กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมทันตสุขภาพง่ายๆด้วยสองมือ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

งานทันตกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง

นางสาวซูไรนีกาโน

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในนักเรียนประถมศึกษาเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆที่ตรวจพบในกลุ่มเดียวกันและปัญหาด้านทันตสุขภาพนั้น นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็ก นักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่ายนอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานของหวานตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่ายหากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอ
โรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้และสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดีและการส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรค จะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้และด้วยความเจริญทางด้านเทคโนโลยีความทันสมัยทำให้เด็กในยุคนี้เป็นเด็กที่ติดกับการบริโภคนิยมทั้งทางด้านวัตถุ สิ่งของ อาหารเด็กส่วนมากมักบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์เช่นขนมขบเคี้ยว ทอฟฟี่ ช็อคโกแลต ขนมหวานต่างๆ การที่เด็กทานอาหารเหล่านี้เข้าไปจะทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องฟันผุ ซึ่งปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับเด็กช่วงวัยเรียนเป็นส่วนมาก การที่จะปลูกฝังให้เด็กรักการแปรงฟันนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น สิ่งที่จะช่วยให้ปัญหาฟันผุลดน้อยลง การที่เด็กจะปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอนั้นต้องมีแรงจูงใจหรือการกระทำร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งแรงจูงใจนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อม มาตรการของครูในโรงเรียนร่วมด้วย
จากการสำรวจ สังเกต สอบถาม คุณครูและเด็กนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา พบว่า เด็กนักเรียนไม่มีกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียน บางโรงเรียนไม่มีสถานที่ที่ใช้ในการแปรงฟันของเด็กนักเรียน ตลอดจนไม่มีมาตรการในโรงเรียนเรื่องการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน และยังพบว่ามีการจำหน่ายไอศกรีม อาหาร ที่ส่งผลโรคฟันผุในโรงเรียน นอกจากนี้จากการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา ตั้งแต่ปี 2563 ถึง 2565 พบว่าเด็กอายุ 6-12 ปี จำนวนทั้งหมด 791 คนมีฟันแท้ผุเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 33.75 35.67 และ 52.23 ตามลำดับ
งานทันตกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมังได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากง่ายๆ ด้วยสองมือ ปีงบประมาณ 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากของนักเรียนอย่างจริงจังตามบริบทและวิถีการดําเนินชีวิตในพื้นที่ และเพื่อให้เด็กมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กสามารถแปรงฟันอย่างถูกวิธี ตลอดจนปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในด้านสุขภาพช่องปาก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 กิจกรรมที่1. เพื่อให้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 มีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque index) ลดลงกิจกรรมที่2.เพื่อสร้างความตระหนักและเพิ่มศักยภาพให้แก่แกนนำนักเรียนทั้งด้านความรู้ทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนในโรงเรียนอย่างต่อเนื่องกิจกรรมที่3.เพื่อค้นหาหนูน้อยฟันสวย สุขภาพฟันดี สามารถเป็นต้นแบบในการดูแลสุขภาพช่องปาก ตามเกณฑ์ในระดับอำเภอ

กิจกรรมที่1.เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนบ้านเจาะบือแมมีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ (Plaque index) ลดลงร้อยละ 80 กิจกรรมที่2.แกนนำนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นต้นแบบเด็กสุขภาพฟันดีและมีทักษะในการแปรงฟันที่ถูกต้องร้อยละ 60 กิจกรรมที่3.ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 6 แต่ละที่เข้าร่วมการอบรมและประกวดหนูน้อยฟันสวย สุขภาพฟันดี ตามเกณฑ์ในระดับอำเภอ ร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 170
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนบ้านเจาะบือแมเพื่อให้มีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque index) ลดลง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนบ้านเจาะบือแมเพื่อให้มีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque index) ลดลง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องและฝึกปฏิบัติทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธีพร้อมกับย้อมเม็ดสีเพื่อตรวจค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ก่อนและหลังการแปรงฟัน 1.1. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและวิทยากร
(จำนวน 60 คน x 60 บาท x 1 มื้อ) เป็นเงิน 3,600 บาท 1.2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและวิทยากร (จำนวน 60 คน x 30 บาท x 2 มื้อ)เป็นเงิน 3,600 บาท 1.3. ค่าวิทยากร
( จำนวน 6 ชม.X 600 บาท X 1 วัน ) เป็นเงิน 3,600 บาท รวมเป็นเงิน10 ,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประเมินจากร้อยละ 80 ของเด็กนักเรียนมีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ (Plaque index) ลดลง โดยประเมินจากก่อนแปรงฟันและหลังแปรงฟัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2. อบรมแกนนำนักเรียนในเด็กประถมศึกษาปีที่ 4 – 5โรงเรียนในเขตตำบลบือมัง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2. อบรมแกนนำนักเรียนในเด็กประถมศึกษาปีที่ 4 – 5โรงเรียนในเขตตำบลบือมัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม จัดอบรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากโดยคัดเลือกแกนนำนักเรียนในเด็กประถมศึกษาปีที่ 4 - 5 ห้องละ 7 คน โรงเรียนในเขตตำบลบือมัง
2.1. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและวิทยากร
(จำนวน 60 คน x 60 บาท x 1 มื้อ) เป็นเงิน 3,600 บาท 2.2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและวิทยากร (จำนวน 60 คน x 30 บาท x 2 มื้อ)เป็นเงิน 3,600 บาท 2.3. ค่าวิทยากร
(จำนวน 6 ชม.X 600 บาท X 1 วัน ) เป็นเงิน 3,600 บาท รวมเป็นเงิน 10,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประเมินร้อยละ 60 ของแกนนำนักเรียนมีความรู้และทักษะในการเสริมสร้างสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียนที่ถูกต้อง โดยประเมินจาก Pretest – post test
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3. อบรมเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในเขตตำบลบือมังและจัดประกวดหนูน้อยฟันสวย สุขภาพฟันดี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3. อบรมเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในเขตตำบลบือมังและจัดประกวดหนูน้อยฟันสวย สุขภาพฟันดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่3 จัดอบรมเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คัดเลือกห้องละ 12คน ต่อโรงเรียน และส่งตัวแทน โรงละ 2 คนเพื่อเข้าประกวดหนูน้อยฟันสวย 3.1. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและวิทยากร
(จำนวน 50 คน x 60 บาท x 1 มื้อ) เป็นเงิน 3,000 บาท 3.2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและวิทยากร (จำนวน 50 คน x 30 บาท x 2 มื้อ) เป็นเงิน 3,000 บาท 3.3. ค่าวิทยากร (จำนวน 6 ชม.X 600 บาท X 1 วัน )เป็นเงิน 3,600 บาท

รวมเป็นเงิน 9,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

3.ประเมินจากร้อยละ 80 ของตัวแทนนักเรียนชั้นปีที่ 6 แต่ละที่เข้าประกวดหนูน้อยฟันสวย สุขภาพฟันดี ตามเกณฑ์ในระดับอำเภอ โดยประเมินจาก ผู้ผ่านการคัดเลือก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เพื่อให้เด็กนักเรียนโรงเรียนในเขตตำบลบือมังมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น
2.เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถเป็นต้นแบบนักเรียนสุขภาพฟันดี แก่น้อง ๆ ในโรงเรียน
3.อัตราการเกิดฟันผุในฟันแท้ลดลง


>