กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการ31 สิงหาคม 2566
31
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.สตูล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ค่าจัดทำเอกสารสรุปโครงการ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีทีมผู้ก่อการดี (Merit  Maker) ในชุมชนพิมาน
  2. แหล่งน้ำเสี่ยงในชุมชนได้รับการจัดการด้านความปลอดภัยอย่างน้อย 6 แห่ง
  3. แกนนำจิตอาสาชุมชนได้รับการฝึกทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำและการ CPR
  4. อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีลดลง
กิจกรรมป้องกัน รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในการจัดการด้านความปลอดภัยแหล่งน้ำเสี่ยงในในชุมชนและครัวเรือน ( อย่างน้อย 6 แห่ง)26 กรกฎาคม 2566
26
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.สตูล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมป้องกัน รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในการจัดการด้าานความปลอดภัยแหล่งน้ำเสี่ยงในชุมชนและครัวเรือน อย่างน้อย 6 แห่ง ตั้งตามจุดเสี่ยงในชุมชน 6 แห่ง ได้แก่ คลองมำบัง,ชุมชนชนาธิป,ชุมชนเทศบาล 4,ชุมชนหัวทาง,ชุมชนท่ายนายเนาว์,ชุมชนโคกพยอม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีการจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์จุดเสี่ยงโครงไม่พร้อมไวนิลพร้อมติดตั้ง
อบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการสอนทักษะการเอาชีวิตรอดและการ CPR27 มิถุนายน 2566
27
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.สตูล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 27 มิถุนายน 2566 บรรยายหัวข้อ หลักสูตรการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)  แหล่งน้ำเสี่ยงในชุมชนได้รับการจัดการด้านความปลอดภัย  และฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) รายบุคคล กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมสามารถเป็นครูพี่เลี้ยงให้กับชุมชนได้  สามารถสร้างทีมผู้ก่อการดี (Merit Maker) ในชุมชนพิมาน  รู้จักแหล่งน้ำเสี่ยงในชุมชนได้รับการจัดการด้านความปลอดภัย  แกนนำจิตอาสาได้รับการฝึกทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำและการ CPR  และอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีลดลง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.  ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพ

อบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด26 มิถุนายน 2566
26
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.สตูล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 26 มิถุนายน 2566 มีการบรรยายและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในเรื่องความปลอดภัยทางน้ำ (Water Safety Knowledge) การเอาชีวิตและพื้นฐานการว่ายน้ำ (Swim and Service) การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ (Water Rescue) ฝึกปฏิบัติการทดสอบทักษะการว่ายน้ำและการลอยตัว โดยมีการแบ่งกลุ่ม กลุ่มที่ 1 บรรยายและฝึกปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขการกอดรัด กลุ่มที่ 2 บรรยายและฝึกปฏิบัติการช่วยประสบทางน้ำและสถานการณ์สมมติ  กลุ่มที่ 3 บรรยายและฝึกปฏิบัติการเอาชีวิตรอดในน้ำ กลุ่มที่ 4 บรรยายและฝึกทดสอบรายบุคคล  วัดผลจากการปฏิบัติรายบุคคล
คิดเป็นค่าคะแนนวัดผลดังนี้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด ผลการสอบถามเรื่องความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ (4 คะแนน)  ตามเอกสารแนบท้าย   -  4 คะแนน ผ่าน 13 คน -  3 คะแนน ผ่าน 9 คน ประเมินผลการเรียนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดบรรยายและฝึกทดสอบปฏิบัติรายบุคคล (100 คะแนน) การคิดคะแนนตามแบบประเมินผลการเรียน กำหนดให้มีการถ่วงน้ำหนักคะแนน ดังนี้

    1. การเอาชีวิตรอดและพื้นฐานการว่ายน้ำ  (คะแนน 70 คะแนน) มีทั้งหมด  10 ข้อ  น้ำหนักคะแนนข้อละ 7 คะแนน
    2. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ  (คะแนนเต็ม  20 คะแนน) มีทั้งหมด  4 ข้อ  น้ำหนักคะแนนข้อละ 5 คะแนน
    3. การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบทางน้ำ  (คะแนนเต็ม 10  คะแนน) มีทั้งหมด  4 ข้อ  น้ำหนักคะแนนข้อละ  2.5 คะแนน เกณฑ์การประเมินผล ระดับ คะแนน ความหมาย A 80-100 ดีเยี่ยม B 70-79 ดี C 60-69 พอใช้ D 50-59 อ่อน E ‹ 50 อ่อนมาก

    -  72 คะแนน ผ่าน 1 คน -  79 คะแนน ผ่าน 1 คน -  86 คะแนน ผ่าน 6 คน -  93 คะแนน ผ่าน 1 คน -  100 คะแนน ผ่าน 11 คน

    การประเมินผล  สอบผ่านตามเกณฑ์ทุกคน ร้อยละ 80