กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในชุมชน
รหัสโครงการ L3355-2-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 มีนาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกรุณา วิสโยภาส
พี่เลี้ยงโครงการ นางจำนรรจา ช่วยเนียม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนมีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสาธารณสุขของประเทศไทย ต้องพบเจอกับปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลมาหลายทศวรรษซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อตัวผู้ป่วยและก่อให้เกิดปัญหาต่อประเทศชาติ เนื่องด้วยการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลนั้นอาจนำไปสู่ความล้มเหล้วทางด้านการรักษาหรืออาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากตัวยาที่ใช้กับผู้ป่วย เช่นการเกิดเชื้อดื้อยาที่เพิ่มสูงขึ้นในผู้ป่วยและปัญหาต่อประเทศชาติ เช่น การสูญเสียเงินงบประมาณของประเทศชาติจากการใช้ยาเกินความจำเป็น ซึ่งสำหรับประเทศไทย พบว่า มูลค่าการบริโภคยาของคนไทยสูงขึ้นถึง 1.4 แสนล้านบาท โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่ใช้ยาเกินความจำเป็นถึง 2,370 ล้านบาท และกลุ่มการใช้ยาอย่างมีข้อสงสัยต่อประสิทธิภาพอีก 4,000 ล้านบาท อีกทั้งจากการสำรวจยังพบว่าปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลนั้นเกิดขึ้นในทุกระดับหน่วยการให้บริการ ตั้งแต่ระดับสถานพยาบาลจนถึงระดับชุมชน และจากองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า ทั่วโลกมีการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลมากกว่าร้อยละ 50 ของการใช้ยา โดยปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลนั้นอาจเกิดได้จากทั้งผู้ให้บริการในการจ่ายยาและจากความคาดหวังที่จะได้รับยาปฏิชีวนะโดยตรงจากตัวผู้ป่วยเอง เนื่องจากผู้รับบริการอาจมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะไม่เพียงพอ เช่น ผุ้รับบริการเข้าใจว่ายาปฏิชีวนะมีความจำเป็นต่อการรักษาความเจ็บป่วยเกิดความรวดเร็วในการทุเลาของอาการ หรือแม่แต่ประสบการณ์เคยได้รับยาปฏิชีวนะจากอาการที่คล้ายกันจากครั้งก่อนๆ ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีการกำหนดและดำเนินการยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ว่าด้วยยุทธศาสตร์การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล โดยระบุในยุทธศาสตร์ว่า การใช้ยาโดยแพทย์ บุคลากรทางด้านสาธารณสุขและประชาชนจะต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม ถูกต้องและคุ้มค่า เพื่อลดปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลกที่ว่า การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational drug use : RDU)คือ ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมและมีค่าใช้จ่ายต่อชุมชนและผู้ป่วยน้อยที่สุด จากปัญหาข้างต้นนี้ ได้มีการส่งผลกระทบโดยทั่วเกี่ยวกับการบริหารการจ่ายยาในผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการด้วยอาการเจ็บป่วยต่างๆ อีกทั้งยังมีพื้นฐานการเจ็บป่วยและโรคประจำตัวที่หลากหลายในหน่วยบริการซึ่งได้รวมถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในแต่ละพื้นที่ ความสำคัญและติดตามอัตราการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลอย่างต่อเนื่องพบว่า จากรายงานการจ่ายยาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขตอำเภอเมืองพัทลุง ในปีงบประมาณ 2565 พบว่ามีการใช้ยาปฏิชีวะนะในกลุ่มโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในผู้ป่วยนอก สูงเป็นอันดับ 4ของอำเภอเมืองพัทลุง จาก 24 แห่ง และมีการเลือกใช้บริการแพทย์ทางเลือกยาสมุนไพรสูงเพียงร้อยละ 12.34 คิดเป็นร้อยละ12.34คิดเป็นอันดับที่ 20 จาก 24 แห่ง และมีการเลือกใช้บริการของอำเภอเมืองพัทลุง ซึ่งในปัจจุบันได้มีการรณรงค์สนับสนุนให้มีการใช้ยาสมุนไพรในหน่วยบริการเพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วการจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยแต่ละรายย่อมต้องคำนึงถึงหลักการใช้ยาให้สมเหตุผลตามหลักการจ่ายยาที่ว่า ถูกคน ถูกโรค ถูกขนาด ถูกวิธี และถูกเวลา นอกจากปัญหาดังกล่าวแล้วยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ซื้อยามารับประทานเอง จากการคาดการณ์อาการการเจ็บด้วยตัวเองหรืออาการที่คล้ายจากการเจ็บป่วยครั้งก่อนๆทั้งจากร้านขายยาหรือร้านค้าที่ไม่ได้ผ่านการตรวจรักษาอย่างเหมาะสมจากบุคลากรทางการแพทย์ ดังนั้น จากปัญหาข้างต้นทาง อสม.ต.ท่ามิหรำ รพ.สต.บ้านน้ำเลือด เทศบาลตำบลท่ามิหรำ และกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่ามิหรำ จึงเห็นความสำคํญของการให้ความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนเพื่อสร้างองค์ความรู้ ความตระหนักและความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างเหมาะสมในประชาชนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้แพทย์ทางเลือก ยาสมุนไพร การดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างถูกต้องเหมาะสม และลดการซื้อยารับประทานเองอย่างไม่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้แก่ประชาชนในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผล

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเพิ่มมากขึ้น

20.00 20.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนสามารถเลือกใช้บริการแพทย์ทางเลือก ยาสมุนไพรได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายมีการเลือกใช้บริการแพทย์ทางเลือกยาสมุนไพรได้อย่างถูกต้องเพิ่มมากขึ้น

20.00 20.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีแนวทางการดูแลสุขภาพของตนเองและจากการเจ็บป่วยพื้นฐานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ประชาชนในชุมชนมีแนวทางการดูแลสุขภาพของตนเองและจากการเจ็บป่วยพื้นฐานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมเพิ่ม

20.00 20.00
4 เพื่อลดอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผลแก่ประชาชนในชุมชน

อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผลลดลง

20.00 20.00
5 เพื่อป้องกันการเกิดเชื้้อดื้อยาแก่ประชาชนในชุมชน

ไม่มีการเกิดเชื้อดื้อยาแก่ประชาชนในชุมชน

20.00 20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,200.00 0 0.00
1 พ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 อบรมให้ความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในชุมชน 0 14,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2565 00:00 น.