กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดการขยะที่ต้นทาง เพื่อสภาวะที่ดีของชุมชนบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา5 ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L2506-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ หมู่ 9 บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา5
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2565 - 31 ธันวาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2565
งบประมาณ 72,645.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเจ๊ะฮามิ สะมะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา5 ม.9 ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ธ.ค. 2565 31 ธ.ค. 2565 72,645.00
รวมงบประมาณ 72,645.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 301 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศนับวันมีขยะสะสมในปริมาณที่มากขึ้น เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ทั้งประชากรในพื้นที่และประชากรแฝงที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับความเจริญ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน จากสถานการณ์ของขยะมูลฝอยทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน การทำลายทัศนียภาพ ความสวยงามของหมู่บ้าน อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ ซึ่งเป็นพาหะนำโรคต่าง ๆ เช่น หนู ยุง แมลงวัน ฯลฯ ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนสุขภาพของคนในชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันถึงแม้ว่าจะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยดังกล่าวรวมถึงมีมาตรการรูปแบบหรือวิธีการจัดการไว้แล้ว แต่ยังคงไม่เพียงพอหรือไม่สามารถตอบสนองต่อปริมาณขยะมูลฝอยทีเพิ่มมากขึ้นและยังคงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อาทิ เช่น ปัญหาขยะตกค้าง ก่อให้เกิดความสกปรกในพื้นที่ ปัญหาด้านกระบวนการกำจัดขยะหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือสร้างมูลค่าหรือสร้างรายได้ ซึ่งจะเป็นผลให้สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นได้ จังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด”ประจำปีพ.ศ 2565 ภายใต้ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ. 2565 – 2570) โดยดำเนินการตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมู่บ้านและชุมชน โดยใช้หลักการ 3 ช. : ใช้น้อย ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 3 ระยะ ตั้งแต่ ต้นทาง กลางทางและปลายทาง เพื่อลดปริมาณขยะและส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดทำระบบเก็บขนอย่างมีประสิทธิภาพและขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ประกอบกับกระทรวงมหาดไทยกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล โดยขึ้นทะเบียนของโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเทศไทย ตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตั้งแต่ระดับครัวเรือน โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดแยกขยะเปียกหรือขยะที่มาจากเศษอาหารออกจากขยะทั่วไป เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดจากต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการลดปริมาณและคัดแยกขยะเปียกของครัวเรือนในระดับท้องถิ่น และเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการ “ขยะเปียกลดโลกร้อน”หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 5จึงได้ทำโครงการจัดการขยะที่ต้นทาง เพื่อสภาวะที่ดีของชุมชนบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 5 ประจำปี 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกต้อง

ชาวบ้านมีความเข้าใจการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกต้อง

0.00
2 2. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้กับประชาชน ตระหนักในการคัดแยกขยะครัวเรือนที่ต้นทาง

ชาวบ้านมีความตระหนักในการคัดแยกขยะครัวเรือนที่ต้นทาง

0.00
3 3. เพื่อรณรงค์และขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและบูรณาการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน

ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและบูรณาการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน

0.00
4 4.เพื่อป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในชุมชน

สามารถป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในชุมชนมากขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 72,645.00 0 0.00
1 - 31 ธ.ค. 65 1.กิจกรรมอบรมและทบทวนความรู้ความเข้าใจในการคักแยกขยะที่ต้นทางให้แก่ประชาชนหมู่ 9 บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 5 ,ทีมผู้บริหาร สมาชิกสภาและเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบองอและอสม.บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา5 0 67,645.00 -
1 - 31 ธ.ค. 65 กิจกรรมประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะที่ต้นทาง 0 5,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะและมีจิตสำนึก ตระหนักถึงความสำคัญในการลดปริมาณและคัดแยกขยะ
  2. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs การนำกลับมาใช้ใหม่ วิธีการกำจัดขยะประเภทต่างๆอย่างถูกวิธีและสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดผลได้จริง
  3. ประชาชนสามารถบริหารจัดการตนเองในการคัดแยกขยะ ขยะในชุมชนมีปริมาณลดลง ลดการ แพร่ระบาดของโลกที่เกิดจากสภาพสิ่งแวดล้อม
  4. ประชาชนดำเนินการจัดทำถังขยะเปียกในครัวเรือนด้วยตนเองได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2565 09:34 น.