กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการบริหารจัดการกองทุนและพัฒนาระบบการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพ เทศบาลเมืองกันตัง ปี 2566 ”

ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง

ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนและพัฒนาระบบการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพ เทศบาลเมืองกันตัง ปี 2566

ที่อยู่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 66-L6895-04-01 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการบริหารจัดการกองทุนและพัฒนาระบบการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพ เทศบาลเมืองกันตัง ปี 2566 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการบริหารจัดการกองทุนและพัฒนาระบบการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพ เทศบาลเมืองกันตัง ปี 2566



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการบริหารจัดการกองทุนและพัฒนาระบบการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพ เทศบาลเมืองกันตัง ปี 2566 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 66-L6895-04-01 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 156,980.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ได้มีประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับบุคคลในพื้นที่ ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นและกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาล ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ ที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพต่อการดำรงชีวิตในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่ง พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พุทธศักราช 2550 โดยเน้นการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับประชาชนทุกคน ซึ่งกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการในกลุ่มเป้าหมายจะต้องผ่านการเห็นชอบ จากคณะกรรมการบริหารกองทุนสุขภาพที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้น และการพิจารณางบประมาณต่าง ๆ นั้น สามารถสนับสนุนกิจกรรมใน 6 ลักษณะ คือ 1. สนับสนุนหน่วยบริการหรือสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ 2. การสร้างเสริมสุขภาพโดยประชาชนและชุมชนท้องถิ่น/หน่วยงานอื่น 3. การสนับสนุนการดูแลเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
4. การบริหารจัดการกองทุน/พัฒนาศักยภาพกรรมการและพัฒนาระบบบริหารจัดการ 5. กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ 6. การสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เทศบาลเมืองกันตังได้เข้าร่วมดำเนินการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นในปี พ.ศ. 2551 มีการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน และกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนสุขภาพฯ และยังมีความจำเป็นในการพัฒนาและเสริมศักยภาพในการดำเนินงานกองทุนสุขภาพฯ สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น เทศบาลเมืองกันตัง มีหน้าที่ในการให้การสนับสนุนทรัพยากรการบริหารจัดการ การพัฒนามาตรฐานแบบบริหารจัดการงานสารบรรณรวมทั้งการพัฒนาระบบบริหารจัดการงานการเงินและบัญชี งานพัสดุ การบริหารงบประมาณ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารทรัพยากรด้านบุคลากร ตลอดจนการติดตามควบคุมกำกับ ประเมินผลการ ดำเนินงานของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น และกลุ่มหรือองค์กรประชาชน ซึ่งหน่วยงานสนับสนุนจำเป็นจะต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ทันเวลาและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น เทศบาลเมืองกันตัง จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการฯ ขึ้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น เทศบาลเมืองกันตัง และเพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองกันตัง ต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาสุขภาพประชาชนแก่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และภาคีเครือข่ายสุขภาพต่างๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน องค์กร/หน่วยงาน ชุมชน ชมรมต่าง ๆ เป็นต้น
  2. เพื่อเสริมศักยภาพการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  3. เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของกองทุนสุขภาพฯ ให้มีประสิทธิภาพ
  4. เพื่อกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กำหนดมาตรฐานและโครงสร้าง สนง.เลขานุการกองทุนสุขภาพฯ
  2. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  3. ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ จำนวน 4 ครั้ง
  4. ค่าเอกสารประกอบการประชุม
  5. ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จำนวน 4 ครั้ง
  6. ค่าตอบแทนหน่วยงาน/กลุ่ม/ชมรม/ชุมชนที่เข้าร่วมประชุมเสนอแผนงานโครงการ/รายงานผลฯ
  7. ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC จำนวน 2 ครั้ง
  8. กิจกรรมประชุมพัฒนาศักยภาพ
  9. ประชุมคณะทำงานติดตามประเมินผลกองทุนฯ จำนวน 4 ครั้ง
  10. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนสุขภาพ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. กระบวนการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล
  2. แผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
  3. การรับเงินการจ่ายเงินการเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
  4. คณะกรรมการฯ สามารถเข้าใจในแนวทางบริหารกองทุนฯ สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. เกิดการดำเนินงานอย่างบูรณาการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร หน่วยงาน ชุมชนชมรมต่างๆ ให้มีความเข้มแข็ง
  6. มีแผนสุขภาพ/แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ของกองทุนสุขภาพฯ เพื่อใช้เป็นแนวทางบริหารกองทุนฯ

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กำหนดมาตรฐานและโครงสร้าง สนง.เลขานุการกองทุนสุขภาพฯ

วันที่ 3 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน เช่น วัสดุคอมพิวเตอร์ วัสดุสำนักงาน เป็นต้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กำหนดมาตรฐานและโครงสร้าง สนง.เลขานุการกองทุนสุขภาพฯ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน  6,000  บาท - ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์  เป็นเงิน  11,200  บาท - ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ค่าคู่มือปฏิบัติงานกองทุนฯ) เป็นเงิน  2,025  บาท

 

0 0

2. ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ จำนวน 4 ครั้ง

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ  จำนวน  3  ครั้ง ดังนี้ - ครั้งที่ 1 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 มีผู้มาประชุม 8 คน - ครั้งที่ 2 วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 มีผู้มาประชุม 9 คน - ครั้งที่ 3 วันที่ 31 สิงหาคม 2566 มีผู้มาประชุม 8 คน

 

10 0

3. ค่าเอกสารประกอบการประชุม

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ถ่ายเอกสารประกอบการประชุมคณะทำงานติดตามประเมินผล/คณะอนุกรรมการกองทุนฯ/คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ/คณะอนุกรรมการ LTC

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ค่าเอกสารประกอบการประชุม

 

0 0

4. ค่าตอบแทนหน่วยงาน/กลุ่ม/ชมรม/ชุมชนที่เข้าร่วมประชุมเสนอแผนงานโครงการ/รายงานผลฯ

วันที่ 6 ธันวาคม 2565 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ค่าตอบแทนหน่วยงาน/กลุ่ม/ชมรม/ชุมชนที่เข้าร่วมประชุมเสนอแผนงานโครงการ/ รายงานผลฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ค่าตอบแทนหน่วยงาน/กลุ่ม/ชมรม/ชุมชนที่เข้าร่วมประชุมเสนอแผนงานโครงการ/ รายงานผลฯ

 

26 0

5. ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จำนวน 4 ครั้ง

วันที่ 6 ธันวาคม 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จำนวน 4 ครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จำนวน 4 ครั้ง ดังนี้ - ครั้งที่ 1 วันที่ 6 ธันวาคม 2565 มีผู้มาประชุม 16 คน - ครั้งที่ 2 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 มีผู้มาประชุม 21 คน - ครั้งที่ 3 วันที่ 9 มิถุนายน 2566 มีผู้มาประชุม 18 คน - ครั้งที่ 4 วันที่ 13 กันยายน 2566 มีผู้มาประชุม 19 คน

 

21 0

6. ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC จำนวน 2 ครั้ง

วันที่ 22 ธันวาคม 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC จำนวน 2 ครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้ - ครั้งที่ 1 วันที่ 22 ธันวาคม 2565 มีผู้มาประชุม 10 คน - ครั้งที่ 2 วันที่ 14 กันยายน 2566 มีผู้มาประชุม 10 คน

 

10 0

7. กิจกรรมประชุมพัฒนาศักยภาพ

วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

13.00 - 13.10 น. ลงทะเบียน
13.10 - 14.10 น. บรรยายเรื่อง  บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพโดย  วิทยากรจากเทศบาลนครตรัง 14.10 – 14.20 น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.20 – 1๖.20 น. บรรยายเรื่อง  แนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ปี 2567  และแนวทางการดำเนินงานกองทุน LTC ปี 2567  โดย  วิทยากรจากเทศบาลนครตรัง 16.20 - 16.๓๐ น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้/ประเมินความพึงพอใจ/อภิปรายผล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดกิจกรรมประชุมพัฒนาศักยภาพแก่คณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการกองทุน/คณะทำงานติดตามประเมินผล/คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง  เมื่อวันที่  21  กรกฎาคม  2566  ณ  ห้องประชุมสภาเทศบาลเมืองกันตัง  ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการประชุม  จำนวน  26 คน  โดยมีวิทยากรจากเทศบาลนครตรังมาให้ความรู้ในเรื่องบทบาทหน้าที่ของกรรมการกองทุนฯ/ แนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ปี 2567  และแนวทางการดำเนินงานกองทุน LTC ปี 2567  ซึ่งผลจากการประชุมพัฒนาศักยภาพนั้น  ทำให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้รับความรู้ และมีความความเข้าใจในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ มากยิ่งขึ้น

 

30 0

8. ประชุมคณะทำงานติดตามประเมินผลกองทุนฯ จำนวน 4 ครั้ง

วันที่ 9 สิงหาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะกรรมการติดตามประเมินผล จำนวน 2 ครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะกรรมการติดตามประเมินผล จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้ - ครั้งที่ 1 วันที่ 9 สิงหาคม 2566 มีผู้มาประชุม 8 คน - ครั้งที่ 2 วันที่ 18 กันยายน 2566 มีผู้มาประชุม 8 คน

 

8 0

9. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนสุขภาพ

วันที่ 16 สิงหาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 09.10 น. พิธีเปิด          โดย  นายกเทศมนตรีเมืองกันตัง
กล่าวรายงาน  โดย  ปลัดเทศบาล
09.10 - 10.00 น. บรรยายเรื่อง  กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่และแนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ปี 2567โดยวิทยากรจาก  เทศบาลนครตรัง
10.00 - 10.10 น. บรรยายเรื่อง  ปัญหาสาธารณสุขในเขตเทศบาลเมืองกันตังโดยวิทยากรจาก  ศูนย์บริการสาธารณสุข  เทศบาลเมืองกันตัง 10.10 - 10.20 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.20 - 12.10 น. บรรยายเรื่อง  แนวทางการจัดทำแผนสุขภาพโดยวิทยากร  จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง
12.10 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 16.30 น. 1. แบ่งกลุ่มจัดทำแผนสุขภาพตามกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม ดังนี้ - กลุ่มแม่และเด็ก 0-6 ปี
- กลุ่มเด็กวัยเรียน
- กลุ่มวัยทำงาน/ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทั่วไป
- กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
- กลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุ
โดยทีมวิทยากรจาก  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง 2. นำเสนอแผนสุขภาพอันนำสู่การปฏิบัติตามกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม ดังนี้ - กลุ่มแม่และเด็ก 0-6 ปี
- กลุ่มเด็กวัยเรียน
- กลุ่มวัยทำงาน/ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทั่วไป - กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
- กลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุ
โดยตัวแทนกลุ่มแต่ละกลุ่ม และผู้ดำเนินกิจกรรม คือ คุณฐาดิลก  ราชพลี 3. สรุปผลการทำแผนสุขภาพสู่การปฏิบัติ โดยทีมวิทยากรจาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง     ศูนย์บริการสาธารณสุข ทม.กันตัง 4. ประเมินความพึงพอใจ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนสุขภาพฯ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง/ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น แกนนำสุขภาพชุมชน 12  ชุมชน/ผู้นำชุมชน 12 ชุมชน/ครูอนามัยโรงเรียน/ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ตัวแทนชมรมผู้สูงอายุ/ตัวแทนชมรมออกกำลังกาย/ประชาชนทั่วไป/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  จำนวน 60 คน  เมื่อวันที่  16  สิงหาคม  2566  ณ อาคารคอซิมบี๊  เทศบาลเมืองกันตัง  มีผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้  จำนวน  61  คน  โดยให้ความรู้เรื่องกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่และแนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ปี 2567  ปัญหาสาธารณสุขในเขตเทศบาลเมืองกันตัง  แนวทางการจัดทำแผนสุขภาพ  และแบ่งกลุ่มจัดทำแผนสุขภาพ  พร้อมนำเสนอแผนสุขภาพอันนำสู่การปฏิบัติตามกลุ่มเป้าหมาย 5  กลุ่ม คือ
1)  กลุ่มแม่และเด็ก 0-6 ปี 2)  กลุ่มเด็กวัยเรียน 3)  กลุ่มวัยทำงาน/ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทั่วไป 4)  กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5)  กลุ่มผู้พิการ/ผู้สูงอายุ
โดยวิทยากรจากเทศบาลนครตรัง  ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง  ทีมวิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง  ผลการประชุมทำให้ได้รับทราบปัญหาสุขภาพที่สำคัญในเขตเทศบาลเมืองกันตัง  ก่อให้เกิดแนวทางการดำเนินงาน/แผนงาน/กิจกรรม/โครงการเพื่อที่จะแก้ไขปัญหา  โดยมีรายละเอียดตามกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มแม่และเด็ก 0-6 ปี ผลการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ดังนี้ 1. เด็กขาดสารอาหาร 2. ยาเสพติด/ แอลกอฮอล์/ บุหรี่ในหญิงตั้งครรภ์ 3. โภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ 4. ท้องก่อนวัยอันควรและปัญหาของเด็กที่เกิดจากครอบครัวแตกแยก/ ครอบครัวไม่พร้อม

 

60 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. จัดกิจกรรมประชุมพัฒนาศักยภาพแก่คณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการกองทุน/คณะทำงานติดตามประเมินผล/คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลเมืองกันตัง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการประชุม จำนวน 26 คน โดยมีวิทยากรจากเทศบาลนครตรังมาให้ความรู้ในเรื่องบทบาทหน้าที่ของกรรมการกองทุนฯ/ แนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ปี 2567 และแนวทางการดำเนินงานกองทุน LTC ปี 2567 ซึ่งผลจากการประชุมพัฒนาศักยภาพนั้น ทำให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้รับความรู้ และมีความความเข้าใจในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ มากยิ่งขึ้น
    1. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนสุขภาพฯ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง/ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น แกนนำสุขภาพชุมชน 12 ชุมชน/ผู้นำชุมชน 12 ชุมชน/ครูอนามัยโรงเรียน/ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ตัวแทนชมรมผู้สูงอายุ/ตัวแทนชมรมออกกำลังกาย/ประชาชนทั่วไป/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 60 คน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2566 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง มีผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จำนวน 61 คน โดยให้ความรู้เรื่องกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่และแนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ปี 2567 ปัญหาสาธารณสุขในเขตเทศบาลเมืองกันตัง แนวทางการจัดทำแผนสุขภาพ และแบ่งกลุ่มจัดทำแผนสุขภาพ พร้อมนำเสนอแผนสุขภาพอันนำสู่การปฏิบัติตามกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม คือ
      1) กลุ่มแม่และเด็ก 0-6 ปี 2) กลุ่มเด็กวัยเรียน 3) กลุ่มวัยทำงาน/ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทั่วไป 4) กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5) กลุ่มผู้พิการ/ผู้สูงอายุ
      โดยวิทยากรจากเทศบาลนครตรัง ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง ทีมวิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง ผลการประชุมทำให้ได้รับทราบปัญหาสุขภาพที่สำคัญในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ก่อให้เกิดแนวทางการดำเนินงาน/แผนงาน/กิจกรรม/โครงการเพื่อที่จะแก้ไขปัญหา โดยมีรายละเอียดตามกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มแม่และเด็ก 0-6 ปี ผลการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ดังนี้
  2. เด็กขาดสารอาหาร
  3. ยาเสพติด/ แอลกอฮอล์/ บุหรี่ในหญิงตั้งครรภ์
  4. โภชนาการในหญิงตั้งครรภ์
  5. ท้องก่อนวัยอันควรและปัญหาของเด็กที่เกิดจากครอบครัวแตกแยก/ ครอบครัวไม่พร้อม จากการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาได้เสนอโครงการเสริมสร้างโภชนาการในเด็ก 0-6 ปี
    งบประมาณ 25,000 บาท 2) กลุ่มเด็กวัยเรียน  ผลการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ดังนี้
  6. เหา
  7. มือ เท้า ปาก / ไข้เลือดออก
  8. สุขภาพในช่องปาก/ ไข้หวัดใหญ่ จากการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาได้เสนอโครงการเหาจ๋า ขอลาก่อน งบประมาณ 32,000 บาท 3) กลุ่มวัยทำงาน/ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทั่วไป ผลการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ดังนี้
  9. เสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง
  10. โรคอ้วน
  11. ความเครียด จากการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาได้เสนอโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยงโรคเรื้อรัง งบประมาณ 20,000 บาท 4) กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผลการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ดังนี้
  12. การควบคุมอาหาร
  13. การออกกำลังกาย/ ขาดความรู้เกี่ยวกับการกินยา
  14. สูบบุหรี่ ดื่มสุรา
  15. ไม่พบแพทย์ตามนัด จากการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาได้เสนอโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมการบริโภคของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง งบประมาณ 25,000 บาท 5) กลุ่มผู้พิการ/ผู้สูงอายุ ผลการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ดังนี้
  16. การเคลื่อนไหวไม่สะดวก เสี่ยงพลัดตกหกล้ม
  17. ภาวะสมองเสื่อม
  18. ภาวะโภชนาการ/ ฟัน, ขาดผู้ดูแลผู้พิการ จากการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาได้เสนอโครงการสูงวัยกันตัง ลดเสี่ยง พลัดตกหกล้ม งบประมาณ  20,000 บาท
    1. กิจกรรมประชุมคณะกรรมการ/คณะทำงานต่างๆ ของกองทุนสุขภาพฯ 3.1 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จำนวน 4 ครั้ง ดังนี้
    • ครั้งที่ 1 วันที่ 6 ธันวาคม 2565 มีผู้มาประชุม 16 คน

