กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มการเข้าถึงระบบการรักษาโรคหลอดเลือดด้วย Stroke/Stemi Alert ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L5284-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลควนโดน
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นพ.สุพล เจริญวิกกัย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease หรือ CVD, Stroke) เป็นโรคอันตรายที่เป็นสาเหตุของการตายมากเป็นอันดับต้นของโลก โดยพบเป็นสาเหตุการตาย อันดับ 2 ของประชากรอายุมากกว่า 60 ปี และเป็นสาเหตุ การตายอันดับ 5 ของประชากรอายุมากกว่า 15 - 59 ปี ใน แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ประมาณ 6,000,000 คน จากสถิติกระทรวงสาธารณสุขปี พ.ศ. 2557 พบโรคหลอด เลือดสมองเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 3 ในประชากรไทย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลในปี พ.ศ. 2557 พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 176,342 คน หรือคิดเป็น 3 คน ในทุก 2 ชั่วโมงโรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular disease, stroke) แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน (ischemic stroke) พบได้ร้อยละ 80 ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด และโรคหลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) พบได้ร้อยละ 20 ซึ่งโรคหลอดเลือดสมองมีแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของ ประเทศไทยเนื่องจากเป็นสาเหตุการเสียชีวิตและสูญเสียปีสุขภาวะ (disability adjusted life year) ในระดับต้นๆ โดยผู้ป่วย ที่รอดชีวิตมักมีความพิการหลงเหลืออยู่ จึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างครบวงจร โดยเฉพาะในระยะเฉียบพลันที่จะสามารถลดอัตราตาย ลดอัตราความพิการ ลดภาวะแทรกซ้อน ส่งผลให้ลดความสูญเสียทาง เศรษฐกิจของครอบครัว สังคมและประเทศได้ อย่างไรก็ตาม โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการควบคุม ปัจจัยเสี่ยง นอกจากนี้ถ้าป่วยด้วยโรคนี้แล้วได้รับการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว เหมาะสม ภายใต้ระบบการบริการที่มีมาตรฐานจะมีส่วนช่วยลดอัตราตายและความพิการได้ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของไทย การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างครบวงจรโดยเฉพาะในระยะเฉียบพลันที่จะสามารถลดอัตราการตาย ลดความพิการ ลดภาวะแทรกซ้อน ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของครอบครัวและประเทศชาติ ปัจจุบันแนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน ได้แก่การให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ (rt-PA) ในผู้ป่วยที่มีอาการภายใน4.5ชั่วโมงหลังเกิดอาการ การให้ยา แอสไพรินภายใน48ชั่วโมงหลังเกิดอาการ การดูแลรักษาในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke unit) การผ่าตัดเปิด กะโหลกศีรษะ (decompressivehemicreniectomy) ในโรงพยาบาลที่มีศักยภาพและมีแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งการพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะเน้นระบบการให้บริการและกระบวนการดูแลรักษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ดังนั้นการจัดระบบการให้บริการและกระบวนการดูแลรักษาให้มีมาตรฐานเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลรักษา ที่ถูกต้องเหมาะสมนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่ปัญหาและอุปสรรคของการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจในระดับบุคคล พบว่ากลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การไม่ทราบ เกี่ยวกับภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน และ ภาวะไขมันในเลือดสูง และประชาชน รวมทั้ง กลุ่มเสี่ยงยังไม่มีความสนใจหรือเข้าใจในโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจอย่างลึกซึ้ง ที่ผ่านมาพบว่าแนวทางป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง มุ่งจัดการเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ขาดการประเมินผล หรือติดตามในระยะยาว การที่นำ ชุมชน เข้ามาร่วมดำเนินงานป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ยังพบค่อนข้างน้อย รูปแบบกิจกรรมที่เกิดจากชุมชนเองยังไม่ชัดเจน ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นการ พัฒนาระบบสุขภาพชุมชนในการป้องกันโรคดังกล่าว ทุกคนในชุมชนถือเป็นหัวใจสำคัญ ผู้นำชุมชนต้องเสียสละ ทำงานเพื่อส่วนรวม เปิดโอกาสเรียนรู้ ร่วมกัน พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเน้นการทำงานเชิงรุก ประสานการทำงานร่วมกับทุกคนในพื้นที่ เสริมหนุนให้กลุ่มเสี่ยง และสมาชิกครอบครัวสามารถป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจได้อย่างเหมาะสม โรงพยาบาลควนโดนจึงสนใจศึกษาสถานการณ์ ดังกล่าว เพื่อช่วยให้กลุ่มเสี่ยงและสมาชิกในครอบครัวที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลง มีความตระหนัก สามารถปฏิบัติตน ในการป้องกันโรคได้ถูกต้องโดยไม่ลุกลามเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ค้นหาศักยภาพการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนต่อไป จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มการเข้าถึงระบบการรักษาโรคหลอดเลือดด้วย Stroke/Stemi Alert ปีงบประมาณ 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษา 1.1 สถานการณ์ระบบสุขภาพชุมชนในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยง 1) พฤติกรรมการป้องกันโรค บริบท ข้อจำกัด ปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มเสี่ยง และ ครอบครัวในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจ 2) กิจกรรมการป้องกันโรค บริบท นโยบายแผนงานที่เกี่ยวข้อง ปัญหาและอุปสรรค บทบาทหน้าที่ของบุคคล และองค์กรที่เกี่ยวข้อง จุดอ่อนจุดแข็งของชุมชนในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจ 2. เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพชุมชน ในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจหลังดำเนินกิจกรรม 3.เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจรายใหม่ 4.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจเข้าถึงการรักษาภายใน 1-3 ชม.

1.ร้อยละผู้ป่วยโรค Stroke/Stemi รายใหม่ 2.ร้อยละผู้ป่วย Stroke/Stemi เข้าถึงการรักษาภายใน 1-3 ชม.

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 โครงการเพิ่มการเข้าถึงระบบการรักษาโรคหลอดเลือดด้วย Stroke/Stemi Alert ปีงบประมาณ 2566 0 15,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชาชนในพื้นที่ได้รับความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจที่ถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น 2. เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพชุมชน ในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจหลังดำเนินกิจกรรม
3. เกิดความร่วมมือของภาคีเครือข่ายที่หลากหลายในการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนอย่างยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2565 00:00 น.