กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมทันตสุขภาพง่ายๆด้วยสองมือ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง
วันที่อนุมัติ 18 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2566
งบประมาณ 31,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลรอมาน เลาะแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 170 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในนักเรียนประถมศึกษาเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆที่ตรวจพบในกลุ่มเดียวกันและปัญหาด้านทันตสุขภาพนั้น นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็ก นักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่ายนอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานของหวานตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่ายหากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอ โรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้และสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดีและการส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรค จะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้และด้วยความเจริญทางด้านเทคโนโลยีความทันสมัยทำให้เด็กในยุคนี้เป็นเด็กที่ติดกับการบริโภคนิยมทั้งทางด้านวัตถุ สิ่งของ อาหารเด็กส่วนมากมักบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์เช่นขนมขบเคี้ยว ทอฟฟี่ ช็อคโกแลต ขนมหวานต่างๆ การที่เด็กทานอาหารเหล่านี้เข้าไปจะทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องฟันผุ ซึ่งปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับเด็กช่วงวัยเรียนเป็นส่วนมาก การที่จะปลูกฝังให้เด็กรักการแปรงฟันนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น สิ่งที่จะช่วยให้ปัญหาฟันผุลดน้อยลง การที่เด็กจะปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอนั้นต้องมีแรงจูงใจหรือการกระทำร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งแรงจูงใจนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อม มาตรการของครูในโรงเรียนร่วมด้วย จากการสำรวจ สังเกต สอบถาม คุณครูและเด็กนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา พบว่า เด็กนักเรียนไม่มีกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียน บางโรงเรียนไม่มีสถานที่ที่ใช้ในการแปรงฟันของเด็กนักเรียน ตลอดจนไม่มีมาตรการในโรงเรียนเรื่องการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน และยังพบว่ามีการจำหน่ายไอศกรีม อาหาร ที่ส่งผลโรคฟันผุในโรงเรียน นอกจากนี้จากการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา ตั้งแต่ปี 2563 ถึง 2565 พบว่าเด็กอายุ 6-12 ปี จำนวนทั้งหมด 791 คนมีฟันแท้ผุเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 33.75 35.67 และ 52.23 ตามลำดับ งานทันตกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมังได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากง่ายๆ ด้วยสองมือ ปีงบประมาณ 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากของนักเรียนอย่างจริงจังตามบริบทและวิถีการดําเนินชีวิตในพื้นที่ และเพื่อให้เด็กมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กสามารถแปรงฟันอย่างถูกวิธี ตลอดจนปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในด้านสุขภาพช่องปาก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 กิจกรรมที่1. เพื่อให้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 มีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque index) ลดลงกิจกรรมที่2.เพื่อสร้างความตระหนักและเพิ่มศักยภาพให้แก่แกนนำนักเรียนทั้งด้านความรู้ทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนในโรงเรียนอย่างต่อเนื่องกิจกรรมที่3.เพื่อค้นหาหนูน้อยฟันสวย สุขภาพฟันดี สามารถเป็นต้นแบบในการดูแลสุขภาพช่องปาก ตามเกณฑ์ในระดับอำเภอ

กิจกรรมที่1.เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนบ้านเจาะบือแมมีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ (Plaque index) ลดลงร้อยละ 80 กิจกรรมที่2.แกนนำนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นต้นแบบเด็กสุขภาพฟันดีและมีทักษะในการแปรงฟันที่ถูกต้องร้อยละ 60 กิจกรรมที่3.ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 6 แต่ละที่เข้าร่วมการอบรมและประกวดหนูน้อยฟันสวย สุขภาพฟันดี ตามเกณฑ์ในระดับอำเภอ ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : กิจกรรมที่1. เพื่อให้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 มีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque index) ลดลงกิจกรรมที่2.เพื่อสร้างความตระหนักและเพิ่มศักยภาพให้แก่แกนนำนักเรียนทั้งด้านความรู้ทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนในโรงเรียนอย่างต่อเนื่องกิจกรรมที่3.เพื่อค้นหาหนูน้อยฟันสวย สุขภาพฟันดี สามารถเป็นต้นแบบในการดูแลสุขภาพช่องปาก ตามเกณฑ์ในระดับอำเภอ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนบ้านเจาะบือแมเพื่อให้มีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque index) ลดลง 10,800.00 -
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 3. อบรมเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในเขตตำบลบือมังและจัดประกวดหนูน้อยฟันสวย สุขภาพฟันดี 9,600.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 2. อบรมแกนนำนักเรียนในเด็กประถมศึกษาปีที่ 4 – 5โรงเรียนในเขตตำบลบือมัง 10,800.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อให้เด็กนักเรียนโรงเรียนในเขตตำบลบือมังมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น 2.เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถเป็นต้นแบบนักเรียนสุขภาพฟันดี แก่น้อง ๆ ในโรงเรียน 3.อัตราการเกิดฟันผุในฟันแท้ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2566 00:00 น.