กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในเลือด ปี 2566
รหัสโครงการ L3355-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำเลือด
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมนพ ยกฉวี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 492 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศเกษตรกรรมประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศกว่าร้อยละ 50.30 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และในปัจจุบันการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเริ่มประสบปัญหาผลผลิตตกต่ำอันเนื่องมาจากสภาพของดินที่เสื่อมสภาพและจากแมลงศัตรูพืช ทำให้เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยบำรุงดินและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากขึ้น แม้ทางราชการจะรณรงค์ให้มีการใช้พืชสมุนไพรก็ยังมีข้อจำกัดในการใช้หลายประการ อาทิ ไม่สะดวกเนื่องจากต้องใช้เวลาในการจัดหาหรือเตรียมและไม่สามารถใช้ได้ผลกับแมลงบางชนิด จึงทำให้เกษตรกรยังนิยมที่จะใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชมากกว่า ซึ่งส่งผลให้เกิดอันตรายกับตัวเกษตรกรผู้ใช้เเองแลสภาพแวดล้อมหากว่าการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่ถูกต้อง จากการเฝ้าระวังโรคจากการแพ้พิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของกองชี่วอนามัย กรมอนามัยพบว่าเกษตรกรทั่วประเทศมีภาวะเสี่ยงแลไม่ปลอดภัยร้อยละ 13.07 และตำบลท่ามิหรำเป็นตำบลหนึ่งที่ประชาชนมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหานี้ได้ ทั้งในเกษตรที่เป็นผู้ผลิตซึ่งยังไม่มีการป้องกันที่ดีพอ และในประชาชนทั่วไปที่เป็นผู้บริโภคก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะรับสารเคมีตกค้างในสิ่งแวดล้อมและในอาหารที่บริโภคเข้าไปได้ จากผลการตรวจคัดกรองสารเคมี่ตกค้างในเลือด ปี2564 จำนวน 492 คน พบปกติ 145 คน คิดเป็นร้อยละ29.47 ปลอดภัย จำนวน 247คน คิดเป็นร้อยละ 50.20 มีความเสี่ยง จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 14.63 และไม่ปลอดภัย จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 5.70 และสำหรับปี 2565 จำนวน 492 คน พบปกติ 175 คน คิดเป็นร้อยละ 35.57 ปลอดภัย จำนวน 260 คน คิดเป็นร้อยละ 52.85 คน มีความเสี่ยง จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 11.38 คน และไม่ปลอดภัย 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.20 ซึ่งจะเห็นว่า ปี 2566 มีเกษตรกรที่มีสารเคมีตกค้างเพิ่มสูงขึ้นมาก ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำเลือด ตำบลท่ามิหรำ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในเลือดขึ้นมาเพื่อเป็นการคัดกรองเบื้องต้นในการค้นหากลุ่มที่มีความเสี่ยงสารเคมีตกค้างให้ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการเฝ้าระวังไม่ให้ประชาชนมีอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงจากการที่มีสารเคมีตกค้างในเลือดเป็นระยะเวลานาน และเป็นการเฝ้าระวังไม่ให้ประชาชนมีอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงจากการที่มีสารเคมีตกค้างในเลือดเป็นระยะเวลานาน และเพื่อเป็นการป้องกันในเบื้องต้นจึงจะจัดให้มีการรณรงค์ปลูกพืชผักปลอดสารพิษ และลดการใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เพื่อนำไปสู่ความปลอดภัยและการมีสุขภาพที่ดีในระยะยาวของประชาชน ในตำบลท่ามิหรำต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 กลุ่มประชาชนได้รับความรุ้เกี่ยวกับสารพิษตกค้างในเลือด การหลีกเลี่ยง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

กลุ่มประชาชนได้เข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

50.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 1 30,000.00
1 ก.พ. 66 - 20 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเกษตรกร 0 30,000.00 30,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หลังจากได้รับความรู้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มเสี่ยงมีผลเลือดสู่ภาวะปกติ/ปลอดภัยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2565 00:00 น.