักษาไม่ถูกต้องจะเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วย จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าคนไทยที่มีโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาบอด โรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดส่วนปลาย และการถูกตัดอวัยวะ เป็นต้น ปัญหาของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่พบบ่อยที่สุด คือ การบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ยังพบการบริโภคอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มเป็นหลัก สาเหตุ คือ ความเคยชิน ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ไม่มีเวลาในการประกอบอาหารเองจึงหาซื้ออาหารสำเร็จรูป รวมถึงขาดการออกกำลังกาย อีกทั้งการรับประทานยาอย่างไม่ต่อเนื่อง ขาดยา ไม่ไปพบแพทย์ตามนัด สูบบุหรี่และไม่สามารถปรับพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกหลักได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และมีความเครียดจากโรคที่เป็น ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตสูงได้ เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว ดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุมและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ให้สามารถควบคุมและป้องกันได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก มีผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง ปี 2563-2565 จำนวน 6,240 ราย 6,589 ราย และ 6,363 ราย ตามลำดับ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ปี 2563-2565 จำนวน 2,660 ราย 2,485 ราย และ 2,621 ราย ตามลำดับ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ปี 2563-2565 จำนวน 504 ราย 450 ราย และ 382 ราย ตามลำดับ ผู้ป่วยโรคไต ปี 2563-2565 จำนวน 671 ราย 768 ราย และ 746 ราย ตามลำดับ และมีผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ปี 2565 จำนวน 73 ราย อีกทั้งผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมารับการตรวจรักษาและรับยาที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 และ 2 จำนวน 500 ราย/สัปดาห์ (ในวันคลินิกเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 และ 2 ให้ความสำคัญและตระหนักในการดูแลสุขภาพ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ทำให้ลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ งานการพยาบาลชุมชน ร่วมกับ กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จึงได้จัดทำโครงการสถานีสุขภาพสัญจร ปลอดโรค Stroke ไตวาย และหัวใจ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ เกิดความตระหนักในการดูแลตนเองและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
  2. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องได้
  3. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. สถานีสุขภาพสัญจร ปลอดโรค Stroke ไตวาย และหัวใจ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการดูแลตนเองและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
  2. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้
  3. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. สถานีสุขภาพสัญจร ปลอดโรค Stroke ไตวาย และหัวใจ

วันที่ 16 มกราคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

กลุ่มเป้าหมาย
ชุมชน 4 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนอริศรา ชุมชนมัสยิดกลาง ชุมชนบือเร็งนอก ชุมชนทรายทอง
กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้ป่วยเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูงในชุมชนๆละ 30 คน คณะทำงาน 20 คน รวม 50 คน/ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม
สถานีที่ 1 คัดกรองสุขภาพ ทราบสถานะสุขภาพ โดย Application
คัดกรองสุขภาพ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิตสูง เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ประเมิน CVD Risk และคัดกรองบุหรี่ พร้อมทราบสถานะสุขภาพ โดย Application
สถานีที่ 2 เตือนภัยโรคร้ายใกล้ตัว
อบรมให้ความรู้ โดยแพทย์ และ พยาบาลเฉพาะทางอายุรกรรม ได้แก่ แพทย์อายุรกรรม แพทย์เฉพาะทางโรคไต พยาบาลเฉพาะทางสาขาโรคเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และ โรคไต
สถานีที่ 3 อาหารเฉพาะโรค (ลดหวาน มัน เค็ม)
แลกเปลี่ยนเรียนรู้อาหารเฉพาะโรค (ลดหวาน มัน เค็ม) โดยนักโภชนาการ
สถานีที่ 4 ยาสมุนไพรใคร่รู้
แลกเปลี่่ยนเรียนรู้การใช้ยาเฉพาะโรคที่ถูกวิธี ผลข้างเคียง และ การใช้ยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
แลกเปลี่่ยนเรียนรู้การใช้ยาสมุนไพรที่ถูกต้อง และ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาสมุนไพร
สถานีที่ 5 ออกกำลังกายสู้โรค
แลกเปลี่่ยนเรียนรู้การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับโรค โดยนักกายภาพบำบัด
สถานีที่ 6 วัดใจ ลดเครียด เลิกบุหรี่
คัดกรองความเครียด และ สอนการเลิกบุหรี่
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.01 - 11.30 น. ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าฐานและสถานี
11.31 - 12.00 น. ถอดบทเรียนสถานีสุขภาพสัญจร ปลอดโรค Stroke ไตวาย และ หัวใจ
งบประมาณ
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  6,000 บาท
ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม  14,400 บาท
ค่าวัสดุจัดทำป้ายไวนิล  1,200 บาท
ค่าวัสดุจัดทำป้ายไวนิล อาการเตือนภัย  2,400 บาท
ค่าจัดทำเส้นทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  2,400 บาท
ค่าวัสดุการทำอาหารสาธิตเฉพาะโรค  1,000 บาท
ค่าวัสดุอุปกรณ์  2,400 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ความรู้

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ เกิดความตระหนักในการดูแลตนเองและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรค อาการแสดง การปฏิบัติตัวและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
60.00 80.00

 

2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องได้
ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ร้อยละ 80
50.00 80.00

 

3 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้
ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีระดับระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตลดลงอยู่ในเกณฑ์ ร้อยละ 50
40.00 50.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ เกิดความตระหนักในการดูแลตนเองและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ (2) เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องได้ (3) เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) สถานีสุขภาพสัญจร ปลอดโรค Stroke ไตวาย และหัวใจ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการสถานีสุขภาพสัญจร ปลอดโรค Stroke ไตวาย และหัวใจ ประจำปี 2566 จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 66-L6961-1-14

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวอาซูรา เบ็ญจุฬามาศ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด