กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เกตรี ประจำปี 2566

วาระการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เกตรี ครั้งที่ 1/256627 ตุลาคม 2565
27
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลเกตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุม  เวลา  09.30  น.
เมื่อที่ประชุมพร้อมแล้ว ประธานในที่ประชุมได้กล่าวเปิดการประชุม ตามระเบียบวาระ ดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 1.1แนะนำเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุข นางสาวณารียา  มนูญดาหวี  ตำแหน่ง ลูกจ้างทั่วไป นางสาวณารียา  มนูญดาหวี  กล่าวแนะตัวตัวต่อประธานและคณะกรรมการ นายทรงพล 1.2  รายงานทางการเงิน ปี 2565 ชี้แจงรายละเอียดและสรุปงบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ปี 2565 ของประเภทที่ 1,2,3,4,5 งบประที่ตั้งไว้และงบประมาณที่จ่ายจริงและยอดคงเหลือ 442,186.69 บาท ซึ่งยอด ในสมุดบัญชีธนาคารและยอดในระบบตรงกัน นายทรงพล 1.3 วาระของคณะกรรมการ ตามคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี ที่ 202/2561 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2561 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ แจ้งที่ประชุมทราบเรื่องหมดวาระของคณะกรรมการ ตามคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี ที่ 202/2561 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2561 เรื่องแต่งตั้งคณะกกรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ  ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา หน้าที่ 30 ข้อ 13 ให้กรรมการตาม      ข้อ 12  (2) (3) (4) (5) (6) และ(7) มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี นับตั้งแต่วันที่ออกคำสั่ง โดยจะดำเนินการส่งหนังสือเพื่อดำเนินการคัดเลือกคณะกรรมการชุดใหม่ ภายในเดือนธันวาคม 2565 โดยมีหลักเกณฑ์คัดเลือก - ตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การคัดเลือกกรรมการกองทุน หลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 4 การคัดเลือกกรรมการที่มาจากหัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิที่จัดบริการสาธารณสุขในท้องถิ่น ในกรณีในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดมีหน่วยบริการปฐมภูมิที่จัดบริการสาธารณสุขใน ท้องถิ่นมากกว่าสองแห่งขึ้นไป ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชิญหัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิที่ จัดบริการสาธารณสุขในท้องถิ่น  เพื่อจัดให้มีการประชุมคัดเลือกกันเองอย่างเปิดเผย ให้ได้หัวหน้า หน่วยบริการปฐมภูมิที่จัดบริการสาธารณสุขในท้องถิ่น จำนวนไม่เกิน 2 คน เป็นกรรมการ ข้อ 5 การคัดเลือกกรรมการที่มาจากอาสาสมัคสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในท้องถิ่นโดยให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ ดังนี้ (1.)ประสานประธาน อสม.จัดประชุมประจำหมู่บ้าน เพื่อคัดเลือกกันเองอย่างเปิดเผย ให้ อสม.แต่ละหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 คน (2.)จัดให้มีการประชุมผู้แทน อสม.ในแต่ละหมู่บ้าน ตาม (1) โดยให้คัดเลือกกันเองอย่างเปิดเผยให้ อสม.ในหมู่บ้านจำนวน 2 คน เป็นกรรมการ ข้อ 6 การคัดเลือกกรรมการที่มาจากผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชนที่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนคัดเลือกกันเอง โดยให้ดำเนินการ ดังนี้ (1.)ประสานผู้ใหญ่หรือผู้นำชุมชน จัดประชุมในแต่ละหมู่บ้านเพื่อคัดเลือกกันเองอย่างเปิดเผยให้ได้ผู้แทน ชุมชนละหนึ่งคน (2.)จัดให้มีการประชุมผู้แทน ตาม (1) โดยให้คัดเลือกกันเองอย่างเปิดเผย ให้ได้ผู้แทนในหมู่บ้านจำนวนไม่เกิน 5 คน เป็นกรรมการ ข้อ 7  เมื่อได้กรรมการตามข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 ครบถ้วนแล้ว ให้ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกคำสั่งแต่งตั้งเป็นกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพและแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต ทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่งแต่งตั้ง ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561 นายราเสด ผมขอสอบถามว่าต้องทำหนังสือแจ้งมั้ยครับ นายทรงพล ทางอนุกรรมการจะจัดทำหนังสือส่งให้เพื่อดำเนินการครับ มติที่ประชุม      รับทราบ ระเบียบวาระที่ 2  เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
    เลขานุการเสนอรายงานการประชุม ครั้งที่ 5/2565  เมื่อวันที่ 14  กันยายน  2565 
                        ให้ที่ประชุมรับรอง โดยมอบหมายให้วรรณดีเป็นผู้แจ้งรายละเอียด น.ส.วรรณดี แจ้งที่ประชุมทราบ สรุปการประชุมครั้งที่ 5/ 2565 วันที่ 14  กันยายน  2565 
มติที่ประชุม      รับรองรายงานการประชุมฯ  ครั้งที่ 5/2565  เมื่อวันที่ 14  กันยายน  2565  ระเบียบวาระที่ 3  เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ 3.1 ฐานะทางการเงินของกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เกตรี นายทรงพล - ชี้แจงฐานะทางการเงินยอดยกมาเดือน ส.ค. 2565 เป็นเงิน 442,186.69 บาท     คงเหลือตามบัญชีเงินฝาก เป็นเงิน 442,186.69 บาท มติที่ประชุม      รับทราบ ระเบียบวาระที่ 4  เรื่องรายงานการติดตามโครงการที่ผ่านการอนุมัติไปแล้ว
น.ส.มูสลีมะห์ ชี้แจงโครงการที่ขอขยายเวลาถึงเดือนธันวาคม 2565 มีดังนี้ 1.โครงการรณรงค์รักษ์สิ่งแวดล้อมห่างไกลโรคติดต่อ (ดำเนินการแล้ว โครงการใหญ่ 1 ครั้ง โครงการย่อย 1 ครั้ง เหลือโครงการย่อย 6 ครั้ง) 2.โครงการคนบ้านไร่ กินดี อยู่ดี สุขภาพดี มีความสุข (ดำเนินการแล้ว 3 ครั้ง เหลือ 1 ครั้ง) 3.โครงการการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขภาวะคนในชุมชน (ดำเนินการแล้ว 2 ครั้ง เหลือ 2 ครั้ง) 4.โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพขยับกายสบายชีวี (ดำเนินการแล้ว 3 ครั้ง เหลือ 1 ครั้ง) 5.โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคจากยุงลายเป็นพาหะ (ดำเนินการแล้ว 1 ครั้ง เหลือ 1 ครั้ง) 6.โครงการสตรีมีความรู้สู้ภัยมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมเชิงปฏิบัติการ (ดำเนินการเสร็จแล้ว) 7.โครงการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน(CPR) (จะดำเนินการวันที่ 4 พ.ย. 65) นายทรงพล ขอให้เจ้าของโครงการสรุปโครงการคณะกรรมการประเมินโครงการสตรีมีความรู้สู้ภัยมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมเชิงปฏิบัติการพูดถึงกิจกรรมนี้ให้ที่ประชุมทราบว่าเป็นอย่างไร นางยุภาพร ดิฉันเป็นตัวแทนของโครงการ ขอแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า  โครงการสตรีมีความรู้สู้ภัยมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมเชิงปฏิบัติการ ได้จัดอบรมเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2565 ณ โรงเรียน      ราชประชานุเคราะห์ 42 โดยกลุ่มเป้าหมายมาครบและให้ความสนใจกับกิจกรรมตรวจมะเร็ง    ปากมดลูก ณ รพ.สต.บ้านวังพะเนียด  กลุ่มเป้าหมายครบและเป็นไปตามวัตถุประสงค์

นายนพดล ผมในฐานะกรรมการผู้ประเมินโครงการสตรีมีความรู้สู้ภัยมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมเชิง ปฏิบัติการขอชื่นชมเกี่ยวกับโครงการนี้มากๆเพราะเกิดประโยชน์ต่อคนในชุมชนเป็นอย่างดีและมี วิทยากรที่เก่งให้ความรู้ที่เก่ง สามารถให้ความรู้แก่ประชาชนได้อย่างเข้าใจง่ายและสามารถนำมาใช้ ในชีวิตประจำวันได้

น.ส.มีณา ดิฉันเป็นกรรมการผู้ประเมินโครงการสตรีมีความรู้สู้ภัยมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมเชิง ปฏิบัติการขอชื่นชมเกี่ยวกับโครงการนี้เช่นกัน  ได้เข้าร่วม ได้เห็นความร่วมมือของผู้จัดโครงการ และ มีผู้เข้าร่วมอย่างที่ตั้งเป้าไว้ และประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง และขอให้มีโครงการดีๆแบบนี้ อีก เพื่อประโยชน์ของคนในชุมชน
มติที่ประชุม รับทราบ ระเบียบวาระที่ 5  เรื่องเพื่อพิจารณา
1.แผนการเงิน ปีงบประมาณ 2566 นายทรงพล แจ้งให้คณะกรรมการทราบเรื่องแผนการเงิน ประจำปีงบประมาณ 2566
แผนการรับเงิน -โดยเงินคงเหลือยกมา จำนวนเงิน 442,186.69 บาท -เงินโอนจาก สปสช. จำนวนเงิน 300,735.00 บาท -เงินสมทบจาก อปท. จำนวนเงิน 250,000.00 บาท -รายได้อื่นๆ          -ไม่มี- รวมเงินทั้งสิ้น จำนวนเงิน 992,921.69 บาท น.ส.ร่อชิมี 2. แผนสุขภาพ ปีงบประมาณ 2566 -ประเภทที่ 1  มีจำนวน    2  โครงการ  จำนวนเงิน   115,000.00 บาท -ประเภทที่ 2  มีจำนวน  17  โครงการ  จำนวนเงิน   550,140.00 บาท -ประเภทที่ 3  มีจำนวน    2  โครงการ  จำนวนเงิน     48,000.00 บาท -ประเภทที่ 4  มีจำนวน    1  โครงการ  จำนวนเงิน     82,610.00 บาท -ประเภทที่ 5  มีจำนวน    1  โครงการ  จำนวนเงิน   167,171.44 บาท -ประเภทที่ 6  การใช้เงินตามมติบอร์ด (ยังไม่มีโครงการตามแผน) โดยมีงบประมาณ 30,000 บาท น.ส.ร่อชีมี 3.โครงสร้างการเงิน  ปีงบประมาณ 2566 -โครงสร้างการเงิน  ปีงบประมาณ 2566 ดังนี้ -ประเภทที่ 1  สนับสนุน/ส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ/สถานบริการ/ หน่วยงานสาสุขในพื้นที่ 13  เปอร์เซ็น เป็นเงิน 115,000.00 บาท -ประเภทที่ 2  สนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กร ประชาชนหรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่ 61  เปอร์เซ็น  เป็นเงิน 550,140.00 บาท -ประเภทที่ 3  สนับสนุนศูนย์เด็กเล็กศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพผู้สูงอายุและคนพิการ 5 เปอร์เซ็น เป็นเงิน   48,000.00 บาท -ประเภทที่ 4  สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ ให้มีประสิทธฺภาพ              15 เปอร์เซ็น  เป็นเงิน  82,610.00 บาท -ประเภทที่ 5  กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ 18  เปอร์เซ็น  เป็นเงิน   167,171.44 บาท -ประเภทที่ 6  การใช้เงินตามมติบอร์ด (ผ้าอ้อม/ชะลอไตเสื่อม,ภาวะโภชนาการเด็ก) 3 เปอร์เซ็น เป็นเงิน 30,000.00 บาท นายทรงพล มีท่านใดสงสัยหรือสอบถามอะไรบ้างครับ นายราเสด ผมขอสอบถามว่า ประเภทที่ 6 ชุมชนเรามีผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องการความช่วยเหลือจำนวนกี่คนครับ นายทรงพล ผมขอแจ้งที่ประชุมทราบว่า ชุมชนมีผู้ป่วยที่ต้องใช้ผ้าอ้อม จำนวน 6 คน ผู้ป่วยติดเตียงยังไม่ได้ สำรวจ เนื่องจากเพิ่งสมัคสมาชิก ประเภทที่ 6 ไป รอดำเนินการ
นายราเสด ทางกองทุนมีนโยบายช่วยเหลือ ควรมีงบประมาณที่มากกว่านี้ และ 1 คนควรใช้งบเท่าไหร่และ 1 ปี ต้องใช้งบเท่าไหร่ที่เพียงพอในการช่วยเหลือผู้ป่วย นายทรงพล งบ LTC มีการสนับสนุน รายละ 6,000.- บาท แต่ต้องผ่านเกณฑ์ก่อน ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ เนื่องจากอยู่ในขั้นตอนสมัค ประธาน โครงการประเภทที่ 6 ผมอยากขอความร่วมมือจาก รพ.สต เป็นผู้ดำเนินการเป็นตัวหลักเกี่ยวกับ โครงการประเภทที่ 6 เพื่อให้เข้าถึงและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย นายทรงพล ผมขอเสนอว่าหาก ทาง รพ.สตเป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการ จะทำงานได้สะดวกและรวดเร็วเพราะ      มีระเบียบรองรับสามารถทำเบิกงบได้เลยจากระบบ แต่ต้องจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุฯ แต่ หากเป็นทางศูนย์ฟื้นฟูผู้พิการฯ มีหลักเกณฑ์เยอะ โดยค่อยหารือใหม่ในประชุมครั้งหน้า เพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยและท่านใดมีความคิดเห็นเสนอหรือลดเปอร์เซ็นของประเภทต่างๆ หรือมี ความคิดเห็นอย่างไรเชิญเสนอต่อที่ประชุมได้ครับ นายนพดล ผมขอเสนอประเภทที่ 1  จำนวน 10 เปอร์เซ็น นำมาเพิ่มที่ประเภทที่ 2 รึว่า ประเภทที่ 5 มาเพิ่ม ในประเภทที่ 2 นายราเสด ผมคิดว่าประเภทที่ 5 เหมาะสมแล้ว ไม่ควรโอนลด เพราะการเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติเป็น เหตุการณ์ที่ไม่สามารถรู้ได้ในอนาคต นายทรงพล ผมขอแจ้งให้คณะกรรมการทราบว่า ประเภทที่ 1,2,3,4 ต้องดำเนินการตามแผน ลดไม่ได้ ส่วนที่ ลดได้คือประเภทที่ 5,6 ที่ปรับลดได้ เนื่องจากต้องดำเนินการไปตามแผน ประธาน ขอมติที่ประชุมเพื่อผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2566 มติที่ประชุม เห็นชอบเป็นเอกฉันท์  9 คน  และงดออกเสียง  1  คน น.ส.วรรณดี 4. โครงการประเภทที่ 4 -โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เกตรีประจำปี 2566
-เรื่องขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เกตรี            ประจำปี 2566
หลักการและเหตุผล กองทุนหลักประกันสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อใช้ในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ  และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ของศูนย์เด็กเล็ก หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการกิจกรรมเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ กิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ และกิจกรรมการ  ใช้มติบอร์ด สปสช./ปัญหาในพื้นที่(ผ้าอ้อม/ชะลอไตเสื่อม,ภาวะโภชนาการเด็ก) ซึ่งกิจกรรมเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานอื่น ๆ ที่กรรมการกองทุนแต่งตั้ง ให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ที่จำเป็น วัตถุประสงค์ 1. เพื่ออนุมัติแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ 2. เพื่อจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์สนับสนุนการทำงานกองทุนฯ 3. เพื่อพัฒนาศักยภาพกรรมการ คณะกรรมการกองทุนฯ เจ้าหน้าที่และบุคลากรสำหรับดำเนินงานและช่วยงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรีให้เกิดประสิทธิภาพ 4. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ ระเบียบ ประกาศและคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการและดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย - คณะกรรมการกองทุนฯ จำนวน  20 คน - คณะอนุกรรมการกองทุนฯ จำนวน  4  คน วิธีดำเนินการ ขั้นตอนวางแผนงาน     1. ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม     2. กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ ขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการกองทุน ที่ปรึกษา และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ 1.ติดต่อประสานงานคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมายการประชุม 2.จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน 3.จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม 4.ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด -  จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษา อย่างน้อย 6 ครั้ง/ปี -  จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ อย่างน้อย 6 ครั้ง/ปี -  สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการกองทุนฯ 1. จัดอบรมแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่แก่คณะกรรมการกองทุนฯและคณะอนุกรรมการ 2. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่กับกองทุนฯอื่น ๆ
3. เข้าร่วมการประชุม สัมมนา อบรมการดำเนินงานกองทุนฯ กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามประเมินโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนฯ
1. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี โดยคณะกรรมการกองทุนฯ  จำนวน 2 คน /โครงการ 2. นำเสนอผลการติดตามประเมินโครงการให้คณะกรรมการกองทุนฯ รับทราบในการประชุมคณะกรรมการฯ กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมทำแผนสุขภาพตำบล ปี 2567 1.จัดประชุมทำแผนสุขภาพตำบล ปี 2567  ของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี 2.บันทึกข้อมูลแผนสุขภาพตำบลในระบบออนไลน์ กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมติดตามและประเมินโครงการที่ขอขยายประจำปี 2565
1. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี โดยคณะกรรมการกองทุนฯ  จำนวน 2 คน /โครงการ 2. นำเสนอผลการติดตามประเมินโครงการให้คณะกรรมการกองทุนฯ รับทราบในการประชุมคณะกรรมการฯ ซึ่งมีโครงการ ดังนี้ 1)โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคจากกยุงลายเป็นพาหะ ขยายถึงธันวาคม พ.ศ.2565   2)โครงการรณรงค์รักษ์สิ่งแวดล้อมห่างไกลโรคติดต่อ ขยายถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2565   3)โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพขยับกายสบายชีวี ขยายถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2565   4)โครงการคนบ้านไร่ กินดีอยู่ดี มีความสุข ขยายถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2565   5)โครงการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขภาวะคนในชุมชน ขยายถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2565   6)โครงการการปฐมพยาบาลเบื้องต้น  การช่วยฟื้นคืนชีพพื้นฐาน (CPR) ขยายเวลาถึงเดือน         พฤศจิกายน พ.ศ.2565 4. ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม  2565 - เดือนกันยายน  2566 5. สถานที่ดำเนินการ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรีและห้องประชุมเอกชน
6. งบประมาณ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี ประเภทที่ 4 สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ  82,610.25 บาท (เงินแปดหมื่นสองพันหกร้อยสิบบาทยี่สิบห้าสตางค์) รายละเอียด  ดังนี้ กิจกรรมที่ 1  จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ที่ปรึกษาและคณะอนุกรรมการ เป็นเงิน  44,400.- บาท 1.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับคณะกรรมการกองทุนฯ ที่ปรึกษา และคณะอนุกรรมการ กองทุนฯ  24 คน ๆ ละ 25 บาท 1 มื้อ จำนวน 6 ครั้ง  เป็นเงิน 3,600.- บาท 1.2 ค่าเบี้ยประชุม - สำหรับคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักฯ  จำนวน 20 คน ๆ ละ 300  บาท จำนวน 6 ครั้ง            เป็นเงิน 36,000  บาท - สำหรับคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนหลักฯ จำนวน 4 คน ๆ ละ 200 บาท  จำนวน 6 ครั้ง  เป็นเงิน 4,800  บาท กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการกองทุนฯ เป็นเงิน 31,260.25  บาท 2.1จัดอบรมแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่แก่คณะกรรมการกองทุนฯและคณะอนุกรรมการ และประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่กับกองทุนฯอื่น ๆ เป็นเงิน  12,160.- บาท       - อาหาร  65 x 24 = 1,560.-บาท   - อาหารว่าง และเครื่องดื่ม  25 x 24 = 600.-  บาท ค่าวัสดุอื่นๆในการดำเนินโครงการ 10,000.- บาท 2.2ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประชุม สัมมนา อบรมการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่สำหรับคณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการกองทุนฯ เจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 19,100.25  บาท กิจกรรมที่ 3  ติดตามประเมินโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี  เป็นเงิน 5,000.- บาท 3.1 ค่าตอบแทนในการออกติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรีที่ดำเนินกิจกรรมตามโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  สำหรับคณะกรรมการประเมินโครงการ จำนวน 2 คน ๆ ละ 100 บาท จำนวน 25 โครงการ เป็นเงิน 5,000.- บาท กิจกรรมที่ 4  จัดทำแผนสุขภาพตำบล ปีงบประมาณ 2566  เป็นเงิน 750.- บาท 4.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ 30 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ      เป็นเงิน 750  บาท
กิจกรรมที่ 5  กิจกรรมติดตามและประเมินโครงการที่ขอขยายประจำปี 2565  เป็นเงิน 1,200.-บาท 5.1 ติดตามและประเมินโครงการที่ขอขยายเวลา ปี 2565 จำนวน 6 โครงการ จำนวน 2 คน ๆ ละ 100 บาท จำนวน 6 โครงการ เป็นเงิน 1,200.-บาท (เงินหนึ่งพันสองร้อยบาทถ้วน)

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 82,610.25 บาท (เงินแปดหมื่นสองพันหกร้อยสิบบาทยี่สิบห้าสตางค์) * หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้ 7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.กลุ่ม / ชมรม ผู้ขอรับสนับสนุนงบประมาณมีความเข้าใจหลักการในการเขียนโครงการมากขึ้น 2. คณะกรรมการกองทุนฯ มีความรู้และเข้าใจบทบาทของตนเองและสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.คณะกรรมการ อนุกรรมการกองทุนฯ มีความเข้าใจความสามารถเกิดการประสานงานความร่วมมือของเครือข่ายภาคีภาครัฐ ให้การสนับสนุนและผลักดันให้เกิดกระแสดีๆริเริ่มสร้างสรรค์ทางด้านการดูแลป้องกันเรื่องสุขภาพ 4.คณะกรรมการกองทุนฯนำความรู้ความเข้าใจจากการพัฒนาศักยภาพมาเป็นกระบวนการพัฒนาบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเพื่อการดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิตที่ดีห่างไกลภัยไข้เจ็บ 5.สำนักงานเลขากองทุนฯสามารถบริหารจัดการงานสำนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 8. ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประธาน ขอมติที่ประชุม มติที่ประชุม เห็นชอบเป็นเอกฉันท์  8 คน  และงดออกเสียง  3  คน  โดยอนุมัติให้ดำเนินการเบิกจ่าย งบประมาณได้ ตั้งแต่วันที่  27  ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ระเบียบวาระที่ 6  เรื่องอื่น ๆ
นายและ ผมขอเพิ่มเติมเรื่องการจัดโครงการต่างๆในชุมชน เนื่องจากในชุมชนเกตรีนี้มีประชาชนที่นับถือ ศาสนาอิสลามและนับถือพุทธ ซึ่งได้อยู่ร่วมกัน ผมเห็นโครงการต่างๆมีแต่พี่น้องอิสลามที่เข้าร่วม เสนอโครงการต่างๆ เพื่อสิทธิที่เท่าเทียมกันอยากให้พี่น้องไทยพุทธได้ร่วมกิจกรรมในการเสนอ โครงการบ้าง อยากฝากประชาสัมพันธ์การขอโครงการต่างๆให้มีการขอใช้งบเท่าเทียมกัน เพื่อการมี ส่วนร่วมที่ดีต่อๆไป ขอฝากไว้เพียงแค่นี้ครับ ประธาน ขอบคุณท่านอีม่าม (นายและ) ที่เสนอแนวทางที่ดีอีกแนวทางหนึ่งเพื่อประโยชน์คนในชุมชนมีสิทธิ เท่าเทียมกันครับ นายทรงพล ผมแจ้งให้ทราบว่ามีพี่น้องที่นับถือศาสนาพุทธเข้าร่วมบ้าง แต่ไม่มากเท่าที่ควร และเห็นด้วย กับการเสนอของท่านอีม่าม (นายและ) จึงขอฝากประธาน อสม.ประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องที่นับถือ ศาสนาพุทธเข้าร่วมมาเสนอโครงการต่างๆ ได้ครับ ประธาน ขอเพิ่มเพิ่มโครงการลอยกระทงของกองศึกษา เพื่อได้มีการเข้าร่วมภาคประชาชน โดยจะมีการหารือ อีกครั้งโดยจะแจ้งให้ทราบรายละเอียดอีกครั้ง

ประธาน ไม่ทราบว่าคณะกรรมการมีเรื่องใดจะเสนออีกบ้าง หากคณะกรรมการไม่มีอะไรแล้วผมขอขอบคุณ  ทุกท่านที่ ได้เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน และขอให้คณะกรรมการร่วมประชุมครั้งต่อไป  อย่างพร้อมเพรียงกัน ขอบคุณครับ         เลิกประชุม  เวลา 12.00 น.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เลิกประชุม  เวลา 12.00 น.