กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาทักษะชีวิตเยาวชน ประชาชน สุขภาพดี ชีวีมีสุข
รหัสโครงการ 66-L2479-02-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์เยาวชนบ้านไอสะเตีย
วันที่อนุมัติ 10 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 20,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูฮัมหมัดตัรมีซี สะปากอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)
20.00
2 ร้อยละของเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเครียดและเสี่ยงฆ่าตัวตาย
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์ การส่งเสริมสุขภาพเป็นการลงทุนในสัดส่วนที่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาพยาบาลที่มีราคาแพง รัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องของการส่งเสริมดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของประชาชนทั้งประเทศ จึงกำหนดเป็นนโยบายในการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน ในเรื่องของการดูแลสุขภาวะและสุขอนามัยของประชาชนในชุมชน เชื่อว่าหากประชาชนมีสุขภาพที่ดีจะส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามไปด้วย และเมื่อประชาชนในชุมชนมีสุขภาพที่ดี ส่งผลให้การพัฒนาประเทศมีความเจริญก้าวหน้าและมั่นคง เพื่อการตอบสนองต่อนโยบายและกลยุทธ์ของการส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะอนามัยของรัฐบาล เพื่อเป็นการรองรับการเปลี่ยนแปลงของปัญหาสุขภาพและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปตามบริบท ศูนย์เยาวชนบ้านไอสะเตีย ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพกาย สุขภาพใจ ของเยาวชน ประชาชนในชุมชน จึงได้จัดโครงการพัฒนาทักษะชีวิตเยาวชน ประชาชน สุขภาพดี ชีวีมีสุข เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข และสามารถดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ให้ปราศจากโรคภัย สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

20.00 25.00
2 เพื่อลดภาวะภาวะเครียดและเสี่ยงฆ่าตัวตายเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป)  ที่มีภาวะเครียดและเสี่ยงฆ่าตัวตาย

10.00 5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,150.00 3 20,150.00
25 มี.ค. 66 กิจกรรมฝึกทักษะชีวิต ห่างไกลโรคติดต่อ 0 8,350.00 8,350.00
25 มี.ค. 66 กิจกรรมฝึกทักษะการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ 0 3,800.00 3,800.00
26 มี.ค. 66 กิจกรรมฝึกทักษะการออกกำลังกายที่ถูกต้อง 0 8,000.00 8,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีการสร้างสุขภาพจิตที่ดี และสามารถปรับใช้ในการดำเนินได้อย่างถูกต้อง 2.ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัย มีอารมณ์และจิตใจที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 3.เด็กและเยาวชนมีทักษะในการดำเนินชีวิตแล้วสามารถขยายผลไปสู่คนรอบข้างได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2565 00:00 น.