กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อน ในกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ประจำปี ๒๕๖๖
รหัสโครงการ 66-L2506-01-016
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 61,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุสราน มะตาเฮ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ 2,3,8,10 ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 61,950.00
รวมงบประมาณ 61,950.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 170 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเรื้อรังเป็นโรคซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากตัวเลขของผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันพบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานทั้งสิ้น 189 ล้านคนและคาดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นถึง 324 ล้านคน จากสถานการณ์โรคพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่เสียชีวิตจากภาวะโรคแทรกซ้อน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถป้องกันและควบคุมได้ อีกทั้งยังพบว่า อายุเฉลี่ยของการเริ่มต้นป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้นน้อยลงเรื่อยๆ และมีแนวโน้มจะลุกลามไปถึงเด็กในอนาคตอันใกล้ด้วย อันเนื่องมาจากวิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะเรื่องการรับประทาน โรคเรื้อรังนอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆ อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างอาหารที่รับประทานและการออกกำลังกายพบว่าคนไทยกินผักและผลไม้ต่ำกว่ามาตรฐาน ส่วนการกินน้ำตาลและไขมันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆขณะที่การเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายในกลุ่มอายุ 15ปีขึ้นไปลดลง จากข้อมูลการเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคมะเร็งในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๓–๒๕6๕ มี จำนวน ๔๒๗ , ๔๒๔และ๕๑๗ คน ตามลำดับ และจำนวนผู้ป่วยเบาหวานในปี พ.ศ.๒๕๖๓–๒๕6๕ มี จำนวน ๑๒๓ , ๑๒๘ และ๑๕๐ คนตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกกปี จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในปี พ.ศ.๒๕๖๓–๒๕6๕ มี จำนวน ๓๕ , ๑๐ และ๒๖ คนตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยไต ในปี พ.ศ.๒๕๖๓–๒๕6๕ มี จำนวน ๒๕ , ๓๐ และ๓๓ คนตามลำดับ และจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจ ในปี พ.ศ.๒๕๖๓–๒๕6๕ มี จำนวน ๒๒ , ๑๐ และ๑๑ คนตามลำดับ จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่ายังมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและในปี ๒๕6๕ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ 32.56 และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้เพียงร้อยละ 23.93 จากข้อมูลการคัดกรองโรคเรื้อรังในปี ๒๕๖๕พบว่า กลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ทั้งหมด ๑,๖๒๕ ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง๑,๔๙๗ คน ร้อยละ ๙๒.๑๒ เป็นกลุ่มปกติ ๑,๓๖๕ คนร้อยละ ๙๑.๑๘เป็นกลุ่มเสี่ยง ๕๑ คนร้อยละ ๓.๔๑ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง รายใหม่ ร้อยละ 5.23 ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน๑,๑๔๙ คนร้อยละ ๙๑.๖๓ เป็นกลุ่มปกติ ๘๕๒ คนร้อยละ ๗๔.๑๕เป็นกลุ่มเสี่ยง๒๙๔ คน ร้อยละ ๒๕.๕๘ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน รายใหม่ ร้อยละ 18.18 จากสถานการณ์ดังกล่าว ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ จึงเล็งเห็นความสำคัญของเฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน

เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดูแลตนเอง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมร้อยละ ๘๐

60.00 80.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดูแลตนเอง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมร้อยละ ๘๐

60.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดูแลผู้ป่วย

เพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดูแลผู้ป่วย ร้อยละ ๘๐

60.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 61,950.00 0 0.00
1 - 31 ก.ค. 66 ๑. ๑. กิจกรรม ให้ความรู้ทักษะการดูแลตนเองและคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยโรคความดัน เบาหวาน จำนวน ๒ รุ่น 0 15,950.00 -
1 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ๓. กิจกรรม ให้ความรู้ เสริมทักษะการดูแลตนเองในกลุ่มเสี่ยงโรคความดัน เบาหวาน จำนวน ๔ รุ่น 0 34,400.00 -
1 - 31 ส.ค. 66 ๒. กิจกรรม ให้ความรู้ เสริมทักษะ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคความดัน เบาหวาน 0 11,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดูแลตนเอง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมสามารถควบคุมระดับโลหิตและเบาหวานได้
๒. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ได้รับการดูแลรักษาและส่งต่อตามมาตรฐาน
๓. ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดูแลผู้ป่วย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2565 10:02 น.