กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์เชิงปฏิบัติการ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 6 การใช้เงินตามมติบอร์ด
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 18 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,670.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกฤตภาส ปฐมนุพงษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.504,101.125place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาศัยอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติมาตรา 50 (4) ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อเอชไอวีโดยเริ่มจากผู้ติดยาเสพติดที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกันตามด้วยหญิงบริการจนเข้าสู่ระบบครอบครัว การติดเชื้อเอชไอวีมุ่งไปที่หญิง-ชายวัยเจริญพันธุ์และเด็กจากการที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวีในเด็กจากแม่สู่ลูกรายแรกจึงเริ่มขึ้นในปี พ.ศ.2531
เมื่อประเมินช่องว่างของการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือเด็กดังกล่าวพบว่า มีส่วนขาดในหลายๆ ด้าน เช่น ด้านสาธารณสุข พบว่า การติดตามเด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อรับการดูแลรักษาที่เหมาะสมยังไม่ครอบคลุม ยังขาดการช่วยเหลือด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคม เพื่อเติมเต็มให้การดูแลรักษาทางคลินิกมีประสิทธิภาพดีขึ้นทางด้านสังคม ระบบการช่วยเหลือและปกป้องคุ้มครองเด็กยังขาดการป้องกันในเรื่องของเอชไอวี แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการให้ความรู้และสร้างความเข้าไปในชุมชน แต่ศักยภาพของชุมชนยังไม่ให้ความสำคัญกับการดูแลเด็กเหล่านี้ ปัญหาการถูกตีตรา รังเกียจ และเลือกปฏิบัติที่ยังมีอยู่ทำให้เด็กไม่สามารถเข้าถึงบริการที่สำคัญคือ ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กได้รับผลกระทบที่ยังไม่มีการบันทึกอย่างเป็นระบบ ทั้งประเทศรวมถึงพื้นที่ในเขต 12 ทำให้การดูแล และสนับสนุนไม่สามารถเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลยะหา ได้เล็งเห็นความสำคัญถึงการเพิ่มความครอบคลุมการเข้าถึงบริการดูแลรักษาแบบองค์รวมที่จำเป็นและเหมาะสมกับเด็กตามกลุ่มอายุรวมการบริการที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การป้องกันการดูแลช่วยเหลือด้านอารมณ์สังคม การรักษาที่เน้นที่ตัวเด็กเป็นศูนย์กลาง และเด็กที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงอื่นๆ ในชุมชนที่มีสถานการณ์เอดส์สูง และการดำเนินงานดังกล่าวจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอยะหา และศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเมืองยะหา ให้สอดคล้องกับแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อจัดบริการด้านเอชไอวีที่ครบถ้วนและมีประสิทธิผลแก่เด็กและเยาวชน ที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ผู้ใช้ สารเสพติด และเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ทัศนคติ และทักษะของเยาวชนชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายผู้ใช้สารเสพติด และ เด็กในการประกอบพฤติกรรมทางเพศ ที่มีสุขภาวะ และการใช้บริการด้านการป้องกัน 3 เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพ บริการทางสังคมที่ตอบสนองต่อประเด็นเพศภาวะ เพศวิถี และเท่าเทียมกัน โดยการพัฒนาให้เกิดการเชื่อมประสานการจัดบริการที่ครบถ้วน และต่อเนื่อง กับระบบบริการสุขภาพทางเพศ และการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่มีอยู่ 4 เพื่อผลักดันให้มีนโยบายทั้งในระดับประเทศ และท้องถิ่น โดยผ่านกลไกประสานงานอำเภอ โดยผสมผสานกลมกลืนไปกับระบบบริการสุขภาพ ชุมชน และการปกป้องคุ้มครองทางสังคม ที่สอดคล้องรองรับกับกระบวนการกระจายอำนาจของประเทศ 5 เพื่อจัดบริการดูแลรักษาและสนับสนุนการบริการ รวมถึงให้ยาต้านไวรัสเอดส์แก่กลุ่มเป้าหมาย ที่เข้าไม่ถึงบริการตามสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติถ้วนหน้า 6 เพื่อพัฒนาระบบข้อมูล ข้อสนเทศ เชิงยุทธศาสตร์ เพื่อใช้ปรับปรุงนโยบายและการดำเนินงาน เอชไอวี

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลยะหา โครงการให้ความรู้ เรื่องโรคเอดส์เชิงปฏิบัติการ จำนวน 30,670.-บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการฯ ดังนี้     1. ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ
      ขนาด 1x3 ม. จำนวน 1 ป้าย                      เป็นเงิน    750.-บาท     2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
      จำนวน 100 คนๆ ละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ            เป็นเงิน  3,000.-บาท     3. ค่าสมนาคุณวิทยากรฝึกอบรม จำนวน 2 ชม.ๆ ละ 600 บาท    เป็นเงิน  1,200.-บาท
    4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ฝึกอบรม จำนวน 100 ชุดๆ ละ 120 บาท    เป็นเงิน 12,000.-บาท
      (กระเป๋าถุงผ้า สมุด ปากกา)
    รวมเป็นเงิน    .-บาท
หมายเหตุ  ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ตามความเหมาะสม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 นักเรียนนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คน 2 นักเรียนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และป้องกันการติดเชื้อรายใหม่ 3 นักเรียนนักศึกษารู้จักวิธีในการหลีกเลี่ยงยาเสพติดและเอดส์ 4 นักเรียนนักศึกษามีความกล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้องมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2565 10:57 น.