กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 66-L5192-3-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสีตี
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 63,295.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวตัสนีม สาแมแน็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสีตี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 24 ก.พ. 2566 9 มี.ค. 2566 63,295.00
รวมงบประมาณ 63,295.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการล่าช้า ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
60.00
2 ร้อยละของผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยเด็ก
60.00
3 ร้อยละของเด็กปฐมวัยมีสมรรถนะทางกายเพียงพอ(ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)
60.00
4 ร้อยละของเวลาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการเรียนการสอนแบบกระฉับกระเฉง(Active play active learning)
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วย ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสีตี มีนักเรียนระดับปฐมวัยทั้งหมด 35 คน ครู 2 คน นักเรียนมีภาวะร่างกายตามหลักโภชนาการเป็นไปตามปกติ แต่มีสมรรถนะทางร่างกายและการเจริญเติบโตสมวัยคิดเป็นร้อยละ 60 เนื่องจาก ไม่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะทางกายอย่างเพียงพอและเหมาะสม สาเหตุที่สำคัญเกิดจากศูนย์ฯไม่มีงบประมาณในการจัดซื้อชุดของเล่น เครื่องเล่นต่างๆ ได้ การจัดสรรรายหัวนักเรียนไม่เพียงพอ สนามเด็กเล่นชำรุด ผุพัง ขึ้นสนิมเกินกว่าจะซ่อมแซม เสี่ยงต่อการใช้ประโยชน์การเล่น ซึ่งทางศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสีตี ได้พยายามฝึกประสบการณ์ด้วยการเล่นกิจกรรมพื้นบ้านหรือวิธีอื่นทดแทน เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และสามารถพัฒนาสมรรถนะทางกายให้สมวัย อีกทั้งในปัจจุบันพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นที่น่าวิตกมากเมื่อพบว่าโดยภาพรวมแล้ว เด็กปฐมวัยมีแนวโน้มพัฒนาการล่าช้าในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เนื่องจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โดยมีพ่อแม่ ผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ดังนั้นจึงหาของเล่นที่สำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาดโดยไม่คำนึงถึงว่าของเล่นนั้นๆสามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยหรือไม่ สำหรับเด็กปฐมวัย การเล่นมีความสำคัญต่อการพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก เพราะการเล่นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ของเด็กในอนาคต ฉะนั้นแล้ว พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องเข้าใจและสามารถนำของเล่นหรือกิจกรรมการเล่นไปใช้กับเด็กได้อย่างเหมาะสมกับวัย เช่น ลูกแซก ระนาดดาวยิ้มม้าโยกเยก เป็นต้น เพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ทำให้เด็กสนุก ร่าเริง ร่างกายแข็งแรงและทำให้ทักษะการพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยก้าวไปอย่างมีคุณภาพ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ในอนาคต ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสีตี ได้เล็งเห็นความสำคัญเรื่องการเล่นซึ่งนอกเหนือจากการขีดเขียนในสมุด และเพื่อให้สอดคล้องตอบสนองเชื่อมโยงกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 การพัฒนาเด็กให้ครบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละของเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการล่าช้า ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา

ร้อยละของเด็กมีพัฒนาการล่าช้า ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ที่ลดลง

50.00 70.00
2 ร้อยละของผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ลดอัตราผู้ปกครองที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

60.00 80.00
3 เพื่อส่งเสริมเด็กให้มีสมรรถนะทางกายเพียงพอ(ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

ร้อยละของเด็กให้มีสมรรถนะทางกายเพียงพอ(ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

60.00 80.00
4 ร้อยละของเวลาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการเรียนการสอนแบบกระฉับกระเฉง(Active play active learning)

ร้อยละของเวลาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการเรียนการสอนแบบกระฉับกระเฉง(Active play active learning)ที่ดีขึ้นและเพิ่มขึ้น

60.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ร้อยละของเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการล่าช้า ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ร้อยละของผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อส่งเสริมเด็กให้มีสมรรถนะทางกายเพียงพอ(ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : ร้อยละของเวลาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการเรียนการสอนแบบกระฉับกระเฉง(Active play active learning)

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

22 พ.ค. 66 ประชุมจัดเตรียมโครงการ 1,850.00 -
19 - 23 มิ.ย. 66 ปรับปรุงมุมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 53,870.00 -
6 ก.ค. 66 อบรมปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาการเด็กปฐมวัย 7,175.00 -
7 - 11 ก.ค. 66 ประเมินพัฒนาการเด็ก 50.00 -
24 ส.ค. 66 สรุปรายงาน 350.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 80 เด็กศูนย์ฯบ่าโร๊ะสีตีสามารถเล่นสื่อวัสดุได้อย่างสนุกสนานและมีศักยภาพด้านสมองจากเคลื่อนไหว มีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน
  2. ร้อยละ 70 ของผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาการเด็ก
  3. ร้อยละ 80 เด็กได้ฝึกความสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมัดเล็กกล้ามเนื้อมัดใหญ่ มีสมรรถนะทางกายและภาวะการเจริญเติบโตสมวัยวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2565 11:17 น.