กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละ


“ โครงการเด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข ”



หัวหน้าโครงการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละ

ชื่อโครงการ โครงการเด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข

ที่อยู่ จังหวัด

รหัสโครงการ 66-L039-002 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข " ดำเนินการในพื้นที่ รหัสโครงการ 66-L039-002 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 148,260.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อลดภาวะผอม ในเด็กอายุ 0-5 ปี

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมชี้แจงคณะทำงานและอาสาสมัครสาธารณสุข เกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินขึ้นในโครงการ “เด็กปุลากงสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข”
  2. เวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้ กลุ่มผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ เพื่อค้นหาสาเหตุ และระดมสมอง ความคิดเห็น ค้นหากิจกรรมหรือสิ่งที่ผู้ปกครองอยากให้ช่วยในการแก้ปัญหาร่วมกัน
  3. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรียนรู้ สู่การปฏิบัติ ในหัวข้อ “การดูแลเด็กน้อยทั้ง 4 ด้าน” ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กและครูประจำศูนย์เด็ก
  4. ส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและเด็กที่มีภาวะโลหิตจาง โดยการสนับสนุนอาหารเสริมที่อุดมด้วยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตคุณภาพสูง ยาเสริมธาตุเหล็ก เครื่องตรวจความเข้มข้นฮีโมลโกบิน(ฮีโมคิว) แก่เด็กที่เข้าร่วมโครงการ
  5. ปฏิบัติการ ติดตามและประเมินการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี
  6. จัดกิจกรรมถอดบทเรียน/ Focus group ในกลุ่มผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ และสรุปผลโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 32
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 76
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กได้รับการตรวจประเมินภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ และเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาได้รับการแก้ไข ทุกคน


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและเด็กที่มีภาวะโลหิตจาง โดยการสนับสนุนอาหารเสริมที่อุดมด้วยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตคุณภาพสูง ยาเสริมธาตุเหล็ก เครื่องตรวจความเข้มข้นฮีโมลโกบิน(ฮีโมคิว) แก่เด็กที่เข้าร่วมโครงการ

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและเด็กที่มีภาวะโลหิตจาง โดยการสนับสนุนอาหารเสริมที่อุดมด้วยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตคุณภาพสูง ยาเสริมธาตุเหล็ก เครื่องตรวจความเข้มข้นฮีโมโกลบิน(ฮีโมคิว)  แก่เด็กที่เข้าร่วมโครงการ คือ 1. การสนับสนุนไข่ไก่และนมกล่องแก่เด็กที่เข้าร่วมโครงการ 2. ตรวจความเข้มข้นฮีโมโกลบิน(ฮีโมคิว)ในกลุ่มเด็กที่มีภาวะซีด 3. มอบของรางวัลสำหรับเด็กที่มีภาวะโภชนาการดีขึ้นดีที่สุดในรอบ 3 เดือน 3 อันดับแรก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและเด็กที่มีภาวะโลหิตจาง ได้รับการสนับสนุนไข่ไก่และนมกล่องและได้รับการตรวจความเข้มข้นฮีโมโกลบิน(ฮีโมคิว)ในกลุ่มเด็กที่มีภาวะซีด

 

0 0

2. ปฏิบัติการ ติดตามและประเมินการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ปฏิบัติการ ติดตามและประเมินการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี โดยติดตามเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหาร คุณภาพของอาหาร น้ำหนัก ส่วนสูงของเด็กที่เปลี่ยนแปลงไป การได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐาน การติดตามเรื่องฟัน (ฟลูออไรด์วานิช) และการติดตามเจาะเลือดเพื่อประเมินภาวะซีด ซึ่งมีการติดตามทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือน (100 วัน) และหลังจากนั้นติดตาม 3 เดือน และ 6 เดือน  โดยมีการติดตามดังนี้ 1 ติดตามโดยอาสามัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตามละแวกรับผิดชอบ
- ติดตามชั่งน้ำหนักในเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำ (เด็กผอม) ทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือน (100 วัน) และหลังจากนั้นติดตาม 3 เดือน และ 6 เดือน - ติดตามชั่งน้ำหนักในเด็กที่มีความเสี่ยงต่อภาวะโภชนาการต่ำ (เด็กค่อนข้างผอม) ทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือน (100 วัน) และหลังจากนั้นติดตาม 3 เดือน และ 6 เดือน - ติดตามการรับประทานยาบำรุงในกลุ่มเด็กที่มีภาวะซีด (Dot FBC) ทุกวัน และติดตามเด็กเพื่อมาตรวจภาวะโลหิตจาง (เจาะ Hct) ทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือน (100 วัน) และหลังจากนั้นติดตาม 3 เดือน และ 6 เดือน - ติดตามการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ทุกเดือน - ติดตามเด็กมารับบริการทันตกรรม (ทาฟลูออไรด์วานิช) ทุก 3 เดือน 2 ติดตามโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข - ติดตามและประเมินผลภาวะทุพโภชนาการทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือน (100 วัน) และหลังจากนั้นติดตาม 3 เดือน และ 6 เดือน - ตรวจหาภาวะโลหิตจาง โดยการเจาะ Hct ทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือน (100 วัน) และหลังจากนั้นติดตาม 3 เดือน และ 6 เดือน - ให้บริการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ ทุกเดือน - ให้บริการทันตกรรม (ทาฟลูออไรด์วานิช) ทุก 3 เดือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีภาวะโภชนาการปกติ น้อยกว่าร้อยละ 90 และมีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ มากกว่า ร้อยละ 10 จะเห็นได้ว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการ เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีภาวะโภชนาการ อยู่ในเกณฑ์ผอม ค่อนข้างผอม และปกติ เท่ากับร้อยละ 46.87, 53.13, 0 ตามลำดับ ติดตามครั้งที่ 1 เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีภาวะโภชนาการ อยู่ในเกณฑ์ผอม ค่อนข้างผอม และปกติ เท่ากับร้อยละ 31.25, 25.00, 43.75 ตามลำดับ ตามลำดับ ติดตามครั้งที่ 2 เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีภาวะโภชนาการ อยู่ในเกณฑ์ผอม ค่อนข้างผอม และปกติ เท่ากับร้อยละ 9.37, 34.38, 56.25 ตามลำดับ ตามลำดับ ติดตามครั้งที่ 3 เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีภาวะโภชนาการ อยู่ในเกณฑ์ผอม ค่อนข้างผอม และปกติ เท่ากับร้อยละ 3.13, 21.87, 75.00 ตามลำดับ จากการเก็บข้อมูลจากแบบติดตามและประเมินภาวะทุพโภชนาการ ตามโครงการ เด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (ติดตามภาวะโภชนาการ  ภาวะซีด วัคซีน และฟลูออไรด์ ทุก 3 เดือน) พบว่า เด็กที่เข้าร่วมโครงการ อายุต่ำกว่า 6 ปี มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น แต่ยังไม่ผ่านตัวชี้วัด เพราะ เด็กมีการเจ็บป่วยบ่อย เลือกทานอาหารทำให้สัดส่วน ปริมาณโภชนาการในแต่ละวันไม่เพียงพอ และเด็กหลายรายอาศัยอยู่กับตายาย เนื่องจากผู้ปกครองต้องออกไปประกอบอาชีพต่างพื้นที่ การดูแลอาหารการกิน อาจไม่ได้คุณภาพนัก ด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่าง

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ มากกว่า ร้อยละ 60 จะเห็นได้ว่า กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 32 คน จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 96.88 และจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.12
จากการจากการเก็บข้อมูลจากแบบติดตามและประเมินภาวะทุพโภชนาการ ตามโครงการ เด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ( ติดตามภาวะโภชนาการ  ภาวะซีด วัคซีน และฟลูออไรด์ ทุก 3 เดือน) พบว่า เด็กส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ เพราะมีการติดตามจากเจ้าหน้าที่และอสม.ให้มารับบริการวัคซีนตามนัดอย่างต่อเนื่องและผู้ปกครองใส่ใจ ให้ความสำคัญกับการรับวัคซีนของบุตรหลาน

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีภาวะโลหิตจาง น้อยกว่าร้อยละ 40  จะเห็นได้ว่า กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 32 คน ก่อนเข้าร่วมโครงการ จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเข้มข้นฮีโมโกลบินปกติ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 62.50 และจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเข้มข้น ฮีโมโกลบินน้อย มีภาวะซีด จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 37.50
ตรวจความเข้มข้นฮีโมโกลบิน(ฮีโมคิว) สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซีด ครั้งที่ 1 จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 12 คน จากกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 32 คน จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเข้มข้นฮีโมโกลบินปกติ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 และจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเข้มข้นฮีโมโกลบินน้อย มีภาวะซีด จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 31.25
ตรวจความเข้มข้นฮีโมโกลบิน(ฮีโมคิว)สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซีด ครั้งที่ 2 จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 10 คน จากกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 32 คน จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเข้มข้นฮีโมโกลบินปกติ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 18.75 และจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเข้มข้นฮีโมโกลบินน้อย มีภาวะซีด จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 12.50 ตรวจความเข้มข้นฮีโมโกลบิน(ฮีโมคิว)สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซีด ครั้งที่ 3 จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 4 คน จากกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 32 คน จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเข้มข้นฮีโมโกลบินปกติ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 และจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเข้มข้นฮีโมโกลบินน้อย มีภาวะซีด จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 จากการเก็บข้อมูลจากแบบติดตามและประเมินภาวะทุพโภชนาการ ตามโครงการ เด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (ติดตามภาวะโภชนาการ  ภาวะซีด วัคซีน และฟลูออไรด์ ทุก 3 เดือน) พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีภาวะโลหิตจาง น้อยกว่าร้อยละ 40 เพราะ กรณีเด็กซีดก็จะมีการจ่ายยาเสริมธาตุเหล็กและนัดเจาะเลือดตรวจภาวะซีดซ้ำ เด็กได้รับยาเสริมธาตุเหล็กอย่างต่อเนื่อง ผู้ปกครองมีความรู้และจัดทำเมนูอาหารที่เสริมธาตุเหล็ก

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีฟันผุ มากกว่าร้อยละ 40 จะเห็นได้ว่า กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 32 คน ก่อนเข้าร่วมโครงการ จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีฟันไม่ผุ 20 คน คิดเป็นร้อยละ 62.50 และจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีฟันผุ 12 คน คิดเป็นร้อยละ 37.50
        ติดตาม 3 เดือน หลังได้รับการเคลือบฟลูออไรด์ จำนวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 32 คน มีจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีฟันไม่ผุ 17 คน คิดเป็นร้อยละ 53.13 และจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีฟันผุ 15 คน คิดเป็นร้อยละ 46.87 จากการเก็บข้อมูลจากแบบติดตามและประเมินภาวะทุพโภชนาการ ตามโครงการ เด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (ติดตามภาวะโภชนาการ  ภาวะซีด วัคซีน และฟลูออไรด์ ทุก 3 เดือน) พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีฟันผุ มากกว่าร้อยละ 40 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 46.87 เพราะ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่ได้แปรงฟันให้เด็กทุกวัน และบางรายเด็กก็ไม่ยอมให้แปรงและไม่ให้ความร่วมมือ ทำให้แปรงฟันไม่สะอาด ไม่ทั่วถึง ฟันไม่สะอาด เกิดฟันผุเพิ่มขึ้น

 

0 0

3. จัดกิจกรรมถอดบทเรียน/ Focus group ในกลุ่มผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ และสรุปผลโครงการ

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดการจัดกิจกรรม จัดกิจกรรมถอดบทเรียน/ Focus group ในกลุ่มผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ตาม โครงการเด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข ตำบลตะโละ ปี 2566  วันที่ 12 เดือน เมษายน พ.ศ. 2566  ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละ กลุ่มเป้าหมาย ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก  จำนวน 32 คน

เวลา                    รายการ

เวลา 08.30 -  09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรม จัดกิจกรรมถอดบทเรียน/ Focus group ในกลุ่มผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ตามโครงการเด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข เวลา 09.00 - 09.30  น. พิธีเปิด ( โดย : นายอับดุลฮาเล็ม  เบ็ญราซัค  ผอ.รพ.สต.ตะโละ ) เวลา 09.30 - 10.30  น. ชี้แจงกลุ่มเด็กที่น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้นหรือเพิ่มขึ้นไม่ตามเกณฑ์ พร้อมสอบถามผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก เรื่องการรับประทานอาหารของเด็ก ปัญหาสุขภาพของเด็ก เวลา 10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.45 – 12.00 น. ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก ของเด็กที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ นำเสนอ พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มีการเสนอแนะการดูแลเรื่องโภชนาการของเด็กร่วมกันเปิดโอกาสซักถาม - ตอบคำถาม พิธีปิด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เด็กได้รับการตรวจประเมินภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ และเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาได้รับการแก้ไข ทุกคน

 

0 0

4. ประชุมชี้แจงคณะทำงานและอาสาสมัครสาธารณสุข เกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินขึ้นในโครงการ “เด็กปุลากงสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข”

วันที่ 31 มกราคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดการจัดกิจกรรม ประชุมชี้แจงคณะทำงานและอาสาสมัครสาธารณสุข เกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินขึ้นในโครงการ “เด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข” ตำบลตะโละ ปี 2566 วันที่ 31 เดือน มกราคม พ.ศ. 2566 ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละ กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข  จำนวน 42 คน เวลา รายการ เวลา 08.30 -  09.00 น.   ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ประชุมชี้แจงคณะทำงานและอาสาสมัครสาธารณสุข เกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินขึ้นในโครงการ “เด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข”
เวลา 09.00 - 09.30  น.   พิธีเปิด/ชี้แจงปัญหาสุขภาพเด็ก ในตำบลตะโละ แยกเป็นรายหมู่บ้าน พร้อมกับ ชี้แจงแนวทางและความเป็นมาของโครงการ ( โดย : นายอับดุลฮาเล็ม  เบ็ญราซัค  ผอ.รพ.สต..ตะโละ ) เวลา 09.30 - 10.00  น.   เปิดโอกาสให้เสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาในแต่ละหมู่บ้าน เวลา 10.00 – 10.30 น.   พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.30 – 11.30 น.   แจ้งกลุ่มเป้าหมายเด็กที่เข้าร่วมโครงการแก่อสม.ผู้รับผิดชอบในแต่ละละแวก ( โดย : นางเซาวียะห์  บาราเฮง  จพ.สาธารณสุขชำนาญงาน ) เวลา 11.30 – 12.00 น.   เปิดโอกาสซักถาม – ตอบคำถาม/พิธีปิด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อสร้างอสม.นักจัดการแก้ไขปัญหาและพัฒนาภาวะโภชนาการในตำบลตะโละ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ตัวชี้วัดข้อที่ 1 :         อสม.นักจัดการแก้ไขปัญหาและพัฒนาภาวะโภชนาการในตำบลตะโละ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100 ผลการดำเนินงาน : จำนวนกลุ่มเป้าหมายอสม.ทั้งหมด 42 คน เข้าร่วมโครงการ 42 คน คิดเป็นร้อยละ 100 สรุปผลการดำเนินงาน : จากตัวชี้วัดข้อที่ 1 ถือว่าผ่านตัวชี้วัด เนื่องจากจำนวนอสม.ที่เข้าร่วมโครงการ 42 คน จากจำนวนอสม.ทั้งหมด 42 คน คิดเป็นร้อยละ100 โดยอสม.ดังกล่าว ได้ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรียนรู้ สู่การปฏิบัติ ในหัวข้อ “การดูแลเด็กน้อยทั้ง 4 ด้าน” คือ
        1. ความรู้โภชนศาสตร์ในเด็กเล็ก 2. สาธิตเมนูอาหารเพื่อพัฒนาโภชนาการ และเมนูลดภาวะซีด 3. “วัคซีน”ภูมิคุ้มกันลูกน้อย  4. หนูน้อยฟันดี (สอนและปฏิบัติ)
        และมีหน้าที่ติดตามกลุ่มเป้าหมาย ตามละแวกรับผิดชอบ ดังนี้
1. ติดตามชั่งน้ำหนักในเด็กที่มีความเสี่ยงต่อภาวะโภชนาการต่ำ (เด็กค่อนข้างผอม) ทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือน (100 วัน) และหลังจากนั้นติดตาม 3 เดือน และ 6 เดือน 2. ติดตามการรับประทานยาบำรุงในกลุ่มเด็กที่มีภาวะซีด (Dot FBC) ทุกวัน และติดตามเด็กเพื่อมาตรวจภาวะโลหิตจาง (เจาะ Hct) ทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือน (100 วัน) และหลังจากนั้นติดตาม 3 เดือน และ 6 เดือน 3. ติดตามการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ทุกเดือน 4. ติดตามเด็กมารับบริการทันตกรรม (ทาฟลูออไรด์วานิช) ทุก 3 เดือน ซึ่งแสดงว่าให้เห็นว่า อสม.ดังกล่าวสามารถเป็นนักจัดการแก้ไขปัญหาและพัฒนาภาวะโภชนาการในตำบลตะโละได้

 

0 0

5. เวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้ กลุ่มผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ เพื่อค้นหาสาเหตุ และระดมสมอง ความคิดเห็น ค้นหากิจกรรมหรือสิ่งที่ผู้ปกครองอยากให้ช่วยในการแก้ปัญหาร่วมกัน

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดการจัดกิจกรรม จัดเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้ กลุ่มผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ เพื่อค้นหาสาเหตุ และระดมสมอง แนวคิด ค้นหากิจกรรมหรือสิ่งที่ผู้ปกครองอยากให้ช่วยในการแก้ปัญหาร่วมกัน ตาม  โครงการเด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข ตำบลตะโละ ปี 2566 วันที่ 6 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก  จำนวน 32 คน

เวลา                    รายการ

เวลา 08.30 -  09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรม จัดเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้ กลุ่มผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ เพื่อค้นหาสาเหตุ และระดมสมอง แนวคิด ค้นหากิจกรรมหรือสิ่งที่ผู้ปกครองอยากให้ช่วยในการแก้ปัญหาร่วมกัน ตามโครงการเด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข เวลา 09.00 - 09.30  น. พิธีเปิด/ชี้แจงแนวทางและความเป็นมาของโครงการ ( โดย : นายมูฮัมหมัด  มามะ  นายก อบต.ตะโละ ) เวลา 09.30 - 10.30  น. แบ่งกลุ่มผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก และให้แต่ละกลุ่มร่วมกันระดมความคิด ในหัวข้อ “สาเหตุที่ทำให้เด็กตัวเล็ก และวิธีการแก้ปัญหา” เวลา 10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.45 – 12.00 น. แต่ละกลุ่มร่วมกันระดมความคิด ในหัวข้อ “สาเหตุที่ทำให้เด็กตัวเล็ก และวิธีการแก้ปัญหา”(ต่อ) เวลา 12.00 – 13.00 น. ร่วมรับประทานอาหาร และปฏิบัติศาสนกิจ(ละหมาด) เวลา 13.00 – 15.00 น. ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอ หัวข้อ “สาเหตุที่ทำให้เด็กตัวเล็ก และวิธีการแก้ปัญหา”    ที่ร่วมกันระดมความคิด เวลา 15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
เวลา 15.15 – 16.15 น. ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอ หัวข้อ “สาเหตุที่ทำให้เด็กตัวเล็ก และวิธีการแก้ปัญหา”    ที่ร่วมกันระดมความคิด (ต่อ) เวลา 16.15 – 16.15 น. เปิดโอกาสซักถาม - ตอบคำถาม เวลา 16.15 – 16.30 น. พิธีปิด


หมายเหตุ : กำหนดการอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม สาเหตุที่ทำให้เด็กมีภาวะทุพโภชนาการ - ผู้ปกครองขาดความรู้เรื่องโภชนาการในเด็กที่ถูกต้อง - ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลบุตร - พักผ่อนไม่เพียงพอ
- ฟันผุ - เจ็บป่วยบ่อย - รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ขนมกรุบกรอบ ช็อกโกแลต ไอศกรีม เป็นต้น วิธีการแก้ปัญหา - ผู้ปกครองต้องการเรียนรู้เรื่องโภชนาการ วิธีการดูแลเด็ก ที่ถูกต้อง - ผู้ปกครองต้องแบ่งเวลาในการดูแลบุตร - พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้บุตรรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์
- จัดการเวลาให้กับลูก เวลารับประทานอาหาร เวลานอน - เสริมกำลังใจลูก และบอกคุณประโยชน์ของอาหาร ถึงแม้สิ่งนั้นลูกไม่ชอบ

 

0 0

6. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรียนรู้ สู่การปฏิบัติ ในหัวข้อ “การดูแลเด็กน้อยทั้ง 4 ด้าน” ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กและครูประจำศูนย์เด็ก

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดการจัดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ เรียนรู้ สู่การปฏิบัติ ในหัวข้อ “การดูแลเด็กน้อยทั้ง 4 ด้าน” ตาม  โครงการเด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข ตำบลตะโละ ปี 2566 วันที่ 10 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละ กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก และครูประจำศูนย์เด็ก จำนวน 50 คน เวลา รายการ เวลา 08.30 -  09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ เรียนรู้ สู่การปฏิบัติ ในหัวข้อ “การดูแลเด็กน้อยทั้ง 4 ด้าน” ตามโครงการเด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข เวลา 09.00 - 09.30  น. พิธีเปิด/ชี้แจงแนวทางและความเป็นมาของโครงการ ( โดย : นายมูฮัมหมัด  มามะ  นายก อบต.ตะโละ ) เวลา 09.30 - 10.30  น. บรรยายเรื่อง : โภชนศาสตร์ในเด็กเล็ก
( โดย : นางสาวซูไรยา  กามา  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ) เวลา 10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.45 – 12.00 น. สาธิตเมนูอาหารเพื่อพัฒนาโภชนาการ และเมนูลดภาวะซีด
( โดย : นางสาวสุไรยา ดือเระ นักโภชนาการ ) เวลา 12.00 – 13.00 น. ร่วมรับประทานอาหาร และปฏิบัติศาสนกิจ(ละหมาด) เวลา 13.00 – 15.00 น. บรรยายเรื่อง : “วัคซีน”ภูมิคุ้มกันลูกน้อย ( โดย : นางสาวซูไรยา  กามา  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ) เวลา 15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
เวลา 15.15 – 16.15 น. บรรยายเรื่อง : หนูน้อยฟันดี (สอนและปฏิบัติ) ( โดย : นางสาวคอรีเยาะ  หะยีนาแว  จพ.ทันตสาธารณสุขชำนาญงาน ) เวลา 16.15 – 16.15 น. เปิดโอกาสซักถาม - ตอบคำถาม เวลา 16.15 – 16.30 น. พิธีปิด หมายเหตุ : กำหนดการอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้ปกครองที่บุตรมีภาวะทุพโภชนาการมีความรู้และทักษะในการจัดการแก้ไขปัญหาเรื่องการรับประทานอาหารของเด็กเพิ่มขึ้น จากการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็ก จะเห็นได้ว่า
ก่อนให้ความรู้ผู้ปกครอง มีคะแนนความรู้อยู่ในระดับปรับปรุง ปานกลาง และดี เท่ากับร้อยละ 0, 93.75, 6.25 ตามลำดับ หลังให้ความรู้ครั้งที่ 1 มีคะแนนความรู้อยู่ในระดับปรับปรุง ปานกลาง และดี เท่ากับร้อยละ 0, 81.25, 18.75 ตามลำดับ หลังให้ความรู้ครั้งที่ 2 มีคะแนนความรู้อยู่ในระดับปรับปรุง ปานกลาง และดี เท่ากับร้อยละ 0, 28.13, 71.87 ตามลำดับ หลังให้ความรู้ครั้งที่ 2 มีคะแนนความรู้อยู่ในระดับปรับปรุง ปานกลาง และดี เท่ากับร้อยละ 0, 28.13, 71.87 ตามลำดับ หลังให้ความรู้ครั้งที่ 3
มีคะแนนความรู้อยู่ในระดับปรับปรุง ปานกลาง และดี เท่ากับร้อยละ 0, 28.13, 71.87 ตามลำดับ ก่อนให้ความรู้ผู้ปกครอง มีคะแนนพฤติกรรมอยู่ในระดับปรับปรุง ปานกลาง ดี และดีมาก เท่ากับร้อยละ 0, 46.88, 31.25, 21.8 ตามลำดับ หลังให้ความรู้ครั้งที่ 1 มีคะแนนพฤติกรรมอยู่ในระดับปรับปรุง ปานกลาง ดี และดีมาก เท่ากับร้อยละ 0, 40.62, 31.25, 28.13 ตามลำดับ หลังให้ความรู้ครั้งที่ 2 มีคะแนนพฤติกรรมอยู่ในระดับปรับปรุง ปานกลาง ดี และดีมาก เท่ากับร้อยละ 0, 21.88, 37.50, 40.62 ตามลำดับ หลังให้ความรู้ครั้งที่ 3 มีคะแนนพฤติกรรมอยู่ในระดับปรับปรุง ปานกลาง ดี และดีมาก เท่ากับร้อยละ 0, 15.62, 21.88, 62.50 ตามลำดับ จากการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามความรู้การบริโภคอาหารของเด็กทั้ง 4 ครั้ง พบว่า ผู้ปกครองมีความรู้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 68.75, 84.37, 34.37 ลำดับ เพราะ มีการติดตามเสริมความรู้โดยเจ้าหน้าที่และอสม.อย่างต่อเนื่อง

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลดภาวะผอม ในเด็กอายุ 0-5 ปี
ตัวชี้วัด : ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม
10.00 100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 108
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 32
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 76
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดภาวะผอม ในเด็กอายุ 0-5 ปี

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมชี้แจงคณะทำงานและอาสาสมัครสาธารณสุข เกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินขึ้นในโครงการ “เด็กปุลากงสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข” (2) เวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้ กลุ่มผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ เพื่อค้นหาสาเหตุ และระดมสมอง ความคิดเห็น ค้นหากิจกรรมหรือสิ่งที่ผู้ปกครองอยากให้ช่วยในการแก้ปัญหาร่วมกัน (3) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรียนรู้ สู่การปฏิบัติ ในหัวข้อ “การดูแลเด็กน้อยทั้ง 4 ด้าน” ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กและครูประจำศูนย์เด็ก (4) ส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและเด็กที่มีภาวะโลหิตจาง โดยการสนับสนุนอาหารเสริมที่อุดมด้วยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตคุณภาพสูง ยาเสริมธาตุเหล็ก เครื่องตรวจความเข้มข้นฮีโมลโกบิน(ฮีโมคิว)  แก่เด็กที่เข้าร่วมโครงการ (5) ปฏิบัติการ ติดตามและประเมินการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี (6) จัดกิจกรรมถอดบทเรียน/ Focus group ในกลุ่มผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ และสรุปผลโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการเด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข จังหวัด

รหัสโครงการ 66-L039-002

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด