กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามิหรำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามิหรำ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ

1.นางกรุณาวิสโยภาส
2.นายเสริมขวัญนุ้ย
3.นางนันทภรณ์รุยันต์
4.นางหนูพร้อมด้วงเอียด
5.นางสาวสิริรัตน์พรหมมินทร์

ตำบลท่ามิหรำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนมีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล

 

20.00

ปัจจุบันสาธารณสุขของประเทศไทย ต้องพบเจอกับปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลมาหลายทศวรรษซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อตัวผู้ป่วยและก่อให้เกิดปัญหาต่อประเทศชาติ เนื่องด้วยการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลนั้นอาจนำไปสู่ความล้มเหล้วทางด้านการรักษาหรืออาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากตัวยาที่ใช้กับผู้ป่วย เช่นการเกิดเชื้อดื้อยาที่เพิ่มสูงขึ้นในผู้ป่วยและปัญหาต่อประเทศชาติ เช่น การสูญเสียเงินงบประมาณของประเทศชาติจากการใช้ยาเกินความจำเป็น ซึ่งสำหรับประเทศไทย พบว่า มูลค่าการบริโภคยาของคนไทยสูงขึ้นถึง 1.4 แสนล้านบาท โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่ใช้ยาเกินความจำเป็นถึง 2,370 ล้านบาท และกลุ่มการใช้ยาอย่างมีข้อสงสัยต่อประสิทธิภาพอีก 4,000 ล้านบาท อีกทั้งจากการสำรวจยังพบว่าปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลนั้นเกิดขึ้นในทุกระดับหน่วยการให้บริการ ตั้งแต่ระดับสถานพยาบาลจนถึงระดับชุมชน และจากองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า ทั่วโลกมีการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลมากกว่าร้อยละ 50 ของการใช้ยา โดยปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลนั้นอาจเกิดได้จากทั้งผู้ให้บริการในการจ่ายยาและจากความคาดหวังที่จะได้รับยาปฏิชีวนะโดยตรงจากตัวผู้ป่วยเอง เนื่องจากผู้รับบริการอาจมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะไม่เพียงพอ เช่น ผุ้รับบริการเข้าใจว่ายาปฏิชีวนะมีความจำเป็นต่อการรักษาความเจ็บป่วยเกิดความรวดเร็วในการทุเลาของอาการ หรือแม่แต่ประสบการณ์เคยได้รับยาปฏิชีวนะจากอาการที่คล้ายกันจากครั้งก่อนๆ ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีการกำหนดและดำเนินการยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ว่าด้วยยุทธศาสตร์การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล โดยระบุในยุทธศาสตร์ว่า การใช้ยาโดยแพทย์ บุคลากรทางด้านสาธารณสุขและประชาชนจะต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม ถูกต้องและคุ้มค่า เพื่อลดปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลกที่ว่า การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational drug use : RDU)คือ ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมและมีค่าใช้จ่ายต่อชุมชนและผู้ป่วยน้อยที่สุด
จากปัญหาข้างต้นนี้ ได้มีการส่งผลกระทบโดยทั่วเกี่ยวกับการบริหารการจ่ายยาในผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการด้วยอาการเจ็บป่วยต่างๆ อีกทั้งยังมีพื้นฐานการเจ็บป่วยและโรคประจำตัวที่หลากหลายในหน่วยบริการซึ่งได้รวมถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในแต่ละพื้นที่ ความสำคัญและติดตามอัตราการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลอย่างต่อเนื่องพบว่า จากรายงานการจ่ายยาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขตอำเภอเมืองพัทลุง ในปีงบประมาณ 2565 พบว่ามีการใช้ยาปฏิชีวะนะในกลุ่มโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในผู้ป่วยนอก สูงเป็นอันดับ 4ของอำเภอเมืองพัทลุง จาก 24 แห่ง และมีการเลือกใช้บริการแพทย์ทางเลือกยาสมุนไพรสูงเพียงร้อยละ 12.34 คิดเป็นร้อยละ12.34คิดเป็นอันดับที่ 20 จาก 24 แห่ง และมีการเลือกใช้บริการของอำเภอเมืองพัทลุง ซึ่งในปัจจุบันได้มีการรณรงค์สนับสนุนให้มีการใช้ยาสมุนไพรในหน่วยบริการเพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วการจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยแต่ละรายย่อมต้องคำนึงถึงหลักการใช้ยาให้สมเหตุผลตามหลักการจ่ายยาที่ว่า ถูกคน ถูกโรค ถูกขนาด ถูกวิธี และถูกเวลา นอกจากปัญหาดังกล่าวแล้วยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ซื้อยามารับประทานเอง จากการคาดการณ์อาการการเจ็บด้วยตัวเองหรืออาการที่คล้ายจากการเจ็บป่วยครั้งก่อนๆทั้งจากร้านขายยาหรือร้านค้าที่ไม่ได้ผ่านการตรวจรักษาอย่างเหมาะสมจากบุคลากรทางการแพทย์
ดังนั้น จากปัญหาข้างต้นทาง อสม.ต.ท่ามิหรำ รพ.สต.บ้านน้ำเลือด เทศบาลตำบลท่ามิหรำ และกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่ามิหรำ จึงเห็นความสำคํญของการให้ความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนเพื่อสร้างองค์ความรู้ ความตระหนักและความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างเหมาะสมในประชาชนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้แพทย์ทางเลือก ยาสมุนไพร การดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างถูกต้องเหมาะสม และลดการซื้อยารับประทานเองอย่างไม่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้แก่ประชาชนในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผล

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเพิ่มมากขึ้น

20.00 20.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนสามารถเลือกใช้บริการแพทย์ทางเลือก ยาสมุนไพรได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายมีการเลือกใช้บริการแพทย์ทางเลือกยาสมุนไพรได้อย่างถูกต้องเพิ่มมากขึ้น

20.00 20.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีแนวทางการดูแลสุขภาพของตนเองและจากการเจ็บป่วยพื้นฐานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ประชาชนในชุมชนมีแนวทางการดูแลสุขภาพของตนเองและจากการเจ็บป่วยพื้นฐานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมเพิ่ม

20.00 20.00
4 เพื่อลดอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผลแก่ประชาชนในชุมชน

อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผลลดลง

20.00 20.00
5 เพื่อป้องกันการเกิดเชื้้อดื้อยาแก่ประชาชนในชุมชน

ไม่มีการเกิดเชื้อดื้อยาแก่ประชาชนในชุมชน

20.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2022

กำหนดเสร็จ 31/03/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมโครงการอบรมความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในชุมชนจำนวน 200 คน      - ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง x 600 บาท x 4 ครั้ง เป็นเงิน 7,200 บาท      - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 200 คน ๆละ 1 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท 2.ให้ความรู้ผ่านเสียงตามสายในหมู่บ้านอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง และจัดทำเอกสารความรู้การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในชุมชน      - จัดทำเอกสารแผนพับ จำนวน 4,000  หน้า ราคาหน้าละ 0.50 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล
  2. ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกใช้บริการแพทย์ทางเลือก ยาสมุนไพรได้อย่างถูกต้อง
  3. ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองและจากการเจ็บป่วยพื้นฐานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  4. อัตราการใช้ยาและการจ่ายยาอย่างไม่สมเหตุสมผลลดลง 5.ประชาชนในชุมชนไม่เกิดเชื้อดื้อยา
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>