กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
วาระการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เกตรี ครั้งที่ 1/256628 มีนาคม 2566
28
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลเกตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุม  เวลา  10.00  น. วันที่ 28 มีนาคม 2566 เมื่อที่ประชุมพร้อมแล้ว ประธานในที่ประชุมได้กล่าวเปิดการประชุม ตามระเบียบวาระ ดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ประธาน           1.1.  ชี้แจงฐานะทางการเงินยอดยกมาเดือน มี.ค. 2565  เป็นเงิน 432,161.69 บาท รายรับ 1. สปสช. โอนเงินจัดสรร เป็นเงิน 273,600.- บาท รายจ่าย 1. ค่าตอบแทนประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 3/66 เป็นเงิน      5,900.- บาท 2. ค่าโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคจากยุงลายเป็นพาหะ
เป็นเงิน    70,000.- บาท 3. ค่าโครงการรณรงค์จัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนเพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร เป็นเงิน    96,200.- บาท 4. ค่าตอบแทนคณะกรรมการประเมินโครงการ เป็นเงิน      1,000.- บาท 5. ค่าโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เกตรี กิจกรรมที่ 2 -              การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการกองฯ เป็นเงิน      5,505.- บาท             คงเหลือตามบัญชีเงินฝาก เป็นเงิน 527,156.69 บาท มติที่ประชุม รับทราบ ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว           -ไม่มี-
ระเบียบวาระที่ 3  เรื่องติดตาม       -ไม่มี- ระเบียบวาระที่ 4  เรื่องเพื่อพิจารณา
ประธาน 4.1. โครงการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุก  (รพ.สต.บ้านวังพะเนียด)
จำนวนเงิน 53,470 บาท น.ส.เมธิญา ฉัน น.ส.เมธิญา  มะมุดีน ตัวแทนจาก รพ.สต.บ้านวังพะเนียด  ขออนุญาตแจ้งทุกท่านในที่ประชุม ทราบว่าโครงการนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เนื่องจากต้องแก้ไขชื่อโครงการและรายละเอียดในโครงการค่ะ
มติที่ประชุม รับทราบ ประธาน 4.2 โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ป้องกันภาวะแทรกซ้อน (รพ.สต.บ้านวังพะเนียด)
งบประมาณ 54,075 บาท  เชิญตัวแทนเสนอโครงการได้เลยครับ น.ส.เมธิญา โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ป้องกันภาวะแทรกซ้อน  (รพ.สต.บ้านวังพะเนียด) หลักการและเหตุผล
โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง  เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุข  ที่สำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ แต่ความชุกและอุบัติการณ์ กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในชุมชนเมือง

/และในชนบท....

-2- และในชนบท อีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังนั้น ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จะเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจ หรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ติดเชื้อง่าย หลอดเลือดตีบหรือแตกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาตได้ ผลกระทบของผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง  มีทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว คือ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆในการรักษาพยาบาล รวมทั้งสูญเสียอวัยวะ และความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มากกว่าคนปกติ รวมทั้งมีผลกระทบถึงสภาพจิตใจด้วย นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อมอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนและการมีพยาธิสภาพ ทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ วัตถุประสงค์
      ๑. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลป้องกันเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนใน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  สามารถนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม       ๒. เพื่อค้นหาคัดกรอง ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนครบทุกราย และในรายที่มีปัญหา ภาวะแทรกซ้อน  จะต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ๒. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการ การดูแลรักษาและการ ป้องกันตนเอง ให้ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง  ได้ถูกต้องเหมาะสม ๓.  การเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้องรังมีแนวโน้มลดลง กลุ่มเป้าหมาย คือกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 315 คน งบประมาณรวม  54,075 บาท
ประธาน มีอนุกรรมการท่านใดจะเสนอแนะหรือสอบถามรายละเอียดโครงการบ้างมั้ยครับ
นายพรสิทธิ์ ผมอยากสอบถามว่าผู้ที่เข้าร่วมโครงการ เป็นผู้ที่มีโรคแทรกซ้อนจริง หรือผู้ที่ยังไม่ได้เป็นโรคครับ และเข้าร่วมทั้งหมด 315 คน มั้ยครับ ขอบคุณครับ
น.ส.เมธิญา ทาง รพ.สต บ้านวังพะเนียด  จะดำเนินการให้เข้าร่วมทุกรายคะ เนื่องจากทุกรายนั้นเป็นผู้ป่วยกลุ่ม ผู้ป่วยโรคเรื้อรังคะ เพราะทาง ทาง รพ.สต.ดูแลกลุ่มเป้าหมายอยู่คะ
นายไพรินทร์ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังนี้เป็นผู้ป่วยที่รักษาอยู่ที่โรงพยาบาลสตูล และเมื่อมีอาการที่ดีขึ้นทาง รพ.จะส่ง ต่อให้ทาง รพ.สต. ดูแลต่อไปครับ จึงสำคัญมากในการดูแลต่อเนื่อง นายนพดล ผมสงสัยว่าการค้นหาผู้ป่วยที่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เราสามารถรู้ได้อย่างไรครับ นายไพรินทร์ ไม่ต้องค้นหาผู้ป่วยครับ เนื่องจากจะมีการดูแลต่อเนื่องจาก รพ.สตูล โดยแต่ละคนจะมีการรับรองของ แพทย์ว่าเป็นโรคเรื้อรัง หากผู้ป่วยท่านไหน อาการหนักทาง รพ.สต.บ้านวังพะเนียดจะส่งต่อไป รพ. สตูล น.ส.เมธิญา ขอแจ้งเพิ่มเติมว่าผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนสายตาจากเบาหวานขึ้นตา เท้า จะนัดมาดูอาการและ วินิจฉัยดำเนินการส่งต่อไป รพ.สตูลเพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
ประธาน มีท่านใดจะสอบถามเพิ่มเติมมั้ยครับ ถ้าไม่มีผมขอมติที่ประชุมครับ มติที่ประชุม เห็นชอบเป็นเอกฉันท์ /ประธาน.... -3- ประธาน 4.3 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการว่ายน้ำเพื่อชีวิตป้องกันการจมน้ำในเด็กและเยาวชน          เชิญตัวแทนโครงการเสนอรายละเอียดโครงการครับ นายยอหัน ผมนายยอหัน  ตุกังหัน ผอ.ร.ร.บ้านวังพะเนียด ขอเสนอรายละเอียดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ว่ายน้ำเพื่อชีวิตป้องกันการจมน้ำในเด็กและเยาวชน หลักการและเหตุผล
การว่ายน้ำเพื่อชีวิตป้องกันการจมน้ำในเด็กและเยาวชน เป็นทักษะชีวิตที่สำคัญยิ่งจะติดตัวตลอดชีวิต ที่มนุษย์ทุกคนควรเรียนรู้เพื่อสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยทางน้ำให้กับชีวิต อีกทั้งการว่ายน้ำ ยังเป็นกิจกรรมทางน้ำที่เล่นกันได้ทุกเพศทุกวัย และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการออกกำลังกายที่ หลายคนชื่นชอบ หากเรียนรู้วิธีการว่ายน้ำที่ถูกต้องก็จะยิ่งช่วยให้ร่างกายได้ประโยชน์จากกิจกรรมนี้ มากขึ้น ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ มีทักษะการช่วยเหลือ ป้องกันตนเองและคนอื่นจากการจมน้ำได้ 2. กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพร่างกานที่แข็งแรง ได้รับความเพลิดเพลินจากการว่ายน้ำ   วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความตระหนักในการป้องกันตนเองและคนอื่นจากการจมน้ำได้ 2. เพื่อลดการสูญเสียเด็กและเยาวชนจากจมน้ำ 3. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีทักษะการว่ายน้ำเพื่อการออกกำลังกายได้ กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน  จำนวน  40 คน งบประมาณเงินทั้งสิ้น 25,140.-บาท ประธาน มีท่านใดจะสอบถามรายละเอียดของโครงการมั้ยครับ นายราเสด ผมขอให้ดูรายละเอียดเรื่องค่าวิทยากรและค่าป้ายโครงการครับ เหมือนรายละเอียดยังไม่ถูกต้อง น.ส.มุสลีม๊ะห์ ราคาของป้ายไวนิลต้องตามมาตรฐานคือเมตรละ 150 บาท ในโครงการฯนี้ ใส่มา 180 บาท นายไพรินทร์ วิทยาการกลุ่ม จำนวน 4 คน ได้คนละ 600 บาท รายละเอียดนี้เกินตามระเบียบที่ตั้งไว้รึเปล่าขอให้ อนุกรรมการช่วยดูรายละเอียดด้วยครับ น.ส.มุสลีม๊ะห์ ค่าวิทยากรคือคนละ 600 บาท/ 1 ชั่วโมง ได้ไม่เกินวันละ 2,400 บาทต่อวัน แต่ต้องดูกลุ่มเป้าหมาย ด้วยว่าสอดคล้องกันรึเปล่า นายยอหัน หลักสูตรสำหรับเด็กที่ว่ายน้ำไม่เป็น จะมีวิทยากรที่มีความรู้ความเข้าใจคอยให้ความรู้ต่อเด็ก แบบที่ ต้องดูแลหลายคน จึงใช้วิทยากรกลุ่ม หากอนุกรรมการเห็นควรแก้ไข ว่าเบิกได้ คนละ 600 บาท หรือ คน 300 บาท ก็จะนำไปปรับแก้ในโครงการครับ นายราเสด ในระเบียบสามารถปรับได้ ให้วิทยากรพูดและให้ความรู้คนละ 1 เรื่อง เพื่อให้ได้ค่าตอบแทน          1 ชั่วโมง 600 บาท

/ประธาน...

-4- ประธาน มีท่านใดจะเสนอแนะและสงสัยรายละเอียดในโครงการฯ เพิ่มเติมอีกมั้ยครับ ถ้าไม่มี ผมขอมติที่ ประชุม มติที่ประชุม เห็นควรปรับแก้ไขโครงการให้ถูกต้องเพื่อเสนอในครั้งต่อไป ประธาน 4.4 โครงการส่งเสริมการจัดการขยะภายในโรงเรียนเพื่อป้องกันโรค ขอให้ตัวแทนโครงการเสนอ รายละเอียดโครงการครับ นายยอหัน โครงการส่งเสริมการจัดการขยะภายในโรงเรียนเพื่อป้องกันโรค หลักการและเหตุผล
ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในชุมชนทุกระดับ ตั้งแต่ครัวเรือน ชุมชน สังคม และระดับประเทศ ซึ่งปัญหานี้นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี่เนื่องจากความ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ตลอดจนพฤติกรรมการบริโภคของ คนเราเริ่มเปลี่ยนไป ปัจจุบันมีการใช้สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติก โฟม แก้ว กระดาษ โลหะ อลูมิเนียม ส่งผลให้มีปริมาณขยะมูลฝอยและของเสียเพิ่มมากขึ้น ผลกระทบที่ตามมา คือ ปัญหาด้าน สิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ดินเสื่อมสภาพ ความเสียหายจากเหตุรำคาญส่งกลิ่นเหม็น รบกวน รวมถึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหะนำโรค สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ สถานที่กำจัดขยะไม่ เพียงพอที่จะรองรับปริมาณขยะได้ในอนาคต ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนโรงเรียนบ้านวังพะเนียดมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี 2. ลดปริมาณขยะภายในบริเวณโรงเรียนบ้านวังพะเนียด 3. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของนักเรียนโรงเรียนบ้านวังพะเนียด 4. ลดมลพิษจากขยะที่มีต่อนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนบ้านวังพะเนียด 5. ลดภาวะโรคติดต่อต่างๆ อันเป็นผลพวงจากขยะ เช่น หนู และแมลงต่างๆ
6. ลดภาระของประเทศชาติในการกำจัดขยะ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านวังพะเนียดในการคัดแยกขยะอย่าง ถูกวิธี 2 เพื่อลดปริมาณขยะภายในบริเวณโรงเรียนบ้านวังเพนียด   กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน  จำนวน  47 คน งบประมาณ 70,780  บาท ประธาน ท่านไหนจะสอบถามรายละเอียดของโครงการเชิญสอบถามได้ครับ น.ส.มุสลีม๊ะห์ ค่าวิทยากรเบิกได้แค่ 4 ชั่วโมง ส่วนค่าวิทยากรและบุคลากรในโรงเรียนไม่สามารถเบิกค่าอาหารได้ นายราเสด รายละเอียดของกรงแยกขยะและบ่อคอนกรีตขอให้มีรูปแบบรายงานและประมาณการด้วยครับ นายพรสิทธิ์ เรื่องงบประมาณยังพิจารณาไม่ได้ครับ ขอให้เจ้าของโครงการกลับไปแก้ไขให้ละเอียดและถูกต้อง โดย ปรึกษากับอนุกรรมการได้เลยครับ /นายยอหัน... -5- นายยอหัน จะกลับไปแก้ไขรายละเอียดโครงการให้ละเอียดและถูกต้องครับ ขอบคุณสำหรับแนวทางจากทุกท่าน ประธาน ผมขอมติที่ประชุม มติที่ประชุม เห็นควรให้แก้ไขโครงการให้ถูกต้องและมีรายละเอียดครบถ้วน ประธาน 4.5  โครงการคนบ้านไร่ กินดี อยู่ดี สุขภาพดี มีความสุข ปี 2 น.ส.วราฎา ดิฉัน น.ส.วราฎา  กรมเมือง ตัวแทน อสม. ม.1 ขอเสนอโครงการคนบ้านไร่ กินดี อยู่ดี สุขภาพดี      มีความสุข ปี 2 
หลักการและเหตุผล จากการดำเนินงานโครงการคนบ้านไร่กินดีอยู่ดีสุขภาพดีมีความสุข โดยได้รับ งบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี ประจำปี งบประมาณ 2566  ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพให้ความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ ออกกำลังกายที่เหมาะแก่ช่วงวัย โดยกำหนด 4 ประเด็น ได้แก่ กินอาหารที่ดี นาฬิกาชีวิตกิจวัตร ประจำวัน สุขภาพดีด้วยการออกกำลังกาย เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข หากปราศจาค โรคภัย และมีการตรวจสุขภาพ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้น วัตถุประสงค์ 1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ ทานอาหารปลอดภัย 2. ผู้เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน  25 คน
กลุ่มผู้สูงอายุ  45 คน งบประมาณรวม 3,100 บาท ประธาน ท่านใดจะสอบถามเพิ่มเติม เชิญครับ นพดล ผมขอเสนอว่ากระบอกน้ำไม่สมควรเบิกให้แจกในการจัดโครงการเนื่องจากในการจัดโครงการ 1 วัน เป็นการใช้เงินงบประมาณไม่เกิดประโยชน์ครับ นายราเสด ส่วนกระเป๋าผ้าผมอยากให้ทุกโครงการ เบิกในราคาที่เท่าๆกันครับ  คือไม่เกินใบละ 60 บาท น.ส.มุสลีม๊ะห์ ค่าอาหารเช้าและเครื่องดื่ม ไม่สามารถเบิกได้ค่ะ ประธาน ท่านใดจะสอบถามเพิ่มเติมมั้ยครับ ถ้าไม่มีผมขอมติที่ประชุมครับ มติที่ประชุม เห็นควรตัดอาหารเช้าและเครื่องดื่มและกระบอกน้ำออก และคิดงบประมาณมาใหม่ให้ถูกต้องตาม ระเบียบ ประธาน 4.6 โครงการอบรมและการออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำ ขอให้ตัวแทนเสนอโครงการได้ครับ น.ส.สาริตา ดิฉัน น.ส.สาริตา แก้วสลำ ตัวแทน อสม. ม.2 ขอเสนอโครงการ อบรมและการออกกำลังกายด้วยการ ว่ายน้ำ

    /หลักการ....

-6-

    หลักการและเหตุผล<br />
    การว่ายน้ำถือเป็นทักษะชีวิตที่สำคัญยิ่งที่มนุษย์ทุกคนควรเรียนรู้เพื่อสร้างความมั่นใจด้านความ        ปลอดภัยทางน้ำให้กับชีวิต อีกทั้งการว่ายน้ำยังเป็นกิจกรรมทางน้ำที่เล่นกันได้ทุกเพศทุกวัยและเป็นอีก   ทางเลือกหนึ่งของการออกกำลังกายที่หลายคนชื่นชอบหากเรียนรู้วิธีการว่ายน้ำที่ถูกวิธีและถูกต้องก็จะยิ่ง
ช่วยให้ร่างกายได้ประโยชน์จากกิจกรรมนี้มากขึ้น การออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำจะช่วยรักษาอาการ  เจ็บป่วยบางชนิดได้ เหมาะสมกับคนที่ไม่สามารถออกกำลังกายด้วยวิธีอื่น ๆ ได้ เช่น คนที่มีปัญหาหมอนรอง   กระดูกทับเส้นประสาท คนที่ปวดหลังบ่อย ๆ หรือมีปัญหาข้อเข่า สะโพกเสื่อม เป็นต้น และยังเป็นผลดีกับ สุขภาพในด้านต่างๆ เช่น เสริมสร้างการทำงานของหัวใจและปอดให้แข็งแรง กล้ามเนื้อแข็งแรง ช่วยเผาผลาญ ไขมัน ลดน้ำหนัก ผ่อนคลายความเครียด ช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ดียิ่งขึ้น
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. กลุ่มเป้าหมายได้ความรู้ ความเข้าใจมากขึ้น
2. กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพแข็งแรงและลดอัตราการเกิดโรค
3. กลุ่มเป้าหมายได้รับความเพลิดเพลินจากการว่ายน้ำ
    วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาศักยภาพการว่ายน้ำที่ถูกต้อง
2. เพื่อให้มีสุขภาพและร่างกายที่แข็งแรง
    กลุ่มเป้าหมาย
    -กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน&nbsp; 20 คน
    -กลุ่มวัยทำงาน&nbsp; 20 คน
        งบประมาณทั้งสิ้น&nbsp; 26,850&nbsp; บาท

ประธาน ท่านไหนจะสอบถามรายละเอียดของโครงการบ้างมั้ยครับ นายไพรินทร์ ผมเสนออยากให้ปรับชื่อโครงการ เนื่องจากไปซ้ำกับโครงการโรงเรียนบ้านวังพะเนียด เพราะการ เสนอโครงการต้องไม่ซ้ำกันครับ นายคนึง อยากให้ผู้เสนอโครงการใส่ตัวชี้วัดด้วยครับ เนื่องจากในโครงการที่เสนอมายังไม่ได้ใส่ นายราเสด โครงการนี้เสนอกระเป๋าผ้ามาในราคา 80 บาท ขอให้แก้ปรับ เป็นราคา 60 บาท ด้วยครับ นายพรสิทธิ์ งบประมาณขอให้ปรับแก้ให้ถูกต้องตามระเบียบด้วยครับ ประธาน ท่านใดมีอะไรจะเสนอแนะอีกบ้างครับ ถ้าผมไม่มีขอมติที่ประชุมครับ มติที่ประชุม เห็นควรแก้ไขรายละเอียดโครงการให้ถูกต้องตามระเบียบ ประธาน 4.7 โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย เชิญตัวแทนเสนอโครงการครับ นางมีณา ดิฉัน นางมีณา  นีโกบ ตัวแทน อถล. ม. 3 ขอเสนอโครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์  แผนไทย



/หลักการ....

-7-

    หลักการและเหตุผล
 การส่งเสริมสุขภาพ เป็นมิติหนึ่งทางสุขภาพที่มีความสำคัญมากที่จะช่วยให้เรา (อถล. ม.3) ดำรงชีวิตอยู่อย่าง ปกติสุข ในการส่งเสริมสุขภาพจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของมิติ สุขภาพ เข้าใจหลักและ   วิธีปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติใน การส่งเสริม สุขภาพได้อย่างถูกต้อง<br />
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ไปใช้ในการดูแล    สุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
    2. สามารถฟื้นฟูภูมิปัญญาและองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทยคงอยู่สืบไป
    3. เป็นทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพ และเป็นการช่วยลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและค่าใช้จ่ายใน  การดูแลรักษาพยาบาล
    วัตถุประสงค์
    1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เพื่อดูแล  สุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
    2.เพื่อฟื้นฟูภูมิปัญญาและองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทยคงอยู่สืบไป
    3.เพื่อส่งเสริมการปลูกและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับใช้ในการดูแลสุขภาพ
    กลุ่มเป้าหมาย
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน&nbsp; 20&nbsp; คน
    กลุ่มวัยทำงาน&nbsp;  20&nbsp; คน

ประธาน ท่านใดจะสอบถามเพิ่มเติมเชิญครับ นายราเสด อยากให้ใส่รายละเอียดในโครงการด้วยว่าการจัดโครงการในแต่ละวัน ทำกิจกรรมอะไรบ้าง และ ปากกาขอให้ใช้เล่ม 5 บาทให้เหมือนกันทุกโครงการครับ
นายไพรินทร์ ขอให้ระบุวันเวลาที่จัดทำโครงการให้ถูกต้องด้วยครับ นายนพดล อยากให้ผู้ขอโครงการปรับปรุงการเขียนโครงการให้ละเอียดกว่าเดิม และขอให้ตรวจเช็คความถูกต้อง ก่อนเสนอโครงการ ขอบคุณครับ ประธาน มีท่านใดจะสอบถามเพิ่มเติมมั้ยครับ ถ้าไม่มี ผมขอมติที่ประชุม มติที่ประชุม เห็นควรแก้ไขโครงการให้ถูกต้องตามระเบียบ ประธาน 4.8 โครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง  เชิญตัวแทนเสนอโครงการครับ น.ส.มาเรียม ฉัน น.ส.มาเรียม เหลบควนเคี่ยม ตัวแทน อสม. ม.4 ขอเสนอโครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคหลอด เลือดหัวใจและสมอง หลักการและเหตุผล
                โรคหลอดเลือดหัวใจประกอบด้วย โรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด จากผนังด้านในของหลอดเลือดมีไขมันสะสม พอกตัวหนาขึ้นหลอดเลือดจะตีบและแข็งตัว จนการไหลเวียน ตีบตัน ลงไป เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลงเป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดโรคหลอดเลือด สมองหรือ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต คือภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดตีบตัน หรือแตกจน /เกิดการ….

-8-

เกิดการทำลายหรือตายของเนื้อสมอง ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ความดัน          โลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง สูบบุรี่ โภชนาการไม่ถูกต้อง ไม่ออกกำลังกาย อ้วน ลงพุง&nbsp; &nbsp;         ขาดการตื่นตัว ขาดความตระหนัก ขาดความรู้ ขาดทักษะและการเข้าถึงบริการที่จำเป็นในการดูแล       สุขภาพตนเอง ดังนั้นการป้องกันโรคต่างๆ ในผู้สูงอายุ เป็นแนวทางหนึ่งที่มีความสำคัญ เพื่อลดความ        รุนแรงของโรค<br />
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. คนในชุมชนมีสุขภาพดีและแข็งแรง
    2. คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและรู้จักวิธีป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
    3. ผู้เข้าอบรมสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
    วัตถุประสงค์
    1. ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีสุขภาพดีและแข็งแรง
    2.&nbsp; ส่งเสริมให้คนในชุมชนตระหนักถึงโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
    3. ส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมรู้จักเฝ้าระวังป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
    กลุ่มเป้าหมาย
     กลุ่มวัยทำงาน จำนวน 45&nbsp; คน
     กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน&nbsp; 20&nbsp; คน

                        งบประมาณรวม  15,375 บาท ประธาน มีท่านใดจะสอบถามรายละเอียดโครงการบ้างมั้ยครับ นายไพรินทร์ อยากให้ทุกท่านช่วยพิจารณา วัตถุประสงค์ ข้อ 1 ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีสุขภาพดีและแข็งแรง อยากให้ตัดออกครับ ผมคิดว่าควรจะไปอยู่ที่ผลที่คาดว่าจะได้รับมากกว่าครับ นายราเสด ผมเห็นด้วยครับว่าควรไปอยู่ในข้อผลที่คาดว่าจะได้รับ น.ส.ฮอดีย๊ะ ค่าแผ่นพับที่เขียนมา 60 คน เป้าหมาย 65 คน ขอให้เจ้าของโครงการกลับไปแก้ไขให้ถูกต้องด้วยค่ะ ประธาน ท่านใดมีข้อเสนอแนะหรือถามเพิ่มเติมมั้ยครับ ถ้าไม่มีผมขอมติที่ประชุม มติที่ประชุม เห็นควรแก้ไขรายละเอียดในโครงการให้ถูกต้องและครบถ้วน ประธาน 4.9 โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาวะและสุขอนามัยแบบบูรณาการของวัยทำงานและผู้สูงอายุ  ขอให้ตัวแทนเสนอรายละเอียดโครงการได้ครับ นางรอเบี๊ยะ ดิฉันนางรอเบี๊ยะ  หนูชูสุก เป็นตัวแทน อสม. ม.5 ขอนำเสนอรายละเอียดโครงการส่งเสริมการดูแล สุขภาวะและสุขอนามัยแบบบูรณาการของวัยทำงานและผู้สูงอายุ
หลักการและเหตุผล
              ภาพชีวิต ถือได้ว่าเป็นเป้าหมายหลักของสังคมคือประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกาย และจิตใจ ทุกเพศทุกวัย จากการศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรมีสุขภาวะและสุขอนามัยที่ไม่ค่อยแข็งแรงเพราะ สภาพแวดล้อม การบริโภคที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนจึงมีความจำเป็นอย่าง ยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้อง ร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ประชาชนทุกคนตลอดจน

/บุคคล…


-9-

บุคคลในครอบครัวและชุมชน จากสภาพปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนในปัจจุบัน นับว่าเป็นปรากฏการณ์ ของปัญหาใหม่ที่สำคัญปัญหาหนึ่งที่ ไม่สามารถจะมองข้ามได้ เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพจะส่งผลกระทบต่อ ปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ปัญหาด้าน เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สุขภาพ เป็นต้น<br />
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

                      1.  ผู้รับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจการดูแลสุขภาวะและสุขอนามัย สำหรับวัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ
              2.  ผู้เข้าร่วมที่ได้รับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่าง เหมาะสม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาวะและสุขอนามัย
2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาวะและสุขอนามัย กลุ่มเป้าหมาย วัยทำงาน 40 คน, ผู้สูงอายุ 40 คน รวมงบประมาณ  16,850  บาท ประธาน ท่านใดจะเสนอหรือสอบถามรายละเอียดโครงการเพิ่มเติมมั้ยครับ นายราเสด อยากเสนอ ว่าอยากให้กลุ่มเป้าหมายเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะผู้สูงอายุ กับคนวัยทำงาน จะมี กิจกรรม การทำภารกิจในแต่ละวันต่างกันครับ หรือควรเลือกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง น.ส.เมธิญา ดิฉันเห็นด้วยกับนายราเสดค่ะ นางรอเบี๊ยะ ที่ทางโครงการจัดให้สองกลุ่มวัยมาร่วมโครงการกัน เนื่องจากอยากให้แต่ละกลุ่มวัยเข้าใจในการอยู่ ร่วมกันและการใช้ชีวิตในแต่ละวันด้วยกัน และวิธีปรับตัวให้อยู่กันได้อย่างไม่ขัดแย้งและมีความสุขค่ะ ประธาน ท่านใดมีข้อเสนอแนะ หรือสอบถามอะไรเพิ่มเติมมั้ยครับ ถ้าไม่มีผมขอมติที่ประชุม มติที่ประชุม เห็นควรแก้ไขกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสะดวกในการดำเนินโครงการ ประธาน 4.10 โครงการ วัยรุ่น วัยใส ใส่ใจสุขภาพ ขอเชิญตัวแทนเสนอโครงการครับ นางจีด๊ะ ดิฉันนางจีด๊ะ  อาดำ ตัวแทน อสม. ม.6 ขอนำเสนอโครงการ วัยรุ่น วัยใส ใส่ใจสุขภาพ หลักการและเหตุผล  เนื่องจากปัจจุบันนี้โลกเราได้มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยเฉพาะทางด้าน พฤติกรรมความคิดของวัยรุ่นในสมัยนี้มีการมั่วสุมกันหลากหลายอย่างเนื่องจากมีความเจริญก้าวหน้าทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางประเพณี วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันทางสังคมรวมทั้ง ความเชื่อทางเพศที่ผิดๆ ทำให้วัยรุ่นเกิดการสำส่อนทางเพศมั่วสุมในกามทำให้ปัญหาที่ตามมาคือการตั้งครรภ์ ก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ แต่วัยรุ่นจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงข้อมูลและบริการ ด้านเพศศึกษา ทำให้วัยรุ่นขาดความรู้และทักษะในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงไม่ได้รับการจัดการเรียนรู้ เพศศึกษาอย่างต่อเนื่อง ผลที่คาดว่าจะได้รับ เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ ก่อนวัยอันควร


วัตถุประสงค์ 1. เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศศึกษาที่ถูกต้องและปลอดภัย
2. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความตระหนักในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ที่ไม่  พร้อม รวมถึงโรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน  จำนวน  30  คน งบประมาณ  8,850.-บาท ประธาน ท่านใดจะสอบถามรายละเอียดหรือเสนอแนะเชิญครับ นายราเสด รายละเอียดค่าใช้จ่ายในโครงการผมขอให้ค่าปากกาเท่ากับโครงการอื่นๆครับ เล่มละ 5 บาท ขอให้ แก้ไขในโครงการและปรับยอดรวมของงบประมาณใหม่ครับ ประธาน ท่านใดจะเสนอแนะหรือถามเพิ่มเติมมั้ยครับ ถ้าไม่มีผมขอมติที่ประชุมครับ มติที่ประชุม เห็นควรดำเนินการแก้ไขปรับราคาปากกา 10 บาทเป็นราคา 5 บาท และสรุปงบประมามาให้ ถูกต้อง จากงบประมาณ 8,850 บาท เป็น 8,600 บาท ประธาน 4.11  โครงการอบรมให้ความรู้และป้องกันปัญหายาเสพติดเด็กวัยเรียน ขอเชิญตัวแทนเสนอ โครงการครับ น.ส.ฮับส๊ะ ดิฉันน.ส.ฮับส๊ะ  อาดำ ตัวแทน อสม. ม.7 ขอเสนอโครงการอบรมให้ความรู้และป้องกันปัญหายาเสพ ติดเด็กวัยเรียนคะ
หลักการและเหตุผล
เยาวชน คือ อนาคตของชาติ ปัจจุบันสังคมไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤตจาก สถานการณ์ปัญหายา เสพติดที่ได้เริ่มแพร่ระบาดและกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างน่าวิตก การหวนกลับมาระบาดอย่างหนัก ของยาเสพติดในปัจจุบันเป็นผลให้ เยาวชนหลงผิดเข้าสู่วงจรของการซื้อขายและยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น กลุ่มที่น่าเป็นห่วง คือ เด็กนักเรียนและเยาวชนตัวน้อยๆ เพราะเป็นวัยที่ชอบลิ้มลองโดยขาดสติ ตริตรองด้วย เหตุและผล การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติดเป็นผลให้เยาวชนหลงผิด ได้นำมาซึ่งความรุนแรง ในครอบครัวและอาชญากรรมต่างๆในสังคมเช่น การลักขโมย ฉกชิงวิ่งราว และการก่อปัญหาอาชญากรรม อื่นๆ ตามมา อีกทั้งยังเป็นปัญหาที่สร้างความรู้สึกสะเทือนใจและเจ็บปวดให้กับพ่อแม่ ผลที่คาดว่าจะได้รับ       ๑. เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับรู้และรับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด ๒. เพื่อสร้างผู้นำเยาวชนในการต่อต้านและป้องกันการแพทย์ระบาดของยาเสพติด วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้เด็กเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด ๒. เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโดยใช้คุณธรรมจริยธรรมตามหลักศาสนา ๓. เพื่อสร้างผู้นำเด็กและเยาวชนในการต่อต้านและป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดใน สถานศึกษาและชุมชน

