กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเจาะเลือดตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร ปีงบประมาณ พ.ศ.2566
รหัสโครงการ 66-L2490-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอ
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 พฤศจิกายน 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 41,332.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรัญญา หะยีแสนูสี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 28 เม.ย. 2566 28 เม.ย. 2566 41,332.00
รวมงบประมาณ 41,332.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จากผลการคัดกรองภาวะเสี่ยงในเกษตรกรที่ใช้สารเคมี โดยแบบคัดกรอง พบว่าจำนวนกลุ่มเสี่ยง 70 คน ผลการตรวจเลือดระดับปกติ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.85 ระดับปลอดภัยจำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 34.28 ระดับมีความเสี่ยงจำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 50.0 และระดับไม่ปลอดภัย
62.85

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ คือจะไปทำลาย อวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้ สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอเป็นประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ใน การเกษตรมากถึงร้อยละ80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวนยางปลูกพืชผักผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง จากผลการคัดกรองภาวะเสี่ยงในเกษตรกรที่ใช้สารเคมี โดยแบบคัดกรอง พบว่าจำนวนกลุ่มเสี่ยง 70 คน ผลการตรวจเลือดระดับปกติ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.9 ระดับปลอดภัยจำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 34.3 ระดับมีความเสี่ยงจำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 50.0 และระดับไม่ปลอดภัย จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 12.8 (ข้อมูลจากการตรวจเลือดหาสารเคมีใน เกษตรกรปี2563) จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภพตำบลกะลุวอ ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอ จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกร จึงได้จัดทำโครงการเจาะเลือดตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด เพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองหาสารเคมีในเลือด

เกษตรกรมีผลเลือดระดับปกติและปลอดภัย ร้อยละ 70

40.00 70.00
2 เพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้องในการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร

เกษตรกรมีพฤติกรรมการป้องกันการใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยร้อยละ 80

40.00 80.00
3 เพื่อป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากสารเคมีทางการเกษตร

ลดการเกิดโรคเเละภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากสารเคมีร้อยละ 70

40.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองหาสารเคมีในเลือด

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้องในการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากสารเคมีทางการเกษตร

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

16 พ.ย. 65 - 30 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเกษตรกร 36,150.00 -
16 พ.ย. 65 - 30 ก.ย. 66 จัดกิจกรรมตรวจหาสารเคมีในเกษตรกรหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่าง บ้านรอตันบาตู 5,182.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรกรมีความรู้ในการปลูกพืชปลอดสารพิษ และวิธีการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง
  2. ลดการเกิดโรคเเละภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการใช้สารเคมี
  3. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีผลเลือดระดับปกติและปลอดภัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2565 00:00 น.