กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ให้กับเด็กปฐมวัย
รหัสโครงการ 66-L2541-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนอนุบาลตำบลริโก๋
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 39,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซารีนา สามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 ม.ค. 2566 39,400.00
รวมงบประมาณ 39,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วัยเด็กโดยเฉพาะในช่วงวัย2-5 ปีเพราะความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กจะพัฒนาได้มากในช่วงวัยนี้เด็กจะซึมซับได้จากสิ่งแวดล้อมรอบข้างผ่านการสังเกตและจากประสบการณ์ตรงการเอาใจใส่เด็กทั้งด้านสุขภาพร่างกายการเข้าสังคมเด็กที่ได้รับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เด็กจะรู้จักการควบคุมอารมณ์และการแสดงออกทางอารมณ์ของตนเองทั้งดีและไม่ดีได้อย่างเหมาะสมกับบุคคลสถานที่เวลาและสถานการณ์เด็กจะมีพื้นฐานอารมณ์ที่ดีรู้สึกภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นซึ่งจะเอื้ออำนวยให้เด็กประสบความสำเร็จในชีวิตในทางตรงกันข้ามหากเด็กไม่ได้รับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์จะส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กเช่นเอาแต่ใจตัวเองไม่เห็นอกเห็นใจคนอื่นไม่มีความอดทนก้าวร้าวชอบหาเรื่องทะเลาะกันอิจฉาขาดความรับผิดชอบและทำร้ายผู้อื่นซึ่งปัญหาเหล่านี้จะปรากฏชัดเจนและรุนแรงขึ้นในระยะที่เด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นความฉลาดทางอารมณ์เป็นทักษะที่เกิดขึ้นได้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ซึ่งต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็กมีแบบอย่างที่ดีควบคู่กับการอบรมสั่งสอนโดยเฉพาะพ่อแม่ผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กมีการเปิดโอกาสให้เด็กได้รับรู้แสดงอารมณ์ได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งการสอนให้เด็กจัดการกับอารมณ์ของตนเองควบคุมอารมณ์มีวินัยรู้จักการอดทนรอคอยรู้จักเข้าใจและเห็นใจคนอื่นสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับคนอื่นได้อย่างเหมาะสมจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ควรเข้าไปส่งเสริมพัฒนาเด็กโดยเฉพาะทักษะสมอง ExecutiveFunctions (EF)ซึ่งเป็นทักษะที่จะช่วยให้เด็ก “คิดเป็นทำเป็นเรียนรู้เป็นแก้ปัญหาเป็นอยู่กับคนอื่นเป็นและหาความสุขเป็น ” ซึ่ง EF จะช่วยให้เด็กมีเหตุมีผลยับยั้งชั่งใจได้กำกับอารมณ์และหาความสุขได้สามารถวางแผนทำงานเป็นช่วยให้เด็กพัฒนาตนจากการมีชีวิตที่มีคุณค่าแห่งคุณงามความดีบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรม ดำเนินชีวิตที่ดีนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติค่านิยมความเชื่อและพฤติกรรมที่ดีงามต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะแก่ผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ในเด็ก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กทั้งหมด

พัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ในเด็ก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กทั้งหมด

0.00
2 เพื่อส่งเสริมสุขภาพพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กโดยได้รับการเฝ้าระวังและส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ ร้อยละ 80 ขึ้นไป

พัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กโดยได้รับการเฝ้าระวังและส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ ร้อยละ 80 ขึ้นไป

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กให้กับผู้ปกครอง 0 39,400.00 39,400.00
รวม 0 39,400.00 1 39,400.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดความร่วมมือระหว่างครู/ผู้ปกครองเด็กในการมีส่วนร่วมในการดูแลเด็ก
  2. เด็กนักเรียนได้รับการเฝ้าระวังและส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์
  3. มีเครือข่ายผู้ปกครองในการดูแลเด็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2566 19:29 น.