    กลุ่มเป้าหมาย
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน&nbsp; จำนวน&nbsp; ๔o&nbsp; คน
    กลุ่มวัยทำงาน   จำนวน&nbsp; ๓o&nbsp; คน
            งบประมาณรวม ๒o,๙oo.- บาท

ประธาน ท่านใดจะเสนอแนะหรือสอบถามรายละเอียดโครงการเชิญครับ น.ส.มีณา ในรายการงบประมาณ ค่าอาหารกลางวัน ใส่เป็น 2 มื้อ ค่ะ ขอให้แก้ไขให้ถูกต้องด้วยค่ะ นายราเสด ขอให้ใส่คุณลักษณะของกระเป๋าผ้าเพิ่มเติมด้วยครับ
ประธาน มีท่านใดจะเสนอเพิ่มเติมมั้ยครับ  หากไม่มีผมขอมติที่ประชุมครับ มติที่ประชุม เห็นควรดำเนินการแก้ไขในส่วนของรายละเอียดงบประมาณให้ถูกต้อง นายพรสิทธิ์ ขอแจ้งงบประมาณคงเหลือตามบัญชีเงินฝาก 769,056.25 บาท ประเภทที่ 1 สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ/สถานบริการ/ หน่วยงานสาธารณสุขงบประมาณตั้งไว้ 114,813 บาท ใช้ไป – บาท  คงเหลือ 114,813 บาท ประเภทที่ 2 สนับสนุนการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคของ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่นงบประมาณตั้งไว้ 644,719 บาท ใช้ไป 166,200 บาท (โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคฯ จำนวน 70,000 บาท และ โครงการรณรงค์จัดการขยะ อินทรีย์ฯ จำนวน 96,200 บาท ) คงเหลือ 478,519 บาท ประเภทที่ 3 สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ งบประมาณตั้งไว้ 44,159 บาท  ใช้ไป – บาท  คงเหลือ 44,159 บาท ประเภทที่ 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯงบประมาณตั้งไว้ 82,610.25 บาท  ใช้ไป 30,530 บาท    คงเหลือ 52,080.25 บาท ประเภทที่ 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติงบประมาณตั้งไว้ 52,990 บาท  คงเหลือ  52,990 บาท ประเภทที่ 6 สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขตามมติคณะกรรมการหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติงบประมาณตั้งไว้ 26,495 บาท  คงเหลือ 26,495 บาท ประธาน ไม่ทราบว่าคณะกรรมการมีเรื่องใดจะเสนออีกบ้าง หากอนุกรรมการและตัวแทนที่มาเสนอโครงการไม่มีอะไรเสนอแล้วผมขอขอบคุณ  ทุกท่านที่ ได้เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน และขอให้คณะกรรมการร่วมประชุมครั้งต่อไป  อย่างพร้อมเพรียงกัน ขอบคุณครับ         เลิกประชุม  เวลา 12.30 น. เริ่มประชุม  เวลา  10.00  น. วันที่ 29 มีนาคม 2566 เมื่อที่ประชุมพร้อมแล้ว ประธานในที่ประชุมได้กล่าวเปิดการประชุม เริ่มเสนอพิจารณาโครงการต่อจาก              วันที่  28  มีนาคม 2566 ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา ประธาน 4.12  โครงการบ้านสวยสะอาด หน้าบ้านน่ามอง ถูกสุขลักษณะ ขอเชิญตัวแทนเสนอ โครงการครับ น.ส.ฮอดีย๊ะ ดิฉันน.ส.ฮอดีย๊ะ  พรหมาด ตัวแทนกลุ่มธนาคารขยะรีไซเคิล  บ้านทุ่ง ม.7 ขอเสนอโครงการบ้านสวย สะอาด หน้าบ้านน่ามอง ถูกสุขลักษณะ
หลักการและเหตุผล
          ปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยนับว่าเป็นปัญหาที่มีความสำคัญทั้งในระดับประเทศและชุมชน ซึ่งเป็นปัญหา หลักที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์  การอุปโภคบริโภค    ที่เน้นความสะดวกสบายเป็นหลัก ประกอบกับประชาชนยังขาดความตระหนักในเรื่องปัญหาขยะ ขาดวินัย    ในการจัดการขยะ ซึ่งปัญหาขยะมูลฝอยนับเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุของปัญหา  ต่างๆ เช่นน้ำเน่าเสีย ขยะส่งกลิ่นเหม็น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เลิกประชุม  เวลา 13.30 น.

วาระการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เกตรี ครั้งที่ 3/256626 มกราคม 2566
26
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลเกตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุม  เวลา  09.30  น.
เมื่อที่ประชุมพร้อมแล้ว ประธานในที่ประชุมได้กล่าวเปิดการประชุม ตามระเบียบวาระ ดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ประธาน 1.1 แจ้งเรื่องงานมัสยิดที่กำลังจะจัดในวันที่ 28-29 มกราคม 2566 เรื่องการเตรียมการและร่วมช่วยเหลืองาน เพื่อให้งานดำเนินการโดยสำเร็จลุล่วง 1.2 แนะนำ นายสรศักดิ์ โบ๊ะหมัน ผอ.กองศึกษาฯ รักษาราชการแทน ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
มติที่ประชุม      รับทราบ ระเบียบวาระที่ 2  เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว เลขานุการเสนอรายงานการประชุม ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2565 ให้ที่ประชุมรับรอง  โดยมอบหมายให้นางสาววรรณดีเป็นผู้แจ้งรายละเอียด น.ส.วรรณดี แจ้งที่ประชุมทราบค่ะ สรุปการประชุมครั้งที่ 2/ 2566 วันที่ 28 ธันวาคม  2565
มติที่ประชุม      รับรองรายงานการประชุมฯ  ครั้งที่ 2/ 2566 วันที่ 28  ธันวาคม  2565
ระเบียบวาระที่ 3  เรื่องรายงานการติดตาม -ไม่มี- ประธาน 4.1 ชี้แจงฐานะทางการเงินยอดยกมาเดือน พ.ย. 2565 เป็นเงิน 437,686.69 บาท นางสาวรอชีมี รายรับ 1. เงินเหลือคืนจากโครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพขยับกายสบายชีวี
เป็นเงิน 750.- บาท รายจ่าย 1. ค่าอาหารและเครื่องดื่มประชุมครั้งที่ 1/66 เป็นเงิน 575.- บาท 2. ค่าตอบแทนประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2/66 เป็นเงิน 5,700.- บาท

            คงเหลือตามบัญชีเงินฝาก เป็นเงิน 432,161.69 บาท

อาศัยอำนาจ ข้อ 16 คณะกรรมการกองทุนมีอำนาจหน้าที่ (6) พิจารณาให้ความเห็นชอบรายงาน ผลการดำเนินงาน รายงานการรับเงิน การจ่ายเงิน และเงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อ เห็นชอบ

มติที่ประชุม เห็นชอบเป็นเอกฉันท์ 14 คน

นางสาวรอชีมี 4.2 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ อาศัยอำนาจ ข้อ 17 คณะกรรมการกองทุนมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศนี้หรือตามที่คณะกรรมการกองทุนมอบหมาย เพื่อ เห็นชอบ/อนุมัติเพื่อ เห็นชอบ/อนุมัติ ประธาน ขอให้ร่วมพิจารณาคำสั่งเรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนฯ ตามที่ร่างแนบมาครับ
ประธาน มีใครจะเสนอหรือเพิ่มเติมแก้ไขในร่างคำสั่งไหมครับเชิญเสนอได้ นายราเสด ผมขออนุญาตสอบถามครับ เนื่องจากในร่างคำสั่ง ยังไม่มีชื่อนายรอมศรี เป็นอนุกรรมการ และควรจัดมีการอบรมให้ความรู้คณะกรรมการชุดใหม่ด้วยครับ เพราะมีกรรมการใหม่มาเข้าร่วมเป็นกรรมการในครั้งนี้หลายท่าน และขอเสนอให้นายนพดลเป็นผู้ช่วยในการจัดอบรมด้วยครับ เนื่องจากนายนพดลมีความรู้ด้านการจัดอบรมครับ นายนพดล ยินดีให้ความร่วมมือช่วยเหลือครับ ประธาน มอบหมายกองสาธารณสุขจัดทำโครงการอบรมคณะกรรมการชุดใหม่เพื่อได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำงาน และศึกษาข้อกฎหมายและระเบียบในการจัดอบรมคณะกรรมการชุดใหม่ ต่อไปครับ น.ส.มุสลีม๊ะห์ ทางกองสาธารณสุขจะเพิ่มและใส่ชื่อนายรอมศรีไปในชุดคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการคะ  เนื่องจากรายชื่อตกหล่นอยู่
นายราเสด ผมขอเสนอเพิ่มเติมครับ เนื่องจากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ ผมอยากให้ให้มีผู้ร่วมเป็นอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการเพิ่มครับ เนื่องจากอยากให้มีผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญมาช่วยดูกลั่นกรองด้วย  โดยขอเสนอ นายไพรินทร์ และนางสาววรฎา เป็นผู้คัดกรองเพิ่มครับ น.ส.ฮอดีย๊ะ ดิฉันขอเสนอนายราเสดเพิ่มอีกท่านค่ะ
ประธาน มีท่านใดสงสัยสอบถามหรือจะเสนออะไรเพิ่มเติมอีกไหมครับ ถ้าไม่มีผมขอสรุปร่างแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ดังนี้ครับ
1. ให้เพิ่มนายรอมศรี เป็นคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ 2. ให้เพิ่มนายไพรินทร์, นายราเสด, น.ส.รฎา เป็นคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ ผมขอมติที่ประชุมครับ

มติที่ประชุม เห็นชอบ เป็นเอกฉันท์  12  คน ประธาน 4.3. แต่งตั้งกรรมการประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคจากยุงลายเป็นพาหะ อาศัยอำนาจ ข้อ 17 คณะกรรมการกองทุนมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศนี้หรือตามที่คณะกรรมการกองทุนมอบหมาย เพื่อ เห็นชอบ/อนุมัติ นายประสิทธิ์ ขอให้ทุกท่านร่วมเสนอรายชื่อเป็นกรรมการประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคจากยุงลายเป็นพาหะครับ นายยูสุบ ผมขอเสนอ นายนพดล กับ น.ส.นวิยา เป็นกรรมการประเมินโครงการครับ ประธาน ท่านใด จะเสนอเพิ่มเติมหรือไม่ครับ ถ้าไม่มีผมขอมติที่ประชุมครับ มติที่ประชุม เห็นชอบ เป็นเอกฉันท์  12  คน ประธาน 4.4 แต่งตั้งกรรมการประเมินโครงการรณรงค์จัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนเพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร อาศัยอำนาจข้อ17 คณะกรรมการกองทุนมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศนี้หรือตามที่คณะกรรมการกองทุนมอบหมายเพื่อเห็นชอบ/อนุมัติ ขอให้ทุกท่านร่วมเสนอรายชื่อเป็นกรรมการประเมินโครงการรณรงค์จัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหารครับ น.ส.นวิยา ดิฉันขอเสนอนายราเสด และนายกรียา เป็นกรรมการประเมินโครงการรณรงค์จัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนเพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหารค่ะ ประธาน ท่านใด จะเสนอเพิ่มเติมหรือไม่ครับ ถ้าไม่มีผมขอมติที่ประชุมครับ มติที่ประชุม เห็นชอบ เป็นเอกฉันท์  11  คน ระเบียบวาระที่ 5  เรื่องอื่น ๆ
ประธาน ผมขอหารือเรื่องเสื้อกองทุนฯ ขอมอบหมายให้ น.ส.มีณาและกรรมการ อสม. ช่วยหาร้านและแบบเสื้อเพื่อมาเสนอในการประชุมครั้งหน้าครับ นายยูโสบ กล่าวขอบคุณที่ได้รับคัดเลือกมาเป็นกรรมการชุดใหม่ และยินดีจะทำงานให้เต็มที่ที่สุดครับ
ประธาน ไม่ทราบว่าคณะกรรมการมีเรื่องใดจะเสนออีกบ้าง หากคณะกรรมการไม่มีอะไรแล้วผมขอขอบคุณ  ทุกท่านที่ ได้เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน และขอให้คณะกรรมการร่วมประชุมครั้งต่อไป  อย่างพร้อมเพรียงกัน ขอบคุณครับ         เลิกประชุม  เวลา 12.00 น.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เลิกประชุม  เวลา 12.00 น.

วาระการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เกตรี ครั้งที่ 2/256628 ธันวาคม 2565
28
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลเกตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุม  เวลา  09.30  น.
เมื่อที่ประชุมพร้อมแล้ว ประธานในที่ประชุมได้กล่าวเปิดการประชุม ตามระเบียบวาระ ดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ นายทรงพล 1.1 เงินสนับสนุนจาก สปสช.แห่งชาติ  ยังไม่ได้โอนเงินให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเนื่องจาก ประกาศฯ รมต.สช.ลงนาม
ผมขอชี้แจงว่ากำลังดำเนินการอนุมัติแผน เพื่ออัฟโหลดข้อมูลให้ครบถ้วน จากนั้นเมื่อเสร็จสิ้น เงินสนับสนุนจาก สปสช.จะโอนเข้าในบัญชีกองทุน 
นายทรงพล 1.2 คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เกตรี ครบวาระ 4 ปี เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.65 ตามประกาศฯ 2565 ข้อ 13 ให้กรรมการตามข้อ 12 (2) (3) (4) (5) (6) และ (7)  มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีนับตั้งแต่วันที่ออกคำสั่ง
เมื่อครบกำหนดวาระตามวรรคหนึ่งแล้ว  หากยังมิได้คัดเลือกกรรมการขึ้นใหม่ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป  จนกว่ากรรมการซึ่งได้รับการคัดเลือกขึ้นใหม่เข้ารับหน้าที่  แต่ต้องไม่เกินเก้าสิบวัน  นับแต่วันที่กรรมการพ้นจากตำแหน่ง ตามคำแต่งตั้งคณะกรรมการที่ครบวาระดังกล่าว  ขอแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าทางอนุกรรมการได้ส่งหนังสือเพื่อประสานผู้ใหญ่หรือผู้นำชุมชนและประธาน อสม.จัดประชุมเพื่อคัดเลือกกันเองอย่างเปิดเผยและส่งรายชื่อประประชุมคัดเลือกอีกครั้งในลำดับถัดไป นายทรงพล 1.3.แจ้งแนวทางการคัดเลือกคณะกรรมการกองทุนฯ ผู้แทนหมู่บ้านและอสม. ผมขอชี้แจงขั้นตอนการคัดเลือกคณะกรรมการกองทุนฯ ผู้แทนหมู่บ้านและอสม. โดยจะมีการประชุมคัดเลือกในวันที่ 29 ธันวาคม 2565
นายทรงพล 1.4.ฐานะทางการเงินของกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เกตรี     - ชี้แจงฐานะทางการเงินยอดยกมาเดือน พ.ย. 2565        เป็นเงิน 437,686.69 บาท

            คงเหลือตามบัญชีเงินฝาก                                เป็นเงิน 437,686.69 บาท มติที่ประชุม      รับทราบ ระเบียบวาระที่ 2  เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว เลขานุการเสนอรายงานการประชุม ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2565 ให้ที่ประชุมรับรอง โดยมอบหมายให้วรรณดีเป็นผู้แจ้งรายละเอียด น.ส.วรรณดี แจ้งที่ประชุมทราบค่ะ สรุปการประชุมครั้งที่ 1/ 2566 วันที่ 27 ตุลาคม  2565 
มติที่ประชุม      รับรองรายงานการประชุมฯ  ครั้งที่ 1/ 2566 วันที่ 27 ตุลาคม  2565 ระเบียบวาระที่ 3  เรื่องรายงานการติดตามโครงการที่ผ่านการอนุมัติไปแล้ว
นางสาวร่อชีมี  3.1.โครงการการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขภาวะคนในชุมชน (ดำเนินการเสร็จแล้ว) 3.2.โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพขยับกายสบายชีวี (ดำเนินการเสร็จแล้ว) 3.3.โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคจากยุงลายเป็นพาหะ (ดำเนินการเสร็จแล้ว) 3.4.โครงการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน(CPR) (ดำเนินการเสร็จแล้ว) 3.5.โครงการคนบ้านไร่ กินดี อยู่ดี สุขภาพดี มีความสุข (ดำเนินการเสร็จแล้ว) 3.6.โครงการรณรงค์รักษ์สิ่งแวดล้อมห่างไกลโรคติดต่อ (ดำเนินการเสร็จแล้ว) มติที่ประชุม รับทราบ ระเบียบวาระที่ 4  เรื่องเพื่อพิจารณา
มูสลีม๊ะห์ 4.1.เพิ่มแผนโครงการรณรงค์จัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนเพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร
ประเภทที่ 2
ชื่อโครงการ
โครงการรณรงค์จัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้แกนนำชุมชน  รณรงค์สร้างความตระหนักให้กับประชาชนในการจัดการขยะอินทรีย์      ในครัวเรือน เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร 2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชน  ในการจัดการขยะอินทรีย์โดยมีแกนนำชุมชนเป็นต้นแบบและนำร่องในการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร เพื่อให้ตำบลเกตรี  มีผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางอาหารลดลง วิธีดำเนินงาน 1. ขั้นเตรียมการ - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ - ติดต่อประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน - จัดหา วัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในการดำเนินการ 2. ขั้นดำเนินงาน   กิจกรรม Kick off รณรงค์จัดทำถังขยะอินทรีย์ในครัวเรือน เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหารพร้อมกันในตำบลเกตรี
2.1 แกนนำชุมชน รณรงค์สร้างความตระหนัก แก่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อติดตั้งถังขยะปียก ลดโลกร้อน ป้องกันโรค
2.2 มอบถังขยะเปียก แก่แกนนำชุมชน เพื่อนำร่องในการจัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อน ป้องกันโรค 2.3 มอบถังขยะเปียก ลดโลกร้อน ป้องกันโรค แก่ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ
3. ขั้นประเมินผล - สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานผล กลุ่มเป้าหมาย แกนนำชุมชน จำนวน 70 คน   ระยะเวลาดำเนินงาน ตุลาคม 2565 – กันยายน 2566 รายละเอียดงบประมาณ 1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1
2  เมตรๆละ 150 บาท จำนวน 1 ป้าย  เป็นเงิน 300 บาท 2. ค่าป้ายไวนิลรณรงค์ ขนาด 1*2 เมตรๆละ 150 บาท จำนวน 7 ป้าย เป็นเงิน 2,100 บาท 3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 70 คน  เป็นเงิน 1,750 บาท 4. ค่าถังขยะเปียก จำนวน 1,000 ถังๆละ 100 บาท  เป็นเงิน 100,000 บาท 5. ค่าอื่นๆที่จำเป็นในโครงการ 5,000 บาท     รวม 109,150.- บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกตำบลเกตรี
ประธาน ขอให้นายทรงพล สารบัญ อธิบายเพิ่มเติม เกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการ นายทรงพล ดำเนินการเชิงรณรงค์เชิญชวนและให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการเกิดโรคที่จะตามมาโดยจะโอนงบประมาณมาจากประเภทที่ 5 กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ งบประมาณ 167,171.44 บาท โดยโอนลดเป็นเงิน 110,200.-บาท จะเหลืองบประมาณ เป็นเงิน  56,971.44 บาท โอนเพิ่มเข้าประเภทที่ 2 สนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กร ประชาชนหรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่ เป็นเงิน550,140.-บาท และโอนเพิ่ม จำนวน  110,200.-บาท รวมเป็นเงินทั้งสินจำนวน  660,340.- บาท ปลัดฯ โครงการเพื่อการป้องกันโรค เป็นหน้าที่ของ สปสช.เพื่อดูแลสุขภาพคนในชุมชน ดังนั้น อยากให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเกิดประโยชน์ที่สุด โดยขอความร่วมมือมือกลุ่มสมาชิก อถล. จัดทำแผนการทำงานเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างรวดเร็ว
ประธาน ผมอยากให้คณะกรรมการช่วยดูงบประมาณว่าเหมาสมและเพียงพอหรือไม่ และท่านใดมีความคิดเห็นจะเสนอแนะเพิ่มเติมหรือไม่ นายราเสด อยากเสนอว่าอยากให้ชาวบ้านในชุมชนได้มีส่วนร่วมอย่างจริง  เพราะถ้าเต็มใจทำจะเป็นการสานต่ออย่างต่อเนื่องและเกิดประสิทธิภาพ เน้นย้ำให้ชาวบ้านมีส่วนร่วม และร่วมทำอย่างเต็มใจ และผมขอเสนอตัวเองเข้าไปขอความร่วมมือกับกลุ่ม อถล.แต่ละหมู่บ้านและวางแผนติดตามโครงการในครั้งต่อไป นายนพดล อยากให้เข้าไปแนะนำวิธีทำ ให้ความรู้การเกิดโรคจากขยะเปียก และควรให้ อสม.เข้าร่วม โยให้ดำเนินการอย่างรวดเร็วหากงบพร้อม คนพร้อม อุปกรณ์พร้อม และขอให้เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าแก้ปัญหา
ปลัดฯ ผมเห็นด้วยกับท่านราเสดและท่านนพดล  ควรรีบดำเนินการตามเป้าหมายที่เขียนโครงการ ว่าส่วนไหนรับผิดชอบงานไหน แบ่งงานให้เป็นสัดส่วน เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินงาน เมื่อครงการอนุมัติตามแผน ให้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป นายทรงพล ทางกลุ่มมีแกนนำอยู่แล้วเพื่อรอดำเนินการตามโครงการ นางสาวฮอดีย๊ะ อยากให้คำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริง หากเราเข้าถึงชาวบ้าน จะได้ทำความเข้าใจต่อเนื่องและติดตามในขั้นตอนต่อๆไปเพื่อให้ดำเนินการในระยะยาว เพื่อการป้องกันทำครั้งเดียวแล้วไม่สานต่อ นางสาววราฎา อยากให้คำนึงเรื่องการควบคุมโรคทางเดินอาหาร และให้ความรู้ถึงอันตรายข้อดีและข้อเสียของการป้องกันโรค เพราะไม่อยากอยากให้ทำจบในครั้งเดียว อยากให้มีการสานต่ออย่างต่อเนื่อง นายทรงพล แผนการดำเนินงานอยากให้โยงไปที่เรื่องขยะเปียก และขยะเปียกเป็นพาหะนำโรคต่างๆให้ชาวบ้านตระหนักเรื่องการป้องกันโรค และอยากให้มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดูแลติดตามหมู่บ้านละ 2 คน และจัดอบรมให้ความรู้ต่อเนื่อง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน นายไพรินทร์ อยากให้สะท้อนตรงจุดเพื่อดำเนินการในระยะยาว และเข้าร่วมอย่างเต็มใจ เพราะบางคนไม่มีเวลาในการดำเนินการ ปลัดฯ ทาง อบต.เกตรี จะมอบหมายให้พนักงานช่วยกันเจาะถังให้ทั้งหมด และเข้าถึงบ้านของประชาชนเพื่อแนะนำการใช้งานอย่างถูกต้อง  และจัดทำป้ายไวนิลและแผ่นพับแจกแต่ละหมู่บ้าน นายและ ให้ อสม.ประสานโดยตรงเนื่องเพราะประชาชนในชุมชนจะสนิทสนมและเชื่อใจกลุ่ม อสม.เป็นจำนวนมาก โดยขอความร่วมมือในการดำเนินการต่อเนื่อง นางสาวฮอดีย๊ะ ขอความร่วมมือนายและ ให้ความรู้ในฐานะผู้นำด้านศาสนา ช่วยประชาสัมพันธ์อันตรายจากขยะเปียก จากแรงศรัทธาของคนในชุมชน ประธาน มีท่านใดเสนอความคิดเห็นอีกบ้างหรือไม่  หรือไม่มีผมขอมติที่ประชุม
มติที่ประชุม เห็นชอบเป็นเอกฉันท์  13 คน
ประธาน ผมขอมติที่ประชุมเพื่อขออนุมัติแผนโครงการ
มติที่ประชุม เห็นชอบเป็นเอกฉันท์ 13 คน
นายทรงพล แจ้งรายละเอียดของโรคไข้เลือดออกระบาด ขออนุมัติโครงการงบประมาณ 70,000.-บาท นางสาวมีณา สอบถามเกี่ยวกับเครื่องพ่นหมอกควันที่ชำรุด และหากซื้อเพิ่มมีงบประมาณหรือเปล่าเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน
นายทรงพล การซื้อครุภัณฑ์กองทุนไม่สามารถซื้อได้  ต้องให้ส่วนของ อบต.เป็นการดำเนินการจัดซื้อ แต่ในส่วนของเครื่องที่ส่งซ่อมจะเร่งดำเนินการให้เร่งด่วนเพื่อการสะดวกในการใช้งาน ประธาน ผมขอมติที่ประชุมเพื่อขออนุมัติโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคจากยุงลายเป็นพาหะ        งบประมาน 70,000.- บาท มติที่ประชุม เห็นชอบเป็นเอกฉันท์ 13 คน
ระเบียบวาระที่ 5  เรื่องอื่น ๆ
ประธาน ให้นายทรงพล  สารบัญ กล่าวอำลาคณะกรรมการ สปสช. เนื่องจากย้ายไปปฏิบัติงานที่ อบต.ฉลุง นายทรงพล กล่าวอำลาต่อคณะกรรมการ ประธาน ไม่ทราบว่าคณะกรรมการมีเรื่องใดจะเสนออีกบ้าง หากคณะกรรมการไม่มีอะไรแล้วผมขอขอบคุณ  ทุกท่านที่ ได้เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน และขอให้คณะกรรมการร่วมประชุมครั้งต่อไป  อย่างพร้อมเพรียงกัน ขอบคุณครับ         เลิกประชุม  เวลา 12.00 น.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เลิกประชุม  เวลา 12.00 น.

วาระการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เกตรี ครั้งที่ 1/256627 ตุลาคม 2565
27
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลเกตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุม  เวลา  09.30  น.
เมื่อที่ประชุมพร้อมแล้ว ประธานในที่ประชุมได้กล่าวเปิดการประชุม ตามระเบียบวาระ ดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 1.1แนะนำเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุข นางสาวณารียา  มนูญดาหวี  ตำแหน่ง ลูกจ้างทั่วไป นางสาวณารียา  มนูญดาหวี  กล่าวแนะตัวตัวต่อประธานและคณะกรรมการ นายทรงพล 1.2  รายงานทางการเงิน ปี 2565 ชี้แจงรายละเอียดและสรุปงบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ปี 2565 ของประเภทที่ 1,2,3,4,5 งบประที่ตั้งไว้และงบประมาณที่จ่ายจริงและยอดคงเหลือ 442,186.69 บาท ซึ่งยอด ในสมุดบัญชีธนาคารและยอดในระบบตรงกัน นายทรงพล 1.3 วาระของคณะกรรมการ ตามคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี ที่ 202/2561 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2561 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ แจ้งที่ประชุมทราบเรื่องหมดวาระของคณะกรรมการ ตามคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี ที่ 202/2561 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2561 เรื่องแต่งตั้งคณะกกรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ  ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา หน้าที่ 30 ข้อ 13 ให้กรรมการตาม      ข้อ 12  (2) (3) (4) (5) (6) และ(7) มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี นับตั้งแต่วันที่ออกคำสั่ง โดยจะดำเนินการส่งหนังสือเพื่อดำเนินการคัดเลือกคณะกรรมการชุดใหม่ ภายในเดือนธันวาคม 2565 โดยมีหลักเกณฑ์คัดเลือก - ตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การคัดเลือกกรรมการกองทุน หลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 4 การคัดเลือกกรรมการที่มาจากหัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิที่จัดบริการสาธารณสุขในท้องถิ่น ในกรณีในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดมีหน่วยบริการปฐมภูมิที่จัดบริการสาธารณสุขใน ท้องถิ่นมากกว่าสองแห่งขึ้นไป ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชิญหัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิที่ จัดบริการสาธารณสุขในท้องถิ่น  เพื่อจัดให้มีการประชุมคัดเลือกกันเองอย่างเปิดเผย ให้ได้หัวหน้า หน่วยบริการปฐมภูมิที่จัดบริการสาธารณสุขในท้องถิ่น จำนวนไม่เกิน 2 คน เป็นกรรมการ ข้อ 5 การคัดเลือกกรรมการที่มาจากอาสาสมัคสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในท้องถิ่นโดยให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ ดังนี้ (1.)ประสานประธาน อสม.จัดประชุมประจำหมู่บ้าน เพื่อคัดเลือกกันเองอย่างเปิดเผย ให้ อสม.แต่ละหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 คน (2.)จัดให้มีการประชุมผู้แทน อสม.ในแต่ละหมู่บ้าน ตาม (1) โดยให้คัดเลือกกันเองอย่างเปิดเผยให้ อสม.ในหมู่บ้านจำนวน 2 คน เป็นกรรมการ ข้อ 6 การคัดเลือกกรรมการที่มาจากผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชนที่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนคัดเลือกกันเอง โดยให้ดำเนินการ ดังนี้ (1.)ประสานผู้ใหญ่หรือผู้นำชุมชน จัดประชุมในแต่ละหมู่บ้านเพื่อคัดเลือกกันเองอย่างเปิดเผยให้ได้ผู้แทน ชุมชนละหนึ่งคน (2.)จัดให้มีการประชุมผู้แทน ตาม (1) โดยให้คัดเลือกกันเองอย่างเปิดเผย ให้ได้ผู้แทนในหมู่บ้านจำนวนไม่เกิน 5 คน เป็นกรรมการ ข้อ 7  เมื่อได้กรรมการตามข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 ครบถ้วนแล้ว ให้ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกคำสั่งแต่งตั้งเป็นกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพและแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต ทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่งแต่งตั้ง ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561 นายราเสด ผมขอสอบถามว่าต้องทำหนังสือแจ้งมั้ยครับ นายทรงพล ทางอนุกรรมการจะจัดทำหนังสือส่งให้เพื่อดำเนินการครับ มติที่ประชุม      รับทราบ ระเบียบวาระที่ 2  เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
    เลขานุการเสนอรายงานการประชุม ครั้งที่ 5/2565  เมื่อวันที่ 14  กันยายน  2565 
                        ให้ที่ประชุมรับรอง โดยมอบหมายให้วรรณดีเป็นผู้แจ้งรายละเอียด น.ส.วรรณดี แจ้งที่ประชุมทราบ สรุปการประชุมครั้งที่ 5/ 2565 วันที่ 14  กันยายน  2565 
มติที่ประชุม      รับรองรายงานการประชุมฯ  ครั้งที่ 5/2565  เมื่อวันที่ 14  กันยายน  2565  ระเบียบวาระที่ 3  เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ 3.1 ฐานะทางการเงินของกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เกตรี นายทรงพล - ชี้แจงฐานะทางการเงินยอดยกมาเดือน ส.ค. 2565 เป็นเงิน 442,186.69 บาท     คงเหลือตามบัญชีเงินฝาก เป็นเงิน 442,186.69 บาท มติที่ประชุม      รับทราบ ระเบียบวาระที่ 4  เรื่องรายงานการติดตามโครงการที่ผ่านการอนุมัติไปแล้ว
น.ส.มูสลีมะห์ ชี้แจงโครงการที่ขอขยายเวลาถึงเดือนธันวาคม 2565 มีดังนี้ 1.โครงการรณรงค์รักษ์สิ่งแวดล้อมห่างไกลโรคติดต่อ (ดำเนินการแล้ว โครงการใหญ่ 1 ครั้ง โครงการย่อย 1 ครั้ง เหลือโครงการย่อย 6 ครั้ง) 2.โครงการคนบ้านไร่ กินดี อยู่ดี สุขภาพดี มีความสุข (ดำเนินการแล้ว 3 ครั้ง เหลือ 1 ครั้ง) 3.โครงการการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขภาวะคนในชุมชน (ดำเนินการแล้ว 2 ครั้ง เหลือ 2 ครั้ง) 4.โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพขยับกายสบายชีวี (ดำเนินการแล้ว 3 ครั้ง เหลือ 1 ครั้ง) 5.โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคจากยุงลายเป็นพาหะ (ดำเนินการแล้ว 1 ครั้ง เหลือ 1 ครั้ง) 6.โครงการสตรีมีความรู้สู้ภัยมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมเชิงปฏิบัติการ (ดำเนินการเสร็จแล้ว) 7.โครงการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน(CPR) (จะดำเนินการวันที่ 4 พ.ย. 65) นายทรงพล ขอให้เจ้าของโครงการสรุปโครงการคณะกรรมการประเมินโครงการสตรีมีความรู้สู้ภัยมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมเชิงปฏิบัติการพูดถึงกิจกรรมนี้ให้ที่ประชุมทราบว่าเป็นอย่างไร นางยุภาพร ดิฉันเป็นตัวแทนของโครงการ ขอแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า  โครงการสตรีมีความรู้สู้ภัยมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมเชิงปฏิบัติการ ได้จัดอบรมเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2565 ณ โรงเรียน      ราชประชานุเคราะห์ 42 โดยกลุ่มเป้าหมายมาครบและให้ความสนใจกับกิจกรรมตรวจมะเร็ง    ปากมดลูก ณ รพ.สต.บ้านวังพะเนียด  กลุ่มเป้าหมายครบและเป็นไปตามวัตถุประสงค์

นายนพดล ผมในฐานะกรรมการผู้ประเมินโครงการสตรีมีความรู้สู้ภัยมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมเชิง ปฏิบัติการขอชื่นชมเกี่ยวกับโครงการนี้มากๆเพราะเกิดประโยชน์ต่อคนในชุมชนเป็นอย่างดีและมี วิทยากรที่เก่งให้ความรู้ที่เก่ง สามารถให้ความรู้แก่ประชาชนได้อย่างเข้าใจง่ายและสามารถนำมาใช้ ในชีวิตประจำวันได้

น.ส.มีณา ดิฉันเป็นกรรมการผู้ประเมินโครงการสตรีมีความรู้สู้ภัยมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมเชิง ปฏิบัติการขอชื่นชมเกี่ยวกับโครงการนี้เช่นกัน  ได้เข้าร่วม ได้เห็นความร่วมมือของผู้จัดโครงการ และ มีผู้เข้าร่วมอย่างที่ตั้งเป้าไว้ และประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง และขอให้มีโครงการดีๆแบบนี้ อีก เพื่อประโยชน์ของคนในชุมชน
มติที่ประชุม รับทราบ ระเบียบวาระที่ 5  เรื่องเพื่อพิจารณา
1.แผนการเงิน ปีงบประมาณ 2566 นายทรงพล แจ้งให้คณะกรรมการทราบเรื่องแผนการเงิน ประจำปีงบประมาณ 2566
แผนการรับเงิน -โดยเงินคงเหลือยกมา จำนวนเงิน 442,186.69 บาท -เงินโอนจาก สปสช. จำนวนเงิน 300,735.00 บาท -เงินสมทบจาก อปท. จำนวนเงิน 250,000.00 บาท -รายได้อื่นๆ          -ไม่มี- รวมเงินทั้งสิ้น จำนวนเงิน 992,921.69 บาท น.ส.ร่อชิมี 2. แผนสุขภาพ ปีงบประมาณ 2566 -ประเภทที่ 1  มีจำนวน    2  โครงการ  จำนวนเงิน   115,000.00 บาท -ประเภทที่ 2  มีจำนวน  17  โครงการ  จำนวนเงิน   550,140.00 บาท -ประเภทที่ 3  มีจำนวน    2  โครงการ  จำนวนเงิน     48,000.00 บาท -ประเภทที่ 4  มีจำนวน    1  โครงการ  จำนวนเงิน     82,610.00 บาท -ประเภทที่ 5  มีจำนวน    1  โครงการ  จำนวนเงิน   167,171.44 บาท -ประเภทที่ 6  การใช้เงินตามมติบอร์ด (ยังไม่มีโครงการตามแผน) โดยมีงบประมาณ 30,000 บาท น.ส.ร่อชีมี 3.โครงสร้างการเงิน  ปีงบประมาณ 2566 -โครงสร้างการเงิน  ปีงบประมาณ 2566 ดังนี้ -ประเภทที่ 1  สนับสนุน/ส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ/สถานบริการ/ หน่วยงานสาสุขในพื้นที่ 13  เปอร์เซ็น เป็นเงิน 115,000.00 บาท -ประเภทที่ 2  สนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กร ประชาชนหรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่ 61  เปอร์เซ็น  เป็นเงิน 550,140.00 บาท -ประเภทที่ 3  สนับสนุนศูนย์เด็กเล็กศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพผู้สูงอายุและคนพิการ 5 เปอร์เซ็น เป็นเงิน   48,000.00 บาท -ประเภทที่ 4  สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ ให้มีประสิทธฺภาพ              15 เปอร์เซ็น  เป็นเงิน  82,610.00 บาท -ประเภทที่ 5  กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ 18  เปอร์เซ็น  เป็นเงิน   167,171.44 บาท -ประเภทที่ 6  การใช้เงินตามมติบอร์ด (ผ้าอ้อม/ชะลอไตเสื่อม,ภาวะโภชนาการเด็ก) 3 เปอร์เซ็น เป็นเงิน 30,000.00 บาท นายทรงพล มีท่านใดสงสัยหรือสอบถามอะไรบ้างครับ นายราเสด ผมขอสอบถามว่า ประเภทที่ 6 ชุมชนเรามีผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องการความช่วยเหลือจำนวนกี่คนครับ นายทรงพล ผมขอแจ้งที่ประชุมทราบว่า ชุมชนมีผู้ป่วยที่ต้องใช้ผ้าอ้อม จำนวน 6 คน ผู้ป่วยติดเตียงยังไม่ได้ สำรวจ เนื่องจากเพิ่งสมัคสมาชิก ประเภทที่ 6 ไป รอดำเนินการ
นายราเสด ทางกองทุนมีนโยบายช่วยเหลือ ควรมีงบประมาณที่มากกว่านี้ และ 1 คนควรใช้งบเท่าไหร่และ 1 ปี ต้องใช้งบเท่าไหร่ที่เพียงพอในการช่วยเหลือผู้ป่วย นายทรงพล งบ LTC มีการสนับสนุน รายละ 6,000.- บาท แต่ต้องผ่านเกณฑ์ก่อน ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ เนื่องจากอยู่ในขั้นตอนสมัค ประธาน โครงการประเภทที่ 6 ผมอยากขอความร่วมมือจาก รพ.สต เป็นผู้ดำเนินการเป็นตัวหลักเกี่ยวกับ โครงการประเภทที่ 6 เพื่อให้เข้าถึงและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย นายทรงพล ผมขอเสนอว่าหาก ทาง รพ.สตเป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการ จะทำงานได้สะดวกและรวดเร็วเพราะ      มีระเบียบรองรับสามารถทำเบิกงบได้เลยจากระบบ แต่ต้องจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุฯ แต่ หากเป็นทางศูนย์ฟื้นฟูผู้พิการฯ มีหลักเกณฑ์เยอะ โดยค่อยหารือใหม่ในประชุมครั้งหน้า เพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยและท่านใดมีความคิดเห็นเสนอหรือลดเปอร์เซ็นของประเภทต่างๆ หรือมี ความคิดเห็นอย่างไรเชิญเสนอต่อที่ประชุมได้ครับ นายนพดล ผมขอเสนอประเภทที่ 1  จำนวน 10 เปอร์เซ็น นำมาเพิ่มที่ประเภทที่ 2 รึว่า ประเภทที่ 5 มาเพิ่ม ในประเภทที่ 2 นายราเสด ผมคิดว่าประเภทที่ 5 เหมาะสมแล้ว ไม่ควรโอนลด เพราะการเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติเป็น เหตุการณ์ที่ไม่สามารถรู้ได้ในอนาคต นายทรงพล ผมขอแจ้งให้คณะกรรมการทราบว่า ประเภทที่ 1,2,3,4 ต้องดำเนินการตามแผน ลดไม่ได้ ส่วนที่ ลดได้คือประเภทที่ 5,6 ที่ปรับลดได้ เนื่องจากต้องดำเนินการไปตามแผน ประธาน ขอมติที่ประชุมเพื่อผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2566 มติที่ประชุม เห็นชอบเป็นเอกฉันท์  9 คน  และงดออกเสียง  1  คน น.ส.วรรณดี 4. โครงการประเภทที่ 4 -โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เกตรีประจำปี 2566
-เรื่องขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เกตรี            ประจำปี 2566
หลักการและเหตุผล กองทุนหลักประกันสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อใช้ในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ  และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ของศูนย์เด็กเล็ก หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการกิจกรรมเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ กิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ และกิจกรรมการ  ใช้มติบอร์ด สปสช./ปัญหาในพื้นที่(ผ้าอ้อม/ชะลอไตเสื่อม,ภาวะโภชนาการเด็ก) ซึ่งกิจกรรมเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานอื่น ๆ ที่กรรมการกองทุนแต่งตั้ง ให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ที่จำเป็น วัตถุประสงค์ 1. เพื่ออนุมัติแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ 2. เพื่อจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์สนับสนุนการทำงานกองทุนฯ 3. เพื่อพัฒนาศักยภาพกรรมการ คณะกรรมการกองทุนฯ เจ้าหน้าที่และบุคลากรสำหรับดำเนินงานและช่วยงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรีให้เกิดประสิทธิภาพ 4. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ ระเบียบ ประกาศและคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการและดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย - คณะกรรมการกองทุนฯ จำนวน  20 คน - คณะอนุกรรมการกองทุนฯ จำนวน  4  คน วิธีดำเนินการ ขั้นตอนวางแผนงาน     1. ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม     2. กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ ขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการกองทุน ที่ปรึกษา และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ 1.ติดต่อประสานงานคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมายการประชุม 2.จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน 3.จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม 4.ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด -  จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษา อย่างน้อย 6 ครั้ง/ปี -  จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ อย่างน้อย 6 ครั้ง/ปี -  สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการกองทุนฯ 1. จัดอบรมแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่แก่คณะกรรมการกองทุนฯและคณะอนุกรรมการ 2. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่กับกองทุนฯอื่น ๆ
3. เข้าร่วมการประชุม สัมมนา อบรมการดำเนินงานกองทุนฯ กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามประเมินโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนฯ
1. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี โดยคณะกรรมการกองทุนฯ  จำนวน 2 คน /โครงการ 2. นำเสนอผลการติดตามประเมินโครงการให้คณะกรรมการกองทุนฯ รับทราบในการประชุมคณะกรรมการฯ กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมทำแผนสุขภาพตำบล ปี 2567 1.จัดประชุมทำแผนสุขภาพตำบล ปี 2567  ของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี 2.บันทึกข้อมูลแผนสุขภาพตำบลในระบบออนไลน์ กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมติดตามและประเมินโครงการที่ขอขยายประจำปี 2565
1. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี โดยคณะกรรมการกองทุนฯ  จำนวน 2 คน /โครงการ 2. นำเสนอผลการติดตามประเมินโครงการให้คณะกรรมการกองทุนฯ รับทราบในการประชุมคณะกรรมการฯ ซึ่งมีโครงการ ดังนี้ 1)โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคจากกยุงลายเป็นพาหะ ขยายถึงธันวาคม พ.ศ.2565   2)โครงการรณรงค์รักษ์สิ่งแวดล้อมห่างไกลโรคติดต่อ ขยายถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2565   3)โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพขยับกายสบายชีวี ขยายถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2565   4)โครงการคนบ้านไร่ กินดีอยู่ดี มีความสุข ขยายถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2565   5)โครงการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขภาวะคนในชุมชน ขยายถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2565   6)โครงการการปฐมพยาบาลเบื้องต้น  การช่วยฟื้นคืนชีพพื้นฐาน (CPR) ขยายเวลาถึงเดือน         พฤศจิกายน พ.ศ.2565 4. ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม  2565 - เดือนกันยายน  2566 5. สถานที่ดำเนินการ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรีและห้องประชุมเอกชน
6. งบประมาณ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี ประเภทที่ 4 สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ  82,610.25 บาท (เงินแปดหมื่นสองพันหกร้อยสิบบาทยี่สิบห้าสตางค์) รายละเอียด  ดังนี้ กิจกรรมที่ 1  จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ที่ปรึกษาและคณะอนุกรรมการ เป็นเงิน  44,400.- บาท 1.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับคณะกรรมการกองทุนฯ ที่ปรึกษา และคณะอนุกรรมการ กองทุนฯ  24 คน ๆ ละ 25 บาท 1 มื้อ จำนวน 6 ครั้ง  เป็นเงิน 3,600.- บาท 1.2 ค่าเบี้ยประชุม - สำหรับคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักฯ  จำนวน 20 คน ๆ ละ 300  บาท จำนวน 6 ครั้ง            เป็นเงิน 36,000  บาท - สำหรับคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนหลักฯ จำนวน 4 คน ๆ ละ 200 บาท  จำนวน 6 ครั้ง  เป็นเงิน 4,800  บาท กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการกองทุนฯ เป็นเงิน 31,260.25  บาท 2.1จัดอบรมแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่แก่คณะกรรมการกองทุนฯและคณะอนุกรรมการ และประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่กับกองทุนฯอื่น ๆ เป็นเงิน  12,160.- บาท       - อาหาร  65 x 24 = 1,560.-บาท   - อาหารว่าง และเครื่องดื่ม  25 x 24 = 600.-  บาท ค่าวัสดุอื่นๆในการดำเนินโครงการ 10,000.- บาท 2.2ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประชุม สัมมนา อบรมการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่สำหรับคณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการกองทุนฯ เจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 19,100.25  บาท กิจกรรมที่ 3  ติดตามประเมินโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี  เป็นเงิน 5,000.- บาท 3.1 ค่าตอบแทนในการออกติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรีที่ดำเนินกิจกรรมตามโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  สำหรับคณะกรรมการประเมินโครงการ จำนวน 2 คน ๆ ละ 100 บาท จำนวน 25 โครงการ เป็นเงิน 5,000.- บาท กิจกรรมที่ 4  จัดทำแผนสุขภาพตำบล ปีงบประมาณ 2566  เป็นเงิน 750.- บาท 4.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ 30 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ      เป็นเงิน 750  บาท
กิจกรรมที่ 5  กิจกรรมติดตามและประเมินโครงการที่ขอขยายประจำปี 2565  เป็นเงิน 1,200.-บาท 5.1 ติดตามและประเมินโครงการที่ขอขยายเวลา ปี 2565 จำนวน 6 โครงการ จำนวน 2 คน ๆ ละ 100 บาท จำนวน 6 โครงการ เป็นเงิน 1,200.-บาท (เงินหนึ่งพันสองร้อยบาทถ้วน)

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 82,610.25 บาท (เงินแปดหมื่นสองพันหกร้อยสิบบาทยี่สิบห้าสตางค์) * หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้ 7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.กลุ่ม / ชมรม ผู้ขอรับสนับสนุนงบประมาณมีความเข้าใจหลักการในการเขียนโครงการมากขึ้น 2. คณะกรรมการกองทุนฯ มีความรู้และเข้าใจบทบาทของตนเองและสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.คณะกรรมการ อนุกรรมการกองทุนฯ มีความเข้าใจความสามารถเกิดการประสานงานความร่วมมือของเครือข่ายภาคีภาครัฐ ให้การสนับสนุนและผลักดันให้เกิดกระแสดีๆริเริ่มสร้างสรรค์ทางด้านการดูแลป้องกันเรื่องสุขภาพ 4.คณะกรรมการกองทุนฯนำความรู้ความเข้าใจจากการพัฒนาศักยภาพมาเป็นกระบวนการพัฒนาบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเพื่อการดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิตที่ดีห่างไกลภัยไข้เจ็บ 5.สำนักงานเลขากองทุนฯสามารถบริหารจัดการงานสำนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 8. ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประธาน ขอมติที่ประชุม มติที่ประชุม เห็นชอบเป็นเอกฉันท์  8 คน  และงดออกเสียง  3  คน  โดยอนุมัติให้ดำเนินการเบิกจ่าย งบประมาณได้ ตั้งแต่วันที่  27  ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ระเบียบวาระที่ 6  เรื่องอื่น ๆ
นายและ ผมขอเพิ่มเติมเรื่องการจัดโครงการต่างๆในชุมชน เนื่องจากในชุมชนเกตรีนี้มีประชาชนที่นับถือ ศาสนาอิสลามและนับถือพุทธ ซึ่งได้อยู่ร่วมกัน ผมเห็นโครงการต่างๆมีแต่พี่น้องอิสลามที่เข้าร่วม เสนอโครงการต่างๆ เพื่อสิทธิที่เท่าเทียมกันอยากให้พี่น้องไทยพุทธได้ร่วมกิจกรรมในการเสนอ โครงการบ้าง อยากฝากประชาสัมพันธ์การขอโครงการต่างๆให้มีการขอใช้งบเท่าเทียมกัน เพื่อการมี ส่วนร่วมที่ดีต่อๆไป ขอฝากไว้เพียงแค่นี้ครับ ประธาน ขอบคุณท่านอีม่าม (นายและ) ที่เสนอแนวทางที่ดีอีกแนวทางหนึ่งเพื่อประโยชน์คนในชุมชนมีสิทธิ เท่าเทียมกันครับ นายทรงพล ผมแจ้งให้ทราบว่ามีพี่น้องที่นับถือศาสนาพุทธเข้าร่วมบ้าง แต่ไม่มากเท่าที่ควร และเห็นด้วย กับการเสนอของท่านอีม่าม (นายและ) จึงขอฝากประธาน อสม.ประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องที่นับถือ ศาสนาพุทธเข้าร่วมมาเสนอโครงการต่างๆ ได้ครับ ประธาน ขอเพิ่มเพิ่มโครงการลอยกระทงของกองศึกษา เพื่อได้มีการเข้าร่วมภาคประชาชน โดยจะมีการหารือ อีกครั้งโดยจะแจ้งให้ทราบรายละเอียดอีกครั้ง

ประธาน ไม่ทราบว่าคณะกรรมการมีเรื่องใดจะเสนออีกบ้าง หากคณะกรรมการไม่มีอะไรแล้วผมขอขอบคุณ  ทุกท่านที่ ได้เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน และขอให้คณะกรรมการร่วมประชุมครั้งต่อไป  อย่างพร้อมเพรียงกัน ขอบคุณครับ         เลิกประชุม  เวลา 12.00 น.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เลิกประชุม  เวลา 12.00 น.