- ครั้งที่ 2 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 มีผู้มาประชุม 21 คน - ครั้งที่ 3 วันที่ 9 มิถุนายน 2566 มีผู้มาประชุม 18 คน - ครั้งที่ 4 วันที่ 13 กันยายน 2566 มีผู้มาประชุม 19 คน 3.2 ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้ - ครั้งที่ 1 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 มีผู้มาประชุม 8 คน - ครั้งที่ 2 วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 มีผู้มาประชุม 9 คน - ครั้งที่ 3 วันที่ 31 สิงหาคม 2566 มีผู้มาประชุม 8 คน 3.3 ประชุมคณะกรรมการติดตามประเมินผล จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้ - ครั้งที่ 1 วันที่ 9 สิงหาคม 2566 มีผู้มาประชุม 8 คน - ครั้งที่ 2 วันที่ 18 กันยายน 2566 มีผู้มาประชุม 8 คน 3.4 ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้ - ครั้งที่ 1 วันที่ 22 ธันวาคม 2565 มีผู้มาประชุม 10 คน - ครั้งที่ 2 วันที่ 14 กันยายน 2566 มีผู้มาประชุม 10 คน 4. จัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน เช่น วัสดุคอมพิวเตอร์ วัสดุสำนักงาน เป็นต้น 5. สรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการทั้งสิ้น จำนวน 101,156.50 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1) กิจกรรมประชุมพัฒนาศักยภาพ - ค่าสมนาคุณวิทยากร เป็นเงิน 1,800  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน  780  บาท - ค่าเอกสารประกอบการอบรม/แบบประเมินความพึงพอใจ เป็นเงิน 463.50 บาท - ค่าวัสดุ/อุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 1,200  บาท 2) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนสุขภาพ
- ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย เป็นเงิน 1,800  บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากรแบ่งกลุ่ม เป็นเงิน 9,000  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 3,600  บาท - ค่าอาหารกลางวัน เป็นเงิน 4,200  บาท - ค่าเอกสารประกอบการอบรม/แบบประเมินความพึงพอใจ เป็นเงิน  987  บาท - ค่าวัสดุ/อุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 3,125  บาท 3) ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จำนวน 4 ครั้ง
- ค่าตอบแทนการประชุม เป็นเงิน 29,600 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 2,220  บาท 4) ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ จำนวน 3 ครั้ง
- ค่าตอบแทนการประชุม เป็นเงิน 7,500  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 750    บาท 5) ค่าตอบแทนหน่วยงาน/กลุ่ม/ชมรม/ชุมชนที่เข้าร่วมประชุมเสนอแผนงานโครงการ/   รายงานผลฯ  เป็นเงิน 3,400  บาท 6) ประชุมคณะทำงานติดตามประเมินผลกองทุนฯ จำนวน 2 ครั้ง
- ค่าตอบแทนการประชุม เป็นเงิน 3,200  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน  480  บาท 7) ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC จำนวน 2 ครั้ง
- ค่าตอบแทนการประชุม เป็นเงิน 6,000  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน  600  บาท 8) ค่าเอกสารประกอบการประชุม เป็นเงิน 1,226  บาท 9) กำหนดมาตรฐานและโครงสร้าง สนง.เลขานุการกองทุนสุขภาพฯ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 6,000  บาท - ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์  เป็นเงิน 11,200 บาท - ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ค่าคู่มือปฏิบัติงานกองทุนฯ) เป็นเงิน 2,025  บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาสุขภาพประชาชนแก่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และภาคีเครือข่ายสุขภาพต่างๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน องค์กร/หน่วยงาน ชุมชน ชมรมต่าง ๆ เป็นต้น
ตัวชี้วัด :

 

2 เพื่อเสริมศักยภาพการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ตัวชี้วัด :

 

3 เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของกองทุนสุขภาพฯ ให้มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด :

 

4 เพื่อกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด
ตัวชี้วัด :

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาสุขภาพประชาชนแก่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และภาคีเครือข่ายสุขภาพต่างๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน องค์กร/หน่วยงาน ชุมชน ชมรมต่าง ๆ เป็นต้น (2) เพื่อเสริมศักยภาพการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล (3) เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของกองทุนสุขภาพฯ ให้มีประสิทธิภาพ (4) เพื่อกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กำหนดมาตรฐานและโครงสร้าง สนง.เลขานุการกองทุนสุขภาพฯ (2) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (3) ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ จำนวน 4 ครั้ง (4) ค่าเอกสารประกอบการประชุม (5) ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ  จำนวน 4 ครั้ง (6) ค่าตอบแทนหน่วยงาน/กลุ่ม/ชมรม/ชุมชนที่เข้าร่วมประชุมเสนอแผนงานโครงการ/รายงานผลฯ (7) ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC จำนวน 2 ครั้ง (8) กิจกรรมประชุมพัฒนาศักยภาพ (9) ประชุมคณะทำงานติดตามประเมินผลกองทุนฯ  จำนวน 4 ครั้ง (10) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนสุขภาพ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการบริหารจัดการกองทุนและพัฒนาระบบการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพ เทศบาลเมืองกันตัง ปี 2566 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 66-L6895-04-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด