กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน ครรภ์คุณภาพ8 มิถุนายน 2566
8
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลทุ่งพลา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ขั้นดำเนินการ     2.1 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดที่ขึ้นทะเบียน       2.1.1 จนท.และอาสาสมัครสาธารณสุข มีการประชาสัมพันธ์/เชิญชวน ค้นหาหญิงตั้งครรภ์และแนะนำเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ       2.1.2 จัดทำทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ตำบลทุ่งพลา     2.1.3 จัดกิจกรรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะหญิงตั้งครรภ์ตามหลักสูตรเนื้อหา การส่งเสริมสุขภาพ 1,000 แรกแห่งชีวิต
      2.1.4 เตรียมพร้อมคลินิกรับฝากครรภ์ปลอดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
    -.จัดระบบการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค ทั้งจากผู้ให้และผู้รับบริการ ให้มีจุดคัดกรอง มีอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ทุกคนสวมหน้ากากอนามัย มีเจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อบริการก่อนและหลังการสัมผัสสิ่งต่างๆ       2.1.5 พัฒนางานคลินิกฝากครรภ์ (ANC) คุณภาพ -ค้นหาหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ -คัดกรองความเสี่ยงหญิงตั้งครรภ์     - ส่งเสริมการจ่าย/การกินยา Triferdineทุกวัน - หลังคลอด 6 เดือน     - ส่งเสริมโภชนาการหญิงตั้งครรภ์     - ตรวจสุขภาพช่องปากและขัดทำ ความสะอาดฟัน ในหญิงตั้งครรภ์     – กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่โดยมีเนื้อหาสำคัญ ดังนี้ 1.โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เมื่อเป็นโรคประจำถิ่นและโรคติดต่อที่มีผลกระทบกับหญิงตั้งครรภ์ 2.การปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ 3.การใช้ยา 4.ความรู้ด้านโภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ 5.พัฒนาการทารก 6.การเตรียมตัวก่อนคลอด และระหว่างคลอด 7.การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่     2.1.6 ทำมาตรฐานการปฏิบัติงานโครงการมหัศจรรย์ ๑,๐๐๐ วันแรกแห่งชีวิต ซึ่งเป็นการดูแลสตรีตั้งครรภ์       และเด็ก 0-2 ปี ดังนี้   1.หญิงตั้งครรภ์(ช่วง 270 วัน)     - การให้ยาเสริมธาตุเหล็ก ไอโอดีน (Triferdine150) และแคลเซียม     -การให้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก ไข้หวัดใหญ่และโรคโควิด 19     -การคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ธาลัสซีเมีย เบาหวาน     - คัดกรองภาวะซึมเศร้า   2.มารดาหลังคลอดและเด็กอายุ 0-6 เดือน(ช่วง 180 วัน)   - เน้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน   - ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้คู่มือตรวจพัฒนาการ DSPM   - ส่งเสริม 5เทคนิค กิน นอน กอด เล่น เล่า เสริมสร้างไอคิวและอีคิวลูกน้อย   3. ผู้ปกครองและเด็กอายุ6 เดือน-2 ปี(ช่วง 550 วัน) - เน้นนมแม่พร้อมอาหารเสริมตามวัย -การได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ในช่วง 6 เดือน-5 ปี -ส่งเสริมให้ผู้ปกครอง ใช้คู่มือตรวจพัฒนาการDSPM ตามช่วงวัย     -ส่งเสริม 5เทคนิค กิน นอน กอด เล่น เล่า เสริมสร้างไอคิวและอีคิวลูกน้อย   2.1.7 การเยี่ยมดูแล เฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยงที่บ้าน แจ้งหญิงตั้งครรภ์ถึงวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมบ้าน
      การเยี่ยมดูแล การเฝ้าระวัง ติดตาม มีแนวปฏิบัติดังนี้   - กรณีหญิงตั้งครรภ์ทั่วไป ที่ความเสี่ยงต่ำ: ติดต่อสอบถามทุกครั้งหลังจากหญิงตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และออกเยี่ยม 1 ครั้งก่อนไปฝากครรภ์ครั้งต่อไปโดยการซักถามอาการ การตรวจร่างกาย  เช่น ตรวจครรภ์ วัดความดันโลหิต แนะนำการดูแลตนเองตามอายุครรภ์ เช่น การรับประทานอาหาร การกินยา  (ธาตุเหล็ก และยาไอโอดีน)การพักผ่อน อาการผิดปกติหรือภาวะฉุกเฉิน ช่องทางติดต่อกับเจ้าหน้าที่หรือโรงพยาบาล   - กรณีหญิงตั้งครรภ์ ที่มีความเสี่ยงสูง: ติดต่อสอบถามทุกครั้งหลังจากหญิงตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล สอบถามอาการ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจครรภ์ วัดความสูงของยอดมดลูก ตรวจดูภาวะบวมที่ขาและเท้า ตรวจไข่ขาวในปัสสาวะโดยใช้แผ่นตรวจปัสสาวะ แนะนำการดูแลตนเองตามอายุครรภ์ เช่น การรับประทานอาหาร การกินยา การพักผ่อน อาการผิดปกติหรือภาวะฉุกเฉิน ช่องทางติดต่อ กับเจ้าหน้าที่หรือโรงพยาบาล   - กรณีหญิงตั้งครรภ์ ที่มีความเสี่ยงสูง: ติดต่อสอบถามทุกครั้งหลังจากหญิงตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล สอบถามอาการ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจครรภ์ วัดความสูงของยอดมดลูก ตรวจดูภาวะบวมที่ขาและเท้า ตรวจไข่ขาวในปัสสาวะโดยใช้แผ่นตรวจปัสสาวะ แนะนำการดูแลตนเองตามอายุครรภ์ เช่น การรับประทานอาหาร การกินยา การพักผ่อน อาการผิดปกติหรือภาวะฉุกเฉิน ช่องทางติดต่อ กับเจ้าหน้าที่หรือโรงพยาบาล   - กรณีหญิงตั้งครรภ์มีความดันโลหิตเพิ่มมากกว่าปกติหรือสูง ทำการเฝ้าระวังและติดตามทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้งหรือมากกว่า เพื่อชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจโปรตีนในปัสสาวะ ทั้งนี้อาจให้หญิงตั้งครรภ์และญาติดำเนินการเองโดยให้ยืมเครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความดันโลหิตและแผ่นตรวจไข่ขาวในปัสสาวะ พร้อมบันทึกผล  ติดต่อปรึกษาหารือกับแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อการดูแลและส่งต่อที่เหมาะสม   - กรณีหญิงหลังคลอด: ออกเยี่ยมหญิงหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์ เพื่อตรวจดูแผลฝีเย็บ และน้ำคาวปลา ตรวจดูเต้านม แนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การรับประทานอาหาร การกินยา 2.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามเด็ก 0-2ปี     2.2.1 จนท.และอาสาสมัครสาธารณสุข มีการประชาสัมพันธ์/เชิญชวน ค้นหาเด็กแรกเกิด- 2 ปีและแนะนำเข้าร่วมกิจกรรมโครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน ครรภ์คุณภาพ     2.2.2 หน่วยบริการจัดทำทะเบียน เอกสารข้อมูลและแผนกำกับดูแล แผนปฏิบัติงาน และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับเด็ก0-2ปี 2.2.3 จัดกิจกรรมสร้างความรู้การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ในหัวข้อ     - กิน นอน กอด เล่น เล่า     - นมแม่พร้อมอาหารเสริมตามวัย     - การใช้คู่มือตรวจพัฒนาการDSPM ตามช่วงวัยสำหรับผู้ปกครอง     - ส่งเสริมการจ่าย/กินยาน้ำ เสริมธาตุเหล็ก เด็กอายุ 6 เดือน – 5 ปีในคลินิก WCC 3. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพลา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลฝากครรภ์คุณภาพ 8ครั้งตามเกณฑ์     2. มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์   3. เด็กแรกเกิด-2 ปี มีพัฒนาการสมวัยโภชนาการสมส่วน