กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ 66-L8008-01-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสตูล
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 48,175.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปฤษณา สิตะรุโณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนในพื้นที่ตำบลพิมาน
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 29 ก.ย. 2566 48,175.00
รวมงบประมาณ 48,175.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โภชนาการที่ดีเป็นรากฐานที่สำคัญของการมีสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะเด็กวัยเรียน เนื่องจากเด็กวัยนี้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขปี 2562 พบภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปีสูงดีสมส่วนเพียง ร้อยละ 61.5 ภาวะผอม เริ่มอ้วนและอ้วน และเตี้ย พบร้อยละ 5.1 ,13.6 และ 8.9 ตามลำดับ ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล มีโรงเรียน ทั้งหมด 9 แห่งจากรายงาน Health Data Center (HDC) พบว่า ร้อยละของเด็กวัยเรียนสูงดีสมส่วน (6-14 ปี) มีแนวโน้มลดลง ในปีพ.ศ. 2561-2563 เท่ากับ ร้อยละ 62.2 , 58.79 , 56.05 , 49.2 และ 46.5ตามลำดับซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมาย (ร้อยละ 66) และปัญหาทุพโภชนาการด้านอื่น พบว่า ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ปีพ.ศ. 2561 - 2563 มีแนวโน้มที่สูงขึ้น เกินกว่าเป้าหมาย เท่ากับ ร้อยละ 11.48 , 13.01 11.93 , 12.74 และ14.06 (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 10) และภาวะเตี้ย มีแนวโน้มสูงขึ้น ร้อยละ 5.59 10.97 , 17.02 , 7.03 และ 14.64(เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 5) ภาวะผอม ยังคงที่ 7.69 , 6.91 , 4.59 , 5.37 และ 5.67 (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 5 )
จากปัญหาดังกล่าวจึงเป็นโอกาสที่จะส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ หากเด็กได้รับอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จะทำให้การเจริญเติบโตสมวัย หากขาดอาหารเป็นเวลานานเรื้อรังจะทำให้เด็กเตี้ย ส่งผลต่อการพัฒนาสมอง โดยระดับสติปัญญาต่ำกว่าเด็กที่มีส่วนสูงตามเกณฑ์ พัฒนาการล่าช้า อีกทั้งเด็กที่มีภาวะเตี้ยมีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นโรคเรื้อรังเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งการส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนได้กินอาหารในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตที่ดี มีส่วนสูงในระดับดีและรูปร่างสมส่วน รวมทั้งป้องกันปัญหาภาวะทุพโภชนาการ (อ้วน ผอม เตี้ย) ได้ ดังนั้นการส่งเสริมด้านภาวะโภชนาการให้เด็กวัยเรียนได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ครบถ้วนเหมาะสมตามวัย ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตที่ดีทั้งร่างกายและสมอง ดังนั้นงานส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.สตูล จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน เพื่อส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน เติบโตเต็มศักยภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงต่อไปในอนาคต อันจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา ประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครูอนามัยโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

ร้อยละ 80 ของครูอนามัยโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

80.00
2 เพื่อสร้างแกนนำนักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

ร้อยละ 80 ของแกนนำนักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

80.00
3 เพื่อสร้างระบบการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

มีเครือข่ายเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนในโรงเรียน

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 48,175.00 3 37,434.50
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 อบรมพัฒนาศักยภาพครูอนามัยโรงเรียนและภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน 0 12,375.00 8,135.00
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างแกนนำนักเรียนเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน 0 30,500.00 29,299.50
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ประชุมพัฒนาระบบการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน 0 5,300.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ครูอนามัยโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนและการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน 2 เกิดแกนนำนักเรียนด้านการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน 3 ปัญหาภาวะโภชนาการ (อ้วน ผอม เตี้ย) ลดลง 4 มีเครือข่ายเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนในโรงเรียน ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2565 14:54 น.