กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในทุกกลุ่มวัยแบบบูรณาการในชุมชน
รหัสโครงการ 66-L8008-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2566 - 31 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 25,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายศุภเดช สุกใส
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ชุมชนจงหัว
ละติจูด-ลองจิจูด 6.60928,100.07405place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มี.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 15 มี.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 25,200.00
รวมงบประมาณ 25,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากเป็นส่วนสำคัญของสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ การมีสุขภาพช่องปากที่ดีย่อมส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรทุกกลุ่มวัย ตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ โรคในช่องปากที่พบได้โดยทั่วไปคือ โรคฟันผุ และโรคเหงือกอักเสบ ซึ่งทั้งสองโรคนี้ส่วนใหญ่มักเกิดจากการทำความสะอาดช่องปากได้ไม่ทั่วถึง ก่อให้เกิดความเจ็บปวดและความรู้สึกไม่สบายในช่องปาก ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น รับประทานอาหารไม่ได้ นอนไม่หลับ เกิดภาวะเครียด ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพองค์รวมเป็นอย่างมาก จากข้อมูลสภาวะสุขภาพช่องปากในจังหวัดสตูล ปี 2565 พบว่า กลุ่มเด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันน้ำนมผุเพียงร้อยละ 75.96 กลุ่มเด็กอายุ 12 ปี ปราศจากฟันฟันผุร้อยละ 67.48 โดยมีค่าเฉลี่ยดัชนีฟันผุ ถอน อุด (dmft index) 1 ซี่ต่อคน และในกลุ่มผู้สูงอายุพบว่า มีฟันถาวรใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ เพียงร้อยละ 26.35 จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าประชากรในอำเภอเมืองสตูลมีปัญหาสุขภาพช่องปากในทุกกลุ่มวัย ควรได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องและเหมาะสมการทำความสะอาดฟันที่ถูกวิธี บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ และลดพฤติกรรมเสี่ยงในช่องปาก ถือเป็นการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองที่มีประสิทธิภาพ สะดวกและประหยัดที่สุด แต่ในขณะเดียวกันก็มักถูกละเลยมากที่สุดเช่นเดียวกัน ดังนั้น ความตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพช่องปาก การได้รับข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก และวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากประชาชนตระหนักถึงความสำคัญ มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองรวมไปถึงคนในครอบครัวได้แล้วนั้น ความเสี่ยงการเกิดโรคในช่องปากก็จะลดลง ปัญหาสุขภาพองค์รวมต่าง ๆ ที่เกิดจากปัญหาสุขภาพช่องปากก็จะลดน้อยลงไปด้วยดังนั้น กลุ่มงานทันตสาธารณสุขสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริม สุขภาพช่องปากในทุกกลุ่มวัยแบบบูรณาการในชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปาก ส่งเสริมสุขภาพช่องปากในทุกกลุ่มวัย และขับเคลื่อนและการพัฒนางานทันตสาธารณสุขในชุมชนให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนงานทันตสาธารณสุขให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

มีภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนงานทันตสาธารณสุขในชุมชน

0.00 20.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการรับรู้ถึงสภาวะสุขภาพช่องปากของตนเอง

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถดูเเลสุขภาพช่องปากของตนเองเเละครอบครัวได้อย่างเหมาะสม

0.00 50.00
3 เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปาก

มีบุคคลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพช่องปากในชุมชน

0.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,200.00 3 25,200.00
15 - 31 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานการขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก 0 2,600.00 2,600.00
15 - 31 มี.ค. 66 อบรมให้ความรู้การสร้างเสริมสุขภาพในช่องปาก 0 19,600.00 19,600.00
3 เม.ย. 66 - 30 มิ.ย. 66 ติดตามการดำเนินงาน 0 3,000.00 3,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องสามารถขับเคลื่อนงานทันตสาธารณสุขในชุมชนได้
  2. ประชาชนสามารถดูเเลสุขภาพช่องปากของตนเองเเละครอบครัวได้อย่างเหมาะสม
  3. บุคคลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพช่องปาก เป็นเเบบอย่างเเละให้คำเเนะนำคนในชุมชนได้อย่างถูกต้องเเละเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2565 14:15 น.