กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาสตูล

1.นางสาวปฤษณา สิตะรุโณ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ โทร 0944709069
2.นางสาวฟารีซา เจะมะตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ โทร 0957135187
3.นางสาวยานีลา สกุลาตำแหน่ง นักวิชาการสาธารสุขชำนาญการ โทร 0894641560

โรงเรียนในเขตตำบลพิมาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โภชนาการที่ดีเป็นรากฐานที่สำคัญของการมีสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะเด็กวัยเรียน เนื่องจากเด็กวัยนี้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขปี 2562 พบภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปีสูงดีสมส่วนเพียง ร้อยละ 61.5 ภาวะผอม เริ่มอ้วนและอ้วน และเตี้ย พบร้อยละ 5.1 ,13.6 และ 8.9 ตามลำดับ ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล มีโรงเรียน ทั้งหมด 9 แห่งจากรายงาน Health Data Center (HDC) พบว่า ร้อยละของเด็กวัยเรียนสูงดีสมส่วน (6-14 ปี) มีแนวโน้มลดลง ในปีพ.ศ. 2561-2563 เท่ากับ ร้อยละ 62.2 , 58.79 , 56.05 , 49.2 และ 46.5ตามลำดับซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมาย (ร้อยละ 66) และปัญหาทุพโภชนาการด้านอื่น พบว่า ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ปีพ.ศ. 2561 - 2563 มีแนวโน้มที่สูงขึ้น เกินกว่าเป้าหมาย เท่ากับ ร้อยละ 11.48 , 13.01 11.93 , 12.74 และ14.06 (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 10) และภาวะเตี้ย มีแนวโน้มสูงขึ้น ร้อยละ 5.59 10.97 , 17.02 , 7.03 และ 14.64(เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 5) ภาวะผอม ยังคงที่ 7.69 , 6.91 , 4.59 , 5.37 และ 5.67 (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 5 )
จากปัญหาดังกล่าวจึงเป็นโอกาสที่จะส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ หากเด็กได้รับอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จะทำให้การเจริญเติบโตสมวัย หากขาดอาหารเป็นเวลานานเรื้อรังจะทำให้เด็กเตี้ย ส่งผลต่อการพัฒนาสมอง โดยระดับสติปัญญาต่ำกว่าเด็กที่มีส่วนสูงตามเกณฑ์ พัฒนาการล่าช้า อีกทั้งเด็กที่มีภาวะเตี้ยมีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นโรคเรื้อรังเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งการส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนได้กินอาหารในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตที่ดี มีส่วนสูงในระดับดีและรูปร่างสมส่วน รวมทั้งป้องกันปัญหาภาวะทุพโภชนาการ (อ้วน ผอม เตี้ย) ได้ ดังนั้นการส่งเสริมด้านภาวะโภชนาการให้เด็กวัยเรียนได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ครบถ้วนเหมาะสมตามวัย ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตที่ดีทั้งร่างกายและสมอง
ดังนั้นงานส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.สตูล จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน เพื่อส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน เติบโตเต็มศักยภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงต่อไปในอนาคต อันจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา ประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครูอนามัยโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

ร้อยละ 80 ของครูอนามัยโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

80.00
2 เพื่อสร้างแกนนำนักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

ร้อยละ 80 ของแกนนำนักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

80.00
3 เพื่อสร้างระบบการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

มีเครือข่ายเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนในโรงเรียน

80.00

1. เพื่อให้ครูอนามัยโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน
2. เพื่อสร้างแกนนำนักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน
3. เพื่อสร้างระบบการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน 55
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมพัฒนาศักยภาพครูอนามัยโรงเรียนและภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาศักยภาพครูอนามัยโรงเรียนและภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมพัฒนาศักยภาพครูอนามัยโรงเรียนและภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียนโดยการบรรยายและกิจกรรมกลุ่มเข้าฐานเรียนรู้ มีกลุ่มเป้าหมาย 30 คน โดยใช้งบประมาณ ดังนี้

  • แบบสอบถามสำหรับการสำรวจงานอนามัยโรงเรียน 9 แห่งๆละ 65 ชุด เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อ x 25 บาท x 30 คนเป็นเงิน 1,500บาท
  • ค่าไวนิลป้ายโครงการ 1.5x3 เมตร จำนวน 1ผืนเป็นเงิน675 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 1 มื้อ x 70 บาท x 30 คนเป็นเงิน2,100บาท
  • ค่าวิทยากรภายในจังหวัด 1 ท่าน x 2 ชั่วโมง x 300 บาทเป็นเงิน600บาท
  • ค่าวิทยากรภายในจังหวัด (วิทยากรกลุ่ม) 5 ท่าน x 3 ชั่วโมง x 300 บาทเป็นเงิน 4,500 บาท ตารางกำหนดการอบรมพัฒนาศักยภาพครูอนามัยโรงเรียนและภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2565
    ณ ห้องประชุมประกายเพชร ชั้น 4 ตึกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสตูล

วัน/เวลา/สถานที่ กิจกรรม
08.30 - 9.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 10.00 น. สถานการณ์ปัญหาสุขภาพกลุ่มวัยเรียนความสำคัญของโภชนาการในเด็กวัยเรียน
10.00- 12.00 น.บรรยายมาตรฐานการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยเรียนและแนวทางการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน
12.00 - 13.00 น. อาหารกลางวัน
13.00 - 16.00 น. ฐานการเรียนรู้ฟื้นฟูแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยเรียนและการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ จำนวน 5 กลุ่ม
16.00 - 16.30 น. สรุปผลและวางแผนการติดตามงาน

หมายเหตุ : พักรับประทานอาหารว่าง เวลา 10.45 และ 14.45

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครูอนามัยโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12375.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างแกนนำนักเรียนเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างแกนนำนักเรียนเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างแกนนำนักเรียนเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนโดยการบรรยายและกิจกรรมกลุ่มเข้าฐานเรียนรู้กลุ่มเป้าหมายจำนวน 120 คน โดยใช้งบประมาณดังนี้

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์โครงการ (แผ่นพับสีเรื่องผักผลไม้สีรุ้ง จำนวน 120 ชุด/โตขึ้นหุ่นดีไม่มีอ้วน จำนวน 120 ชุด/โชป้าแอนด์ชายด์ป้าเกมส์จำนวน 120 ชุดคิด , ปากกา จำนวน 120 ด้ามๆละ 5 บาท คิดเป็นเงิน 600 บาท )เป็นเงิน 5,000 บาท
  • โฟมบอร์ดความรู้ขนาด 45 x 60 cm จำนวน 4 ชุด x 1500 บาทเป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อ x 25 บาท x 120 คน x 1 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 1 มื้อ x 70 บาท x 120 คนเป็นเงิน 8,400บาท
  • ค่าวิทยากรภายในจังหวัด 1 ท่าน x 2 ชั่วโมง x 300 บาทเป็นเงิน 600บาท
  • ค่าวิทยากรภายในจังหวัด (วิทยากรกลุ่ม) 5 ท่าน x 3 ชั่วโมง x 300 บาท เป็นเงิน 4,500บาท

กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างแกนนำนักเรียนเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน วันที่.....มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมประกายเพชร ชั้น 4 ตึกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสตูล วัน/เวลา/สถานที่ กิจกรรม
08.30 - 9.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 10.00 น. สถานการณ์ปัญหาสุขภาพกลุ่มวัยเรียนสถานการณ์การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยเรียน อำเภอเมืองสตูล
10.00 - 12.00 น. ความสำคัญของโภชนาการในเด็กวัยเรียน
12.00 - 13.00 น. อาหารกลางวัน
13.00 - 16.00 น. ฐานการเรียนรู้การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยเรียนและการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
16.00 - 16.30 น. สรุปผลและวางแผนการติดตามงาน

หมายเหตุ : พักรับประทานอาหารว่าง เวลา 10.45 และ 14.45

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำนักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน  ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30500.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมพัฒนาระบบการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมพัฒนาระบบการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมพัฒนาระบบการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าด้านสาธารณสุขจำนวน 15 คน ตัวแทนจากสถานศึกษา จำนวน 10 คน แกนนำชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน โดยจัดประชุมเพื่อคืนข้อมูล วางแผนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน ชุมชนและจัดทำแนวทางการส่งต่อในเด็กที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการ
โดยมีงบประมาณ ดังนี้ งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อ x 25 บาท x 40 คน x 1 วัน เป็นเงิน2,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวันจำนวน 1 มื้อ x 70 บาท x 40 คน x 1 วัน เป็นเงิน2,800 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์โครงการ(เอกสารและปากกา) เป็นเงิน 500 บาท กำหนดการประชุมพัฒนาระบบการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน วันที่.......มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมประกายเพชร ชั้น 4 ตึกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสตูล

วัน/เวลา/สถานที่ กิจกรรม
08.30 - 9.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 10.00 น. คืนข้อมูลสถานการณ์ปัญหาสุขภาพกลุ่มวัยเรียน สถานการณ์การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยเรียน อำเภอเมืองสตูล
10.00 - 12.00 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน
12.00 - 13.00 น. อาหารกลางวัน
13.00 - 16.00 น. พัฒนาระบบการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียนโดยการมีส่วนร่วม
16.00 - 16.30 น. สรุปผลและวางแผนการติดตามงาน

หมายเหตุ : พักรับประทานอาหารว่าง เวลา 10.45 และ 14.45

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละ 80 ของภาคีเครือข่ายให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อนงานเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน
  • มีเครือข่ายเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนในโรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 48,175.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ครูอนามัยโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนและการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน
2 เกิดแกนนำนักเรียนด้านการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน
3 ปัญหาภาวะโภชนาการ (อ้วน ผอม เตี้ย) ลดลง
4 มีเครือข่ายเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนในโรงเรียน ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


>