กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการขยะมูลฝอย 1 ธ.ค. 2565 1 ธ.ค. 2565

 

  • แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการขยะมูลฝอยในหมู่บ้าน/ชุมชนและประชุมหาแนวทางการปฏิบัติในชุมชน/จัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน

 

ผลผลิต
- มีคณะกรรมการขยะมูลฝอยในหมู่บ้าน/ชุมชน ผลลัพธ์ - ครัวเรือนในหมู่บ้าน/ชุมชนมีแนวทางปฏิบัติในการจัดการขยะมูลฝอยเป็นแนวทางเดียวกัน

 

จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่แกนนำ 24 ม.ค. 2566 24 ม.ค. 2566

 

  • จัดอบรมให้ความรู้การจัดการขยะในครัวเรือนและการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนให้แก่ตัวแกนนำ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม) และมอบถังขยะเปียกลดโลกร้อนแก่ครัวเรือนต้นแบบ

 

ผลผลิต
- แกนนำมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและสามารถนำไปถ่ายทอดให้แก่ครัวเรือนใกล้เคียงและครัวเรือนที่รับผิดชอบได้ ผลลัพธ์ - มีเครือข่ายการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน สามารถลดปริมาณขยะและจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน

 

รณรงค์ประชาสัมพันธ์ 7 ก.พ. 2566 7 ก.พ. 2566

 

  • ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน ด้วยหลัก 3RS และการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน

 

ผลผลิต
- ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะในครัวเรือน ด้วยหลัก 3RS และการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ผลลัพธ์ - ประชาชนมีความรู้ สามารถจัดการขยะมูลฝอยถูกวิธี สามารถลดปริมาณขยะในครัวเรือน และสามารถนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ลดค่าใช้จ่าย

 

เคาะประตูบ้าน 1 มี.ค. 2566 1 มี.ค. 2566

 

  • ขอความร่วมมือครัวเรือนในเขตรับผิดชอบจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน โดยประสานอาสาสมัครสาธารณสุขให้สำรวจครัวเรือนในความรับผิดชอบและแจ้งความประสงค์ขอรับถังขยะเปียกลดโลกร้อน เพื่อเป็นครัวเรือนต้นแบบ
  • จัดให่พนักงานลงพื้นที่ช่วยเหลือครัวเรือนที่ไม่สามารถดำเนินจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนได้ด้วยตนเอง
  • ลงพื้นที่ทวนสอบครัวเรือนที่จัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน

 

ผลผลิต
- มีครัวเรือนต้นแบบในการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน
ผลลัพธ์
- ขยะอินทรีย์ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธี