กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามมุมประสบการณ์ภายใต้แนวคิดไฮสโคป โรงเรียนบ้านควนหมอทอง ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L3312-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านควนหมอทอง
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 ธันวาคม 2565 - 1 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 8,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเยาวนุช หละเขียว
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านควนหมอทอง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 27 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กปฐมวัยโรงเรียนบ้านควนหมอทองร้อยละ 18 มีพัฒนาการล่าช้า
18.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาพัฒนาการเด็กเป็นปัญหาสำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการของชีวิต โดยพบว่า การพัฒนาเด็กปฐมวัยหรือเด็กวัย 0-8 ปี เป็นช่วงที่สมองกำลังมีการพัฒนาการที่ครอบคลุมถึงพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ และจิตใจการพัฒนาความรู้ความเข้าใจและการเคลื่อนไหว ซึ่งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และประสาทวิทยาจากการวิจัยชี้ว่า เด็กที่ไม่ได้รับการแก้ไขพัฒนาการที่ผิดปกติตั้งแต่แรกจะเป็นภาระต่อสังคมในระยะยาวต่อไปด้วย ทั้งนี้ สถานการณ์ระดับสุขภาวะ การเรียนรู้ และพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในไทยยังคงเป็นปัญหาอยู่มาก จากการสุ่มสำรวจ ปี 2564 พบว่า 1 ใน 4 ของเด็กทุกช่วงวัยมีพัฒนาการสงสัยว่าล่าช้า โดยพัฒนาการด้านที่ล่าช้าที่พบมากในเด็กปฐมวัย คือ พัฒนาการด้านภาษาและการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสติปัญญา โรงเรียนบ้านควนหมอทองมีเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 2 และอนุบาล 3 ทั้งหมด 27 คน จากการสังเกตในการทำกิจกรรมต่าง ๆของเด็กพบว่าส่วนใหญ่มีพัฒนาการสมวัย แต่ยังมีเด็กส่วนหนึ่งที่ยังคงมีพัฒนาการล่าช้าทั้งพัฒนาการด้านภาษาและการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก เด็กมีภาวะสมาธิสั้น จดจ่ออยู่กับสิ่งใดไม่ได้นาน จำนวน 5 คน โดยคิดเป็นร้อยละ 18.51 ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่า การเล่นจะเป็นตัวช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ทุกด้าน เช่น ของเล่นช่วยกระตุ้นความสนใจและความอยากรู้อยากเห็น ช่วยตอบสนองความต้องการในการทำกิจกรรมต่างๆ ของเล่นทำให้เด็กได้แสดงความรู้สึกนึกคิดอย่างอิสระ ของเล่นช่วยหล่อหลอมบุคลิกลักษณะพื้นฐานที่ดีให้แก่เด็ก นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาให้เด็กสามารถเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ การเล่นตามมุมประสบการณ์ภายใต้แนวคิดไฮสโคปเป็นการเล่นที่ให้เด็กปฐมวัยได้มีอิสระในการเลือกเล่นตามมุมประสบการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมุมดนตรี มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมอาชีพ หรือมุมต่าง ๆ ที่คุณครูได้จัดเตรียมไว้ให้ แต่จะแตกต่างกับการเล่นกิจกรรมเสรีอื่นตรงที่ต้องมีการจัดกิจกรรมให้เด็กสามารถเล่นแบบมีแบบแผนด้วยตัวเองมากขึ้นโรงเรียนบ้านควนหมอทองจึงได้จัดทำโครงการเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามมุมประสบการณ์ภายใต้แนวคิดไฮสโคป ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เด็กปฐมวัย มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาเหมาะสมตามวัย

1.เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาเหมาะสมตามวัย ร้อยละ 90

30.00 1.00
2 เด็กปฐมวัยมีทักษะด้านการเล่น

เด็กปฐมวัยมีทักษะด้านการเล่นร้อยละ 90

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 8,000.00 2 8,000.00
2 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดหาของเล่นให้เหมาะสมกับมุมประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย 0 6,090.00 6,090.00
2 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมตามมุมประสบการณ์เพื่อสร้างพัฒนาการแก่เด็กปฐมวัย 0 1,910.00 1,910.00
2 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ติดตามและประเมินผลการเล่นของเด็ก 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กปฐมวัยโรงเรียนบ้านควนหมอทองมีของเล่นที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับวัย
2.เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาเหมาะสมตามวัย
3. เด็กปฐมวัยมีทักษะต่าง ๆและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2565 15:02 น.