กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) ในเรือนจำกลางยะลา
รหัสโครงการ 66 – L7452 – 1 – 2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ หน่วยบริการปฐมภูมิสถานพยาบาล เรือนจำกลางยะลา
วันที่อนุมัติ 13 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 ธันวาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 52,440.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยูสรี มะมิง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) จากปัญหาประการหนึ่ง คือ ก่อนที่ผู้ต้องขังแต่ละคนจะได้รับสิทธิในการมาถึงสถานพยาบาลเพื่อรับการตรวจรักษา และเข้าถึงการรักษายังมีขั้นตอนที่แตกต่างกันไปตามแต่ละเรือนจำ เช่น มีการกำหนดว่าพยาบาลจะตรวจผู้ต้องขังจากแดนใดในวันใด เช่น การตรวจแดนหนึ่งวันจันทร์ ตรวจแดนสองวันอังคาร ผู้ต้องขังแต่ละแดนจึงต้องรอให้ถึงวันของแดนตนเองจึงจะมีสิทธิเข้าไปตรวจที่สถานพยาบาล แต่หากมีผู้ป่วยฉุกเฉินก็จะได้รับการรักษาก่อนเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากเจ้าหน้าที่มีกำลังไม่เพียงพอ เรือนจำหลายแห่งใช้ระบบคัดกรองในแดนก่อนเพื่อไม่ให้มีปริมาณผู้ต้องขังมาที่ สถานพยาบาลจำนวนมากจนเป็นภาระของสถานพยาบาลมากเกินไป โดยส่วนใหญ่เรือนจำให้อาสาสมัครนักโทษ ประจำแดนนั้นๆ เป็นผู้คัดกรองเบื้องต้น จึงมีความเป็นไปได้ที่อาสาสมัครคัดกรอง หรือผู้บังคับบัญชาการแดน ซึ่งไม่มีความรู้เฉพาะทางการแพทย์ อาจวินิจฉัยผิด และทำให้ผู้ต้องขังที่เจ็บป่วยเข้าไม่ถึงบริการด้านสุขภาพตามสิทธิของตน รวมถึงการส่งเสริมและป้องกันโรค อย่างทั่วถึงเท่าเทียมและเสมอภาค ในปี 2563 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการจัดตั้งโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดี ด้วยหัวใจมีวัตถุประสงค์ เพื่อมุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมทางด้านเครื่องมือแพทย์ ด้านการบริการทางการแพทย์ ด้านการบริการทางการพยาบาล โดยพัฒนาองค์ความรู้ด้านสุขภาพอนามัยที่จำเป็นแก่ผู้ต้องขัง และองค์ความรู้ด้านสุขภาพในเรือนจำแก่อาสาสมัคร สาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) โดยหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) 1.เป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นดี เว้นแต่เป็นผู้ต้องขังที่มีความประพฤติดี ผู้บังคับบัญชาเรือนจำ อาจคัดเลือกจากนักโทษชั้นกลางขึ้นไปตามลำดับ และกำหนดเหลือโทษ 1 ปีขึ้นไป 2.เป็นผู้ต้องขังที่สามารถอ่านออกเขียนได้ หรือจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป 3.มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ และมีพฤติกรรมทางด้านสุขภาพที่เป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) 1 คนต้องดูแลผู้ต้องขังไม่เกิน 50 คน ทั้งนี้โครงการดังกล่าวกำหนดตัวชี้วัดให้ได้รับการอบรมปีงบประมาณละ 2 ครั้ง เพื่อให้อสรจ.มีความรู้ในการดูแลเพื่อนผู้ต้อขังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันเรือนจำกลางยะลา ผู้ต้องขัง 1,830 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2565) พบกลุ่มผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อและไม่ติดต่อเป็นจำนวนมาก สถานพยาบาลเรือนจำจัดลำดับโรคที่พบบ่อยภายในเรือนจำ โรคหลอดเลือดและหัวใจ ทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง อุบัติเหตุ เป็นต้น ทั้งนี้สถานพยาบาลเรือนจำกลางยะลา มีเจ้าหน้าที่พยาบาล 4 คน ซึ่งอัตรากำลังไม่เพียงพอต่อการดูแลผู้ต้องขังทั้งหมด โดยเรือนจำกลางยะลามี อสรจ. จำนวน 60 คน ดูแลผู้ต้องขังอัตรา 1/30 คน กระจายตามห้องและกองงานต่างๆ สถานพยาบาลจึงเล็งเห็นความสำคัญในดูแลผู้ต้องขังภายในเรือนจำ จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) ในเรือนจำกลางยะลา เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) สามารถเข้าใจเรื่องโรคและปัญหาของผู้ต้องขัง การดูแลรักษาอาการเบื้องต้นตลอดจนเฝ้าระวัง การดูแลสุขภาพ ควบคุมโรค ป้องกันโรคเบื้องต้นในเรือนจำได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อผลิตและพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) ให้มีความรู้ทักษะและทัศนคติที่ดีในการดำเนินงานสุขภาพ ภาคประชาชน โดยกลวิธีสาธารณสุขมูลฐาน และชุมชนตามบริบทของเรือนจำ
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) เข้าร่วม  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 และอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) มีความรู้ทักษะและทัศนคติที่ดีในการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน โดยกลวิธีสาธารณสุขมูลฐาน และชุมชนตามบริบทของเรือนจำ ร้อยละ 80
80.00
2 2. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) สามารถนำความรู้ด้านสุขภาพไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเฝ้าระวัง และถ่ายทอดความรู้ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และดูแลช่วยเหลือเพื่อนผู้ต้องขังกลุ่มป่วยเบื้องต้น ตลอดจนดูแลสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพของกลุ่มผู้ต้องขังในชุมชนบริบทของเรือนจำ
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) มีทักษะสามารถนำความรู้ด้านสุขภาพไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเฝ้าระวัง และถ่ายทอดความรู้ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และดูแลช่วยเหลือเพื่อนผู้ต้องขังกลุ่มป่วยเบื้องต้น ตลอดจนดูแลสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพของกลุ่มผู้ต้องขังในชุมชนบริบทของเรือนจำร้อยละ 80
80.00
3 3. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) มีบุคลิกภาพ มีมนุษย์สัมพันธ์ มีคุณธรรม จริยธรรมและวินัยในตนเองมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ เหมาะสมกับงานอาสาสมัคร
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) มีทักษะการสื่อสารและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขภาพ และมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพพื้นฐานในผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ร้อยละ 80
80.00
4 4. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) ตระหนักและมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเพื่อนมนุษย์ในชุมชนเรือนจำ และเสียสละเพื่อส่วนรวม
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) มีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเพื่อนมนุษย์ในชุมชนเรือนจำ และเสียสละเพื่อส่วนรวม ร้อยละ 80
80.00
5 5. อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) มีความพึงพอใจโครงการ
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) มีความพึงพอใจโครงการ ร้อยละ80
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 52,440.00 0 0.00
13 ธ.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) จำนวน 60 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 คน รวม 70 คน 0 52,440.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) และพฤติกรรมสุขภาพ (Health Behavior) ที่เหมาะสม
  2. สามารถเป็นแกนนำในงานส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้น และการฟื้นฟูสุขภาพตลอดจนเฝ้าระวังสุขภาพและคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้นได้
  3. สามารถสื่อสารโน้มน้าวให้ผู้ต้องขังตื่นตัวและรับผิดชอบต่อตนเองในการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพตนเอง ชุมชนและสภาพแวดล้อมของสังคม
    1. สามารถสร้างโอกาสให้กลุ่มผู้ต้องขังเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพอนามัยของตนเองและชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2565 09:39 น.