กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก


“ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ (วันผู้สูงอายุ) ปี 2566 ”

ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นางชนากานต์ คุณสุวรรณ์

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ (วันผู้สูงอายุ) ปี 2566

ที่อยู่ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 66-L6961-2-13 เลขที่ข้อตกลง 51/66

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ (วันผู้สูงอายุ) ปี 2566 จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ (วันผู้สูงอายุ) ปี 2566



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ (วันผู้สูงอายุ) ปี 2566 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ 66-L6961-2-13 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2566 - 31 พฤษภาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 46,200.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 300 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” โดยมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรทั้งหมดภาวะสูงอายุเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และจิตใจซึ่งอาจเกิดความอ่อนแอลง ตลอดจนมีความเจ็บป่วยหรือความพิการร่วมด้วยดังนั้นการรักษาสุขภาพเพื่อให้สมบูรณ์ จึงจำเป็นมากสำหรับผู้สูงอายุนอกจากนี้ยังต้องให้ความสำคัญในการดูแลทางด้านสุขภาพจิตควบคู่กันไปด้วยจากการศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพทางจิตของผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุที่มีสุขภาพจิตใจดีเป็นผู้ที่มีอารมณ์แจ่มใสมองโลกในแง่ดีเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความสงบร่มเย็นแก่ครอบครัวชุมชนและสังคมการที่ผู้สูงอายุจะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขนั้นต้องรักษาระดับกิจกรรมทางสังคมของตนไว้ให้มากซึ่งกิจกรรมที่ทำจะช่วยทำให้หายเหงาเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายอารมณ์สังคมและจิตใจและปรับเปลี่ยนบทบาทของตนในสังคมสามารถดำรงตนได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพรู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่ามีประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนของตนพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่นการทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำ และการตัดสินใจในระดับต่างๆทำให้ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในชีวิตของตน ตามมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติวันที่ 14 เมษายนของทุกปีเป็นวันครอบครัว และกำหนดให้มีการจัดกิจกรรมที่มีความสอดคล้องกับภารกิจ ของหน่วยงานการจัดงาน วันผู้สูงอายุจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สร้างความตระหนักในคุณค่าของผู้สูงอายุ และเกิดการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันในด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ
ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีจำนวนประชากรทุกช่วงอายุทั้งหมด 40,159 คน มีจำนวนผู้สูงอายุทั้งสิ้น (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) จำนวน 6,375 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 15.9 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก (ข้อมูลจำนวนประชากรเดือนกุมภาพันธ์ 2566) ซึ่งจากข้อมูลจะเห็นว่าเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว และทางชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก เป็นชมรมที่มีการดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งชมรมได้ตระหนักในเรื่องของการส่งเสริมการมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและการป้องกันตนเองจากโรคเรื้อรังต่างๆในผู้สูงอายุ
  2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างความเหมาะสม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ(วันผู้สูงอายุ)

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 300
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและการป้องกันตนเองจากโรคเรื้อรังต่างๆ
  2. ผู้สูงอายุมีการการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างความเหมาะสม

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ(วันผู้สูงอายุ)

วันที่ 1 เมษายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

กลุ่มเป้าหมาย
ผู้สูงอายุ 300 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. บรรยายให้ความรู้เรื่อง การดูแลสุขภาพผู้สูงวัยกับโรคเรื้อรัง โดยพยาบาลวิชาชีพ
2. ตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น สมาชิกชมรมผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วม
3. มอบรางวัลแก่ผู้สูงอายุสุขภาพดี
4. การแสดงความสามารถการออกกำลังกายของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ
5. พิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
กำหนดการ ดังนี้
08.30 - 09.00 น. ผู้สูงอายุลงทะเบียน และตรวจคัดกรองสุขภาพสมาชิกชมรมผู้สูงอายุเบื้องต้น โดยทีมพยาบาล ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ทันตกรรม สุขภาพจิต
09.01 - 09.30 น. พิธีเปิดโดย นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก กล่าวรายงานโดย ประธานชมรมผู้สูงอายุ
09.31 - 10.00 น. บรรยายพิเศษ การดูแลสุขภาพกับผู้สูงวัยโดย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
10.01 - 12.00 น. กิจกรรมการแสดงความสามารถของผู้สูงอายุ และพิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
12.01 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.01 - 15.00 น. บรรยายวิชาการเรื่อง การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อให้ปลอดภัยจากโรคโควิด-19 โดย นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก (วิทยากรบรรยาย)
15.01 - 16.00 น. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ / ปิดโครงการ
งบประมาณ
ค่าอาหารกลางวัน  18,000 บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  18,000 บาท
ค่าตอบแทนวิทยากร (บรรยาย)  1,200 บาท
ค่าดอกไม้  4,000 บาท
ค่าตอบแทนดนตรีไทย  3,500 บาท
ค่าตกแต่งสถานที่  1,500 บาท งบประมาณ  46,200 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ความรู้

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและการป้องกันตนเองจากโรคเรื้อรังต่างๆในผู้สูงอายุ
ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและการป้องกันตนเองจากโรคเรื้อรังต่างๆมากขึ้น
50.00 70.00

 

2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างความเหมาะสม
ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้สูงอายุมีการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างความเหมาะสมร้อยละ 80
50.00 80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 300
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 300
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและการป้องกันตนเองจากโรคเรื้อรังต่างๆในผู้สูงอายุ (2) เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างความเหมาะสม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ(วันผู้สูงอายุ)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ (วันผู้สูงอายุ) ปี 2566 จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 66-L6961-2-13

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางชนากานต์ คุณสุวรรณ์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด