กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดจุดเสี่ยง เฝ้าระวังเด็กจมน้ำ
รหัสโครงการ 66-L2487-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.ฟาตีนี พิริยศาสน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ 3 หมู่ 4 หมู่ 5 หมู่ 6 หมู่ 7 และหมู่ 8 ตำบลศาลาใหม่
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การจมน้ำเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตสูงเป็นอันดับหนึ่งของทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดเชื้อ จากข้อมูลในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา (ปี 2545-2554) พบว่ามีเด็กจมน้ำเสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง 1,352 คน/ปี หรือวันละเกือบ 4 คน ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม เป็นเดือนที่เด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุดเพราะตรงกับช่วงปิดภาคการศึกษาและช่วงฤดูร้อนพบว่าใน 3 เดือน มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตสูงถึง 464 คน กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้วันเสาร์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปีเป็นวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ โดยในปี 2556 กระทรวงสาธารณสุขมีวัตถุประสงค์และแนวคิดเพื่อสื่อสารให้ประชาชนทราบว่า ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังแม้เพียงเสี้ยววินาที และแหล่งน้ำที่มีน้ำเพียงเล็กน้อยก็สามารถจมน้ำเสียชีวิตได้ซึ่งในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เด็กต้องอยู่ในระยะที่มองเห็น เข้าถึง และคว้าถึง รวมทั้งการใส่เสื้อชูชีพขณะที่เดินทางทางน้ำหรือทำกิจกรรมทางน้ำเป็นสิ่งที่จำเป็น นั้น จากรายงานเด็กจมน้ำในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ ปี 2561-2565 พบเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ จำนวน 3 ราย 3 จุดเกิดเหตุ โดยจุดที่ 1 เป็นคลองแหล่งน้ำธรรมชาติในชุมชน (ซูงัยบลาวัน) ซึ่งอยู่บริเวณใกล้กับที่พักอาศัยอยู่ในแหล่งชุมชน ในพื้นที่หมู่ 6 บ้านศาลาเชือก ตำบลศาลาใหม่ พบผู้เสียชีวิตรายที่ 1 เป็นเด็กเพศชายอายุ 1 ปี 11 เดือน โดยได้จมน้ำและหมดสติที่เกิดเหตุการเกิดเหตุที่ที่จุดที่ 1 ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เคยมีเหตุการณ์เด็กเล็กเล่นน้ำจมน้ำเสียชีวิตมาแล้ว 3 ราย และมีเหตุการณ์ที่เด็กเล็กจมน้ำแต่ไม่เสียชีวิตจำนวน ประมาณ 7-8 ราย จุดที่ 2 เป็นจุดที่เป็นคลองขุดไม่ใช่แหล่งน้ำธรรมชาติ ห่างจากจุดที่ 1 ประมาณ 500 เมตร และอยู่ห่างจากชุมชนเป็นจุดที่พบผู้เสียชีวิตเคสที่ 2 เป็นเด็กชายอายุ 5 ปี เป็นคนพื้นที่ตำบลไพรวัน มาที่จุดเกิดเหตุจุดที่ 2 นี้ ด้วยเหตุผลตามพ่อแม่เพื่อมาเก็บหอย โดยตอนหายไปจมน้ำพ่อแม่ไม่ทราบ จนร่างลอยขึ้นมา แจ้งทีมกู้ภัย อบต ศาลาใหม่ๆ ได้ CPR ขณะนำส่งรพ.ตากใบ จุดที่ 3 เป็นจุดที่เป็นคลองขุดไม่ใช่แหล่งน้ำธรรมชาติ ห่างจากจุดที่ 1 ประมาณ 1.2 กิโลเมตร จุดเกิดเหตุอยู่หลังบ้าน ที่เคสที่ 3 อยู่เล่นก่อนจมน้ำเสียชีวิต ไม่มีที่กั้นระหว่างพื้นดินกับน้ำ เป็นบ้านที่อยู่เป็นกระจุกเครือญาติ มีอยู่ 7 หลัง ในวันเกิด จมน้ำ 2 คน แต่เสียชีวิต 1 คน โดยเด็กทั้งสองคนอยู่บ้านพี่เลี้ยง และมีแม่อยู่ด้วยในเหตุการณ์ โดยพี่เลี้ยงและมีแม่กำลังวุ่นอยู่กับการเตรียมงานเพื่อแห่ขันหมากงานแต่งงาน และจากการสอบสวนการจมน้ำ ปัจจัยที่ส่งผลต่อเหตุการณ์เสียชีวิตจากจมน้ำครั้งนี้มีหลายปัจจัย คือ ผู้เสียชีวิตยังเป็นเด็กเล็ก ผู้เสียชีวิตว่ายน้ำไม่เป็น ผู้เสียชีวิตไม่เคยออกมาเล่นใกล้แม่น้ำมาก่อน สาเหตุจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางสังคม คือ คนดูแลหลัก ไม่ได้ดูแลเป็นหลักในช่วงก่อนเกิดเหตุ แต่มีญาติๆหลายคนช่วยนั่งดู ทำให้ต่างคนต่างเกิดความวางใจเชื่อใจกัน คิดว่าคนนั้นคนนี้ดูแลอยู่ จึงเกิดความประมาทขึ้น สาเหตุจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ คือ “จุดเกิดเหตุ” ไม่มีที่กั้นป้องกันเด็กตกหล่น ไม่มีป้ายสัญลักษณ์เตือน จุดที่ 1 ลักษณะเป็นหาดที่เป็นที่เป็นที่จอดเทียบเรือประมงพื้นบ้านขนาดเล็ก (เรือกอและ) ทำให้มองไม่ชัดมีเรือบดบัง มีความลึกประมาณ 3-6 เมตร จุดที่ 2 กับจุดที่ 3 เป็นพื้นที่ของบุคคลส่วนตัวที่มีการขุดลอกทรายทำให้เกิดเป็นคลองขนาดใหญ่ไม่มีคนพลุกพล่าน มีความลึกประมาณ 4-7 เมตร เป็นตลิ่งไม่สูงชัน เด็กเล็กๆ ถึงเข้าถึงง่าย เดินไปถึงริมแม่น้ำอย่างสะดวกง่ายดายไม่มีสิ่งกีดขวาง และสาเหตุปัจจัยความช่วยเหลือ คือผู้เสียชีวิตได้รับการปฐมพยาบาลแล้วโดยการอุ้มพาดบ่า ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด เพราะการจับอุ้มพาดบ่าและกระทุ้งท้องเพื่อเอาน้ำออกจากปอดนั้น เป็นวิธีการต้องห้าม และเป็นอันตรายกับผู้ที่จมน้ำ เพราะน้ำที่ออกมาเป็นน้ำจากกระเพาะอาหารไม่ใช่ออกมาจากปอดผลที่ตามมาจะทำให้คนจมน้ำขาดอากาศหายใจนานยิ่งขึ้นสมองขาดออกซิเจน และมีโอกาสเสียชีวิตสูง และจะเห็นได้ว่าจุดเสี่ยงในตำบลศาลาใหม่มีจำนวนมากกว่า 10 จุด เพราะมีทั้งหาดทะเล และเอกชนที่ขุดทรายคลองเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างชุมชน โรงเรียน ผู้ปกครอง เด็กในชุมชนและเครือข่ายอื่นๆ ในการป้องกันการจมน้ำ และให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นที่ถูกต้อง ส่งผลให้อัตราการจมน้ำและเสียชีวิตจากจมน้ำลดลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อรณรงค์ป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
  1. ไม่พบอัตราการเสียชีวิตการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
0.00
2 2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจและความตระหนักในการร่วมป้องกันการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ของเครือข่ายต่างๆในชุมชน
  1. อัตราการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ลดลงจากปี 2565 ลดลง ร้อยละ 50
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,750.00 2 29,750.00
1 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 1. กิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องการป้องกันเด็กจมน้ำ การช่วยเหลือ และการปฐมพยาบาล และกิจกรรมถอดบทเรียน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนที่มีความเสี่ยง 0 4,750.00 4,750.00
1 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 1. กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และการติดป้ายประชาสัมพันธ์ในชุมชน โดยประชาชนในชุมชน/แหล่งน้ำ 0 25,000.00 25,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ไม่พบเด็กในพื้นที่ตำบลศาลาใหม่เสียชีวิตจาการจมน้ำ
  2. อัตราเด็กจมน้ำจุดพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ตำบลศาลาใหม่ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2566 15:20 น.