กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพเพื่อรับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนในตำบลทุ่งพลา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพเพื่อรับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนในตำบลทุ่งพลา
รหัสโครงการ 2566/L2979/1/03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลา
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,940.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีชา กาฬแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.641,101.152place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 125 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถิติการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยาในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2560-2563 และในปี 2563 ข้อมูล ณ เดือน ตุลาคม 2563 สถิติการป่วยและการเสียชีวิตด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน พบว่า ประเทศไทยไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคโปลิโอติดต่อกันเป็นเวลากว่า 20 ปี แต่ยังพบจำนวนผู้ป่วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนหลายโรคที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น (สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2562) ในปี 2562 พบผู้ป่วยโรคหัดเยอรมัน 258 ราย (อัตราป่วย 0.39 ต่อประชากรแสนคน) จากเดิมมีผู้ป่วยปีละ 168-240 ราย แต่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต สำหรับโรคไข้สมองอักเสบเจอี พบผู้ป่วย 14 ราย (อัตราป่วย 0.02 ต่อประชากรแสนคน) โดยสองปีก่อนหน้านี้พบจำนวน 10-14 ราย ผู้ป่วยโรคไอกรนจำนวน 77 ราย (อัตราป่วย 0.12 ต่อประชากรแสนคน) มีผู้เสียชีวิต 2 ราย โดยสองปีก่อนหน้านี้พบจำนวน 51-74 ราย (กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค, 2562) สำหรับโรคที่มีแนวโน้มลดลง ได้แก่ โรคคอตีบ ในปี 2561-2562 พบผู้ป่วยยืนยันจำนวน 11 ราย และ 9 ราย ตามลำดับ และในปี 2562 พบผู้ป่วยสงสัยโรคคอตีบ 4 ราย (เป็นผู้ป่วยในอายุมากกว่า 15 ปี จำนวน 2 ราย) เสียชีวิต 2 ราย ไม่พบผู้ป่วยบาดทะยักในทารกแรกเกิดตั้งแต่ปี 2561-2562 ผู้ป่วยโรคคางทูมในปี 2562 มีจำนวนลดลง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี มีเขตพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 5 หมู่บ้าน อยู่ในเขตการปกครองของ อบต.ทุ่งพลา จากรายงานการเฝ้าระวังโรค ของสำนักระบาดวิทยาในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2562-2564) และ ในปี 2563 ล่าสุด ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 พบว่า ไม่พบผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน แต่ยังพบการ ขาดนัดจำนวนเด็กที่ขาดนัดวัคซีนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลา จำแนกเป็นรายหมู่บ้านสรุปได้ดังนี้มีจำนวนเด็กที่ขาดนัดจากเดือน เม.ย-ก.ย. 2565 เด็กที่ขาดนัดจำนวนทั้งหมด 30 คนจากจำนวนเด็กทั้งหมด 125 คนคิดเป็นร้อยละ 24 หมู่บ้านที่ขาดนัด มากที่สุด 1 หมู่บ้าน ได้แก่บ้านเกาะตา จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 16 รองลงมาคือ บ้านทุ่งพลา จำนวน 6 คนคิดเป็นร้อยละ 4.8 บ้านห้วยเงาะ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6 บ้านป่าไร่ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.8 และบ้านเกาะวิหาร จำนวน 1 คนคิดเป็นร้อยละ 0.8 จำนวนผู้มารับบริการฉีดวัคซีนในคลินิกสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคไม่คลอบคลุมตามเป้าหมาย (คือ ร้อยละ 95) ซึ่งเหตุผลส่วนใหญ่ คืออาศัยอยู่ต่างจังหวัด ย้ายถิ่นไปจังหวัดอื่นแต่ไม่ได้แจ้งเจ้าหน้าที่ และอยู่กับตา ยาย โดยไม่ได้สนใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนของเด็ก รวมถึงความตระหนักและภาวะเศรษกิจของผู้ปกครอง รวมถึงกลัวเด็กมีไข้ ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลา จึงเห็นความสำคัญในการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพ เพื่อรับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการฉีดวัคซีน

1 ร้อยละ 100 ของผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ และนำบุตรหลานมาฉีดวัคซีนตามนัด

2 2. เพื่อลดการป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
  1. ความครอบคลุมวัคซีนทุกชนิดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95
3 1. เพื่อพัฒนาทักษะเครือข่ายสาธารณสุขความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

1เกิด อสม.ต้นแบบด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคหมู่ละ 2 คน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อให้ผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการฉีดวัคซีน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อลดการป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 1. เพื่อพัฒนาทักษะเครือข่ายสาธารณสุขความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

13 มิ.ย. 66 ให้ความรู้เกี่ยวกับชนิดของวัคซีน ความสำคัญและเหตุผลที่ต้องฉีดวัคซีน 40.00 23,940.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดนวัตกรรมในการติดตามการรับบริการวัคซีนในพื้นที่   2. ไม่เกิดโรคติดต่อที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีนในชุมชน   3. อสม. ต้นแบบด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค สามารถถ่ายทอดความรู้และอธิบายเรื่องเกี่ยวกับวัคซีนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2565 11:57 น.