กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและคัดกรองโรคเสี่ยงในผู้สูงอายุ ตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
รหัสโครงการ 66-L2476-01-024
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 72,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซูลีนา อายุป
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าในปี ๒๕๖5 จะมีประชากรที่มี อายุตั้งแต่ ๖๐ ปีอยู่ราว ๑ ใน ๖ ของประชากรทั้งหมด กล่าวตามนิยามของสหประชาชาติ คือเมื่อประเทศใดมี ประชากร อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป เกินร้อยละ ๑๐ หรือ ประชากรอายุ ๖๕ ขึ้นไป เกินร้อยละ ๗ ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว ทำให้อัตราส่วนภาระพึ่งพิง หรือภาระโดยรวมที่ ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยเด็กและวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยที่ยังมิได้คำนึงถึงเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูซึ่งสูงขึ้นตามอายุ ซึ่งขณะที่อัตราส่วนภาระพึ่งพิงของประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น อาจจะ นำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยบั้น ปลายของชีวิต เป็นวัยที่ต้องพึ่งพาบุตรหลาน เพราะมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่างๆทั่วไปเริ่มอ่อนแอและเกิดโรคง่าย ปัญหาด้านสุขภาพที่พบได้บ่อยๆในผู้สูงอายุได้แก่ เกิดภาวะ กระดูกหักง่าย สายตาไม่ดี หูตึง ฟันไม่ดี เป็นลมบ่อย เรอบ่อย ท้องผูก เบาหวาน หลงลืมบ่อย หัวใจและหลอด เลือด และปัญหาทางอารมณ์ ผู้สูงอายุเป็นวัยที่พึ่งพาตนเองได้น้อยลง มีภาวะร่างกายที่เสื่อมถอยลง มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการ เปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม สาเหตุเนื่องจากผู้สูงอายุและครอบครัวให้ความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพน้อยลง เช่น เรื่องการบริโภคอาหาร การขาดการออกกำลังกาย การไม่ได้อยู่ร่วมกันในครอบครัว ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆขึ้นได้ องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอน มีจำนวนผู้สูงอายุ๓ปีย้อนหลัง ปีงบประมาณ ๒๕61 จำนวน 764 คน ปีงบประมาณ ๒๕62 จำนวน 792 คน และปีงบประมาณ ๒๕๖3จำนวน 859 คน ซึ่งจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นทุกปี และผู้สูงอายุแต่ละคนก็จะมีปัญหาสุขภาพในด้านต่างๆ ทั้งปวดเข่า สมองเสื่อม มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุบางรายติดเตียง เป็นต้น ทางองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ ได้ตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ จึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ไม่เป็นภาระต่อครอบครัวและสังคมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองโรคเสี่ยง เรื้อรังในผู้สูงอายุ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ต้อกระจก และภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุที่ภาวะเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และวิธีการรักษาเบื้องต้น

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องรักษา ได้รับการส่งต่อไปรักษาต่อเนื่อง

 

0.00
4 เพื่อให้ความรู้ทางด้านสุขภาพอนามัยแก่ผู้สูงอายุและครอบครัว

 

0.00
5 เพื่อให้ผู้สูงอายุปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเกี่ยวกับการแดูแลตนเอง และเพื่อคนในครอบครัวเข้าใจและปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 72,300.00 1 72,300.00
1 ก.พ. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคเสี่ยง 0 72,300.00 72,300.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุที่มีผลคัดกรองผิดปกติได้รับการตรวจวินิจฉัยและดูแลต่อเนื่อง
  2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้นและสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข
  3. ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาสุขภาพได้ด้วยตนเอง
  4. คนในชุมชนเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ
  5. ผู้สูงอายุได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุมากขึ้น
  6. สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2566 00:00 น.