กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสีตี

1. นางสาวตัสนีมสาแมแน็ง

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสีตี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการล่าช้า ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา

 

60.00
2 ร้อยละของผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยเด็ก

 

60.00
3 ร้อยละของเด็กปฐมวัยมีสมรรถนะทางกายเพียงพอ(ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

60.00
4 ร้อยละของเวลาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการเรียนการสอนแบบกระฉับกระเฉง(Active play active learning)

 

60.00

ด้วย ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสีตี มีนักเรียนระดับปฐมวัยทั้งหมด 35 คน ครู 2 คน นักเรียนมีภาวะร่างกายตามหลักโภชนาการเป็นไปตามปกติ แต่มีสมรรถนะทางร่างกายและการเจริญเติบโตสมวัยคิดเป็นร้อยละ 60 เนื่องจาก ไม่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะทางกายอย่างเพียงพอและเหมาะสม สาเหตุที่สำคัญเกิดจากศูนย์ฯไม่มีงบประมาณในการจัดซื้อชุดของเล่น เครื่องเล่นต่างๆ ได้ การจัดสรรรายหัวนักเรียนไม่เพียงพอ สนามเด็กเล่นชำรุด ผุพัง ขึ้นสนิมเกินกว่าจะซ่อมแซม เสี่ยงต่อการใช้ประโยชน์การเล่น ซึ่งทางศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสีตี ได้พยายามฝึกประสบการณ์ด้วยการเล่นกิจกรรมพื้นบ้านหรือวิธีอื่นทดแทน เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และสามารถพัฒนาสมรรถนะทางกายให้สมวัย อีกทั้งในปัจจุบันพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นที่น่าวิตกมากเมื่อพบว่าโดยภาพรวมแล้ว เด็กปฐมวัยมีแนวโน้มพัฒนาการล่าช้าในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เนื่องจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โดยมีพ่อแม่ ผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ดังนั้นจึงหาของเล่นที่สำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาดโดยไม่คำนึงถึงว่าของเล่นนั้นๆสามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยหรือไม่ สำหรับเด็กปฐมวัย การเล่นมีความสำคัญต่อการพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก เพราะการเล่นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ของเด็กในอนาคต ฉะนั้นแล้ว พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องเข้าใจและสามารถนำของเล่นหรือกิจกรรมการเล่นไปใช้กับเด็กได้อย่างเหมาะสมกับวัย เช่น ลูกแซก ระนาดดาวยิ้มม้าโยกเยก เป็นต้น เพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ทำให้เด็กสนุก ร่าเริง ร่างกายแข็งแรงและทำให้ทักษะการพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยก้าวไปอย่างมีคุณภาพ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ในอนาคต
ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสีตี ได้เล็งเห็นความสำคัญเรื่องการเล่นซึ่งนอกเหนือจากการขีดเขียนในสมุด และเพื่อให้สอดคล้องตอบสนองเชื่อมโยงกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 การพัฒนาเด็กให้ครบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละของเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการล่าช้า ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา

ร้อยละของเด็กมีพัฒนาการล่าช้า ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ที่ลดลง

50.00 70.00
2 ร้อยละของผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ลดอัตราผู้ปกครองที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

60.00 80.00
3 เพื่อส่งเสริมเด็กให้มีสมรรถนะทางกายเพียงพอ(ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

ร้อยละของเด็กให้มีสมรรถนะทางกายเพียงพอ(ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

60.00 80.00
4 ร้อยละของเวลาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการเรียนการสอนแบบกระฉับกระเฉง(Active play active learning)

ร้อยละของเวลาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการเรียนการสอนแบบกระฉับกระเฉง(Active play active learning)ที่ดีขึ้นและเพิ่มขึ้น

60.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 01/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมจัดเตรียมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมจัดเตรียมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 ประชุมจัดเตรียมโครงการ ผู้เข้าประชุมได้แก่ ประธานศูนย์ฯ1 คนคณะกรรมการศูนย์ฯ 5 คน ตัวแทนผู้ปกครอง 5 คน ครู 2 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน รวมทั้งสิ้น 14 คน - ผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอที่มา ความสำคัญ ปัญหาและการจัดตั้งโครงการ และนำเสนอแผนงานโครงการ - ผู้เข้าร่วมประชุมระดมสมองพิจารณาแผนงานที่กำหนด - จัดทำแผนปฏิบัติการของโครงการ งบประมาณจากกิจกรรมที่ 1 1.ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมประชุมเตรียมโครงการ จำนวน 14 คน 25 บาท /มื้อ/คนเป็นเงิน 350 บาท
2. ค่าป้ายไวนิล คิดตารางเมตรละ 150 บาท ขนาด 4
2 เมตร 1 ป้าย * 1,500 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,850 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2566 ถึง 22 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.คณะกรรมการมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการไปในทิศทางเดียวกัน 2.คณะทำงานสามารถแบ่งหน้าที่ในความรับผิดชอบของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1850.00

กิจกรรมที่ 2 ปรับปรุงมุมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
ปรับปรุงมุมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครูผู้ดูแลเด็กปรับปรุงมุมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก งบประมาณ
1.สื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย 1.1. ม้ากระดกหมีและเพื่อน ราคา 3,950บาท * 2 ตัว เป็นเงิน 7,800 บาท
1.2. ลูกลื่นฝึกความสัมพันธ์ แสงและเงา ขนาด 40-2940 ซม. ราคา 2,400 บาท * 4 ชุดเป็นเงิน 9,600 บาท
1.3. โยนห่วงมหัศจรรย์ ขนาด 404.52.5 ซม. ราคา 995 บาท * 4 ชุด เป็นเงิน 3,980 บาท
1.4. โยกเยกปลาน้อยน่ารัก ราคา 2,500 บาท * 2 ชุด เป็นเงิน 5,000 บาท
1.5. โยกเยกม้าหรรษา ราคา 2,500 บาท * 2 ชุดเป็นเงิน 5,000 บาท
2.สื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ 2.1. ระนาดดาวยิ้ม ขนาด 28.51916.5 ซม. ราคา 950 บาท * 4 ชุด เป็นเงิน 3,800 บาท 2.2. ลูกแซกไม้ใหญ่ (คู่) ขนาด 7.5 นิ้ว ราคา 500 บาท * 4 ชุด เป็นเงิน 2,000 บาท 3.สื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม 3.1 ชุดกระเป๋าหมอฟัน ขนาด 211615 ซม. ราคา 700 บาท * 2 ชุด เป็นเงิน 1,400 บาท 3.2. โต๊ะพี่หมีฝึกทักษะงานช่าง ขนาด 412531 ซม. ราคา 1,800 บาท 2 เป็นเงิน 3,600 บาท 4. สื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านปัญญา 4.1. ภาพตัดต่อรูปมือสอนนับเลข ขนาด 2222 ซม. ราคา 590 บาท * 6 เป็นเงิน 3,540 บาท 4.2. จับคู่นุ่มนิ่มผลไม้ จำนวน 36 ชิ้น ราคา 3,000 บาท * 2 ชุด เป็นเงิน 6,000 บาท 8. จุดคัดกรองโควิท 19 8.1 อ่างล้างมือ ราคา 2,150 บาท * 1 อ่าง เป็นเงิน 2,150 บาท
รวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น 53,870 บาทถ้วน

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 มิถุนายน 2566 ถึง 23 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อุปกรณ์ส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเด็กปฐมวัยและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
53870.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาการเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.พิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดย นายวีรชาติสาแมแน็ง 2.บรรยายเรื่อง "การอบรมพัฒนาการเด็กปฐมวัย"โดยวิทยากร จาก รพ.สต. pcu 3 จำนวน 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท * 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท โดยมีรายละเอียดการจัดกิจกรรมดังนี้ เวลา 08.30-09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม เวลา 09.00-09.10 น. นายวีรชาติ สาแมแน็ง กล่าวเปิดพิธี เวลา 09.10-09.20 น. นางสาวตัสนีมสาแมแน็ง กล่าววัตถุประสงค์โครงการ เวลา 09.20-10.00 น. ความสำคัญของพัฒนาต่อสติปัญญาการเรียนรู้ การเข้าสังคม และทักษะการช่วยเหลือตนเองในเด็กปฐมวัย เวลา 10.00-11.00 น. บทบาทของผู้ปกครองการส่งเสริมพัฒนาการ การดูแลเด็กในปกครอง กรณีมีพัฒนาการล่าช้า เวลา 11.00-11.30 น. แนวทางในการแก้ไขและส่งเสริมพัฒนาการในเดพ็กปฐมวัย เวลา 11.30-12.00 น. รับอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม เวลา 12.00 น.เดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ 3.จัดซื้อชุดประเมินพัฒนาการ DSPM ช่วงอายุ 0-6 ขวบ ราคา 4,500 บาท * 1 เป็นเงิน 4,500 บาท 4.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรมจำนวน 35 คน * 25 บาท เป็นเงิน 875 บาท รวมทั้งสิ้น 7,175 บาทถ้วน

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กรกฎาคม 2566 ถึง 6 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าอบรมมีความรู้และนำวิธีการที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติไปต่อยอดกับบุตรหลานได้ถูกต้อง ถูกวิธี และเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7175.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินพัฒนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
ประเมินพัฒนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินพัฒนาการเด็ก 1. เอกสารประเมินพัฒนาการจำนวน 1 ชุด
2. แบบประเมินพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้านจำนวน 35 ชุดราคา 50 สตางค์/แผ่น100 * 0.50เป็นเงิน 50 บาท 2.1 ด้านร่างกาย 2.2 ด้านอารมณ์-จิตใจ 2.3 ด้านสังคม 2.4 ด้านสติปัญญา

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 กรกฎาคม 2566 ถึง 11 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ภาวะสุขภาพจากน้ำหนักส่วนสูงของเด็กบ่าโร๊ะสีตีและแบบบันทึกพัฒนาการทั้ง 4ด้าน ร่างกาย อารมณ์สังคมและสติปัญญา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปรายงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปรายงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 14 คน / 25 บาท เป็นเงิน 350 บาท 2.เอกสารสรุปผลการดำเนินงาน 2 เล่ม เป็นเงิน 0 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 สิงหาคม 2566 ถึง 24 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลดำเนินโครงการจำนวน 2 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 63,295.00 บาท

หมายเหตุ :
ถัวเฉลี่ยตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 80 เด็กศูนย์ฯบ่าโร๊ะสีตีสามารถเล่นสื่อวัสดุได้อย่างสนุกสนานและมีศักยภาพด้านสมองจากเคลื่อนไหว มีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน
2. ร้อยละ 70 ของผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาการเด็ก
3. ร้อยละ 80 เด็กได้ฝึกความสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมัดเล็กกล้ามเนื้อมัดใหญ่ มีสมรรถนะทางกายและภาวะการเจริญเติบโตสมวัยวัย